@article{ภาจิตรภิรมย์_จิวจินดา_2022, place={Nakhon Sawan, Thailand}, title={วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่): คติชน การพัฒนาและการประกอบสร้างในฐานะ “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” }, volume={5}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/255026}, DOI={10.14456/jra.2022.112}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คติชนเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอ้ไข่ และ 2) วิเคราะห์การพัฒนาและการประกอบสร้างในฐานะ “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย กลุ่มพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่วัดเจดีย์ไอ้ไข่ กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มนักท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ที่เข้ามาขอพรบนบานและแก้บนภายในวัดเจดีย์ไอ้ไข่ ทำการกำหนดข้อความสั้น ๆ เพื่อใช้เป็นมโนทัศน์หรือหัวข้อสรุปแนวคิดที่สะท้อนความหมายสำคัญ ทั้งที่ปรากฏชัดแจ้งและแฝงอยู่ในข้อมูลส่วนย่อยนั้น แล้วจึงนำหัวข้อสรุปแนวคิดที่มีความหมายคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน มาจัดเป็นกลุ่มหัวข้อสรุปแนวคิดต่าง ๆ กลายเป็นหน่วยความหมายของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และมีระดับความเป็นธรรมมากขึ้น เป็นการนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) ทางคติชนวิทยา พบว่า ผู้คนได้ให้ความหมายวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เป็นตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการปฏิบัติธรรม การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การทำบุญให้ทาน และขอพรบนบานศาลกล่าวของหายอยากได้คืน จะเห็นได้จากตำนานของไอ้ไข่ และผ่านบทเพลง และ 2) ด้านการพัฒนาและการประกอบสร้างวัดเจดีย์ไอ้ไข่ให้กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยการผลิตซ้ำตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ พิธีกรรม รูปเคารพบูชา และการสร้างภาพแทนรูปเคารพของคนที่แสวงหาที่พึ่งทางใจเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายและเป็นการสื่อสาร ระหว่างคนกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ การประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ และการผลิตซ้ำ วัดเจดีย์ไอ้ไข่ได้ถูกพัฒนาขึ้นกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และศรัทธาของผู้คนในพื้นที่และต่างพื้นที่ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน</p>}, number={5}, journal={วารสารวิจยวิชาการ}, author={ภาจิตรภิรมย์ ธวเดช and จิวจินดา ชาญชัย}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={93–108} }