TY - JOUR AU - พระครูพิพิธจารุธรรม, AU - พระปลัดดำรงค์ ภทฺทมุนี, AU - มณีจักร์, เจริญ PY - 2021/09/07 Y2 - 2024/03/29 TI - พุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระในสังคมไทย JF - วารสารวิจยวิชาการ JA - JRA VL - 5 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/jra.2022.5 UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/246867 SP - 55-66 AB - <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนทัศน์ของพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของพุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระในสังคมไทยและ 3) วิเคราะห์พุทธกระบวนทัศน์กับการสร้างอัตลักษณ์และวิถีปฏิบัติแห่งพระสงฆ์ไทย เป็นเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์และวิถีปฏิบัติ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนทัศน์ของพระพุทธศาสนา เน้นหลักไตรสิกขาที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนาน เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ พระพุทธศาสนา จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะสามารถนำหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแบบองค์รวม 2) ความสัมพันธ์ของพุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระนั้น พบว่าสิกขา 3 คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน อันเป็นข้อวัตรปฏิบัติของพระมหาเถระ ที่เป็นพระสุปฏิปันฺโนมีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส นำมาซึ่งความศรัทธาทั้งในสังคมไทยและในต่างประเทศและ 3) พุทธกระบวนทัศน์กับการสร้างอัตลักษณ์และวิถีปฏิบัติแห่งพระสงฆ์ไทย พบว่าในสังคมไทยนั้นองค์กรแห่งสงฆ์ต้องมีการ นำหลักไตรสิกขาในระดับ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา โดยมีหลักโยนิโสมนสิการวิทยา คือ 3.1) การคิดถูกวิธี ถูกต้องตามหลักการ ประกอบด้วยเหตุผล 3.2) การคิดอย่างเป็นระเบียบ อย่างเป็นขึ้นตอน 3.3) การคิดอย่างมีเหตุผล ให้มีความเชื่อมโยงอย่างถูกต้อง และ 3.4) การคิดแบบเร้าต่อกุศล สร้างสรรค์สิ่งที่ดี กระบวนทัศน์เหล่านี้จะนำไปสู่การคิดและเป็นแนววิถีปฏิบัติให้กับพระสงฆ์ไทยอย่างยั่งยืน</p> ER -