JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku <p>Journal of Philosophy and Religion Khon Kaen University is the academic journal in the field of philosophy and religion. Its aims to promote and publicize research in the field of philosophy and religion, and to be the stage of exchanging knowledge and academicians and lectures in Thailand and overseas. This journal is published biannually in hard copies. All the articles published are peer-reviewed by at least two experts. The contents of the article should be related to the field of philosophy and religion.&nbsp;The article submitted to Journal of Philosophy and Religion Khon Kaen University should not have been previously published or should not be in consideration of other journals for publication, The authors should strictly follow the guidelines (including the referencing format) for the publication of scholarly articles or research articles for publication in Journal of Philosophy and Religion. Views and opinions expressed in the articles published in Journal of Philosophy and Religion Khon Kaen University are the responsibility of the authors, are not under responsibility of the editors and do not necessarily reflect those of the editorial board.</p> ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น en-US JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY 2465-5155 ตรรกะแห่งจินตนาการของมิกิ คิโยะชิ: การแปลและการสืบสอบพัฒนาการของปรัชญาสำนักเกียวโตรุ่นที่สอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/view/261913 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้นำเสนอภูมิหลังโครงการทางปรัชญาของมิกิ คิโยะชิ ผ่านการแปลบทเกริ่นนำของตรรกะแห่งจินตนาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสอบถึงพัฒนาการของปรัชญาสำนักเกียวโตในรุ่นที่สอง ซึ่งทำให้พบว่า มิกิ คิโยะชิ พัฒนาแนวคิดทางปรัชญาจากรากฐานของนิชิดะ คิตะโรบนจุดยืนเดียวกัน คือ ต้องการสร้างระบบความคิดในทางปรัชญาเพื่อแสดงถึงเอกภาพของอัตวิสัยและภววิสัย แต่ตรรกะแห่งจินตนาการของมิกินั้นนำเสนอในแนวทางที่แตกต่างจากนิชิดะ คิตะโร ด้วยพยายามก้าวข้ามกรอบความเป็นนามธรรมมาสู่วิธีการที่เป็นรูปธรรมผ่านมโนทัศน์ที่สำคัญ ได้แก่ มายาคติ ระบบ เทคโนโลยี และประสบการณ์ ทั้งนี้ส่งผลให้ปรัชญาสำนักเกียวโตในรุ่นที่สองได้พัฒนารากฐานไปเชื่อมโยงกับกระบวนทัศน์ของสังคมศาสตร์บนพื้นฐานของปรัชญาญี่ปุ่นสมัยใหม่</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ตรรกะแห่งจินตนาการ, ปรัชญาสำนักเกียวโต, พัฒนาการปรัชญาญี่ปุ่น</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This article presents the background of Miki Kiyoshi's Philosophical project by translating the introduction of "logic of imagination", with the aim of investigating the development of the second generation of the philosophy of the Kyoto School. It is noted that Miki Kiyoshi developed a philosophical concept, similar to Nishida Kitaro, based on the creation of a philosophical thinking system to show the unity of the subjective and objective. However, Miki's approach to the logic of imagination is presented differently from Nishida, attempting to transcend the abstract to a more concrete approach through key concepts such as 1) Myth, 2) Systems, 3) Technology, and 4) Experience. As a result, the second generation of the philosophy of the Kyoto School developed its foundation to link with the social science paradigm based on modern Japanese philosophy.</p> <p> </p> <p><strong>Keywords:</strong> Logic of Imagination, Philosophy of the Kyoto School, Development of Japanese Philosophy</p> สรายุทธ เลิศปัจฉิมนันท์ รัตน์จิต ทองเปรม ปาจรีย์ หวังรุ่งกิจ Copyright (c) 2023 JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY 2023-07-01 2023-07-01 7 2 1 30 ความตายในนวนิยายด้วยรัก ความตาย และใจสลาย ของฮารูกิ มูราคามิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/view/262405 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาความตายในงานเขียน ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ของ ฮารุกิ <br />มูราคามิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดเรื่องความตายในนวนิยาย ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย และเปรียบเทียบแนวความคิดของตัวละครหลัก แม้ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มร่ำรวยแต่กลับมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงคิดโดยเฉลี่ยมีการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 70 คนต่อวัน อะไรคือปัจจัยอันมีผลเป็นสิ่งเร้าในปรากฏการณ์เช่นนี้ ซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ว่าปัจจัยภายในอันเป็นโลกทัศน์นั้นมีผลต่อการตัดสินใจโดยตรง เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยการศึกษาครั้งนี้จึงเลือกศึกษาปรากฏการณ์ที่นำเสนอในงานเขียน ใช้วิธีการศึกษาวรรณกรรมในแนวดิ่ง (close reading) เพื่อค้นหาแนวคิดเรื่องความตายในนวนิยาย ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ของฮารูกิ มูราคามิ ศึกษาโดยการมองรายละเอียดการนำเสนอแนวคิด อารมณ์ และตัวละครหลักในเรื่องที่มีประสบการณ์ทางอ้อมกับความตาย เช่น วาตานาเบะ, นาโอโกะ, มิโดริ และเรโกะ</p> <p> การศึกษาพบว่า ตั้งแต่ช่วงยุคเมจิเป็นต้นมา โลกทัศน์ของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะของการกระทบกันทางด้านความคิดอยู่เสมอ ๆ และเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพื้นเมือง ศาสนาชินโต ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื่อ รวมกระทั่งถึงปรัชญาแบบตะวันตก และปรัชญาขงจื่อใหม่ ที่รวมเอาแนวคิดแบบตะวันตกและตะวันออกเข้ามาอธิบายแนวคิดทางปรัชญา จากความไหลเข้าทางความคิดนี้ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่น ต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มแนวคิดที่หลากหลาย จนเกิดภาวะกระอักกระอ่วนใจ และพยายามถ่ายทอดความรู้สึกนั้นผ่านงานเขียน และในงานเขียนชิ้นนี้ได้นำเสนอโลกทัศน์ของความตายที่ส่งผ่านออกมาอย่างแตกต่างกันของตัวละครทั้ง 3 คน ได้แก่ นาโอโกะ เป็นภาพของคนที่ไม่อาจก้าวข้ามความทุกข์จากการมีประสบการณ์ของความสูญเสีย ส่วนมิโดริ เป็นภาพของคนที่มองว่าความตายไม่ได้ต่างจากการเดินทาง ส่วน<br />วาตานาเบะ เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ที่อยู่ตรงกลางแนวคิดมองความตายเป็นทั้งความกลมกลืนของชีวิต</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ </strong>: ความตาย, วรรณกรรม, สังคมญี่ปุ่น</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>In this article, researchers studied death in Haruki Murakami's writing about love, death, and heartbreak. The purpose of this article is to study the notions of death and compare them with the concepts of the main characters. Even though the country is rich, the average suicide rate is 70 people per day. Although external factors are triggered by a variety of pressures, it cannot be denied that internal factors have a direct influence on decision-making. This study used the approach of closed reading to find the idea of death in the novel by studying the presentations of ideas and emotions and the main characters in the story who have indirect experiences with death, such as Watanabe, Naoko, Midori, and Reiko.</p> <p>Studies have found that since the Magic period, Japanese concepts have always been characterized by conflicting ideas and originated from a wide range of aspects, including native religions, Shinto, Buddhism, Taoism, Western philosophy, and new philosophies that incorporate Western and Eastern concepts to describe philosophical concepts. From this influx of ideas, the Japanese people have adapted to a wide variety of concepts until excitement arises and have tried to convey those feelings through writing. And in this work they have presented a worldview of the different passages of the three characters, This influx of ideas resulted in the Japanese having to adapt to a diverse set of concepts. Until the state of embarrassment and try to convey that feeling through writing. And in this writing, the perspective of death is presented differently for the three characters, including Naoko, as a picture of someone who cannot overcome the suffering of having the experience of suffering. loss, and Midori is an image of someone who sees death as no different from a journey. Watanabe represents the person who is at the center of the concept of death as the harmony of life.</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Keyword :</strong> Death, Literature, Japanese Society</p> สิรินันทา ทับอาษา Copyright (c) 2023 JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY 2023-07-01 2023-07-01 7 2 55 79 พญานาค: ความเชื่อสู่การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอีสาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/view/264064 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>พญานาคเป็นความเชื่อของคนอีสานถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสพญานาคนิยม หรือนาคคติ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างทางความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่นำไปสู่การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร พบว่า พญานาคในวัฒนธรรมอีสานเป็นความเชื่อผสมระหว่างศาสนาพื้นเมือง ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ถูกนำมาสร้างความหมายใหม่ เพื่อเปลี่ยนความเชื่อเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม โดยใช้ความโหยหาอดีตเป็นสำนึกที่มีร่วมกันมาผลิตซ้ำ และพัฒนาสัญญะรูปพญานาคให้เป็นแบรนด์ของสินค้า เพื่อเป็นจุดขาย และการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน และกระจายไปสู่พื้นที่ภายนอก</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>พญานาค, การกลายเป็นสินค้า, สินค้าวัฒนธรรม</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Naga is the belief of Isan people that was developed a cultural product causes the phenomenon popular Naga or ideal Naga. This article aims to study the construction of beliefs about the Naga towards the becoming cultural products of Isan by the documentary research method. It was found that Naga in Isan culture is a mixed belief between native religions, Brahmanism and Buddhism. It was to create a new meaning for change beliefs into the cost of producing cultural products. Using the nostalgia of the past as a common sense to reproduce and develop the Naga symbol to be a brand of the product to be a selling point and economic exchange that resulting in income generation for the community and spread to outside areas. </p> <p><strong>Keywords: </strong>Naga, Commoditization, Cultural product</p> วุฒิชัย สว่างแสง Copyright (c) 2023 JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY 2023-07-01 2023-07-01 7 2 80 98 คำบอกเล่าของประจักษ์พยานในฐานะองค์ประกอบในอุดมคติที่แท้จริงของปรัชญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/view/259804 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้พิจารณาตรวจสอบแหล่งความรู้ที่แตกต่างกัน<em>สอง</em>แหล่ง กล่าวคือ ความรู้ที่ได้มาผ่านกระบวนการทางตรรกะและเหตุผล (Rationalism) และความรู้ที่ได้มาผ่านคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน (Testimony) ผลจากการพิจารณาพบว่า องค์ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการการให้เหตุผลไม่ได้มีความน่าเชื่อถือในระดับที่มากกว่าองค์ความรู้ที่ได้มาผ่านคำบอกเล่าของประจักษ์พยานเสมอไป ในขณะที่ องค์ความรู้ที่มาจากคำบอกเล่าของประจักษ์พยานสามารถบรรลุความน่าเชื่อถือในระดับที่เทียบเท่า (หรือมากกว่า) องค์ความรู้ประเภทเหตุผลนิยมได้ หากผู้ส่งผ่านองค์ความรู้ประเภทนี้มีคุณสมบัติแห่งความน่าเชื่อถือ และดังนั้น นอกจากศาสตร์แห่งสาขาวิชาปรัชญาต้องไม่ละเลยองค์ความรู้ประเภทนี้แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาอัตชีวประวัติของผู้ส่งสาส์นด้วย บทความนี้เสนอว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสตร์แห่งวิชาปรัชญาจะไม่ตกอยู่ในสภาพที่เป็นนามธรรม แต่จะมีลักษณะนำมาใช้งานจริงได้ ส่งผลให้จุดประสงค์ของวิชาปรัชญามีลักษณะไม่ผิดแผกไปจากความตั้งใจเดิม</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ปรัชญา, การได้มาซึ่งความรู้, ความรู้ที่มาจากการบอกเล่าของประจักษ์พยาน</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This article examines two different sources of knowledge acquisition namely rational knowledge and testimonial knowledge. It reveals that rational knowledge does not always have more credibility than testimonial knowledge. Meanwhile, testimonial knowledge may be as reliable as (or greater than) rationalist knowledge if the messenger is qualified with trustworthiness. In addition to cherishing this type of knowledge, philosophy should also place emphasis on the study of autobiography. The article claims that, if this conditioned is met, philosophical epistemology will not fall into being abstract. Rather, it shall be implemented practically in everyday life, making its key objective completely homologous with its intended origin.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Philosophy, knowledge acquisition, testimonial knowledge</p> ฮากิม สุดินปรีดา ฐิติพงศ์ เกตุอมร เกริก กี่สวัสดิ์คอน Copyright (c) 2023 JOURNAL OF PHILOSOPHY AND RELIGION, KHON KAEN UNIVERSITY 2023-07-01 2023-07-01 7 2 31 54 Journal of Philosophy and Religion, Khon Kaen University Vol.7 No.2 (Full Issue) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/view/265992 - Copyright (c) 2023 2023-07-01 2023-07-01 7 2