https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/issue/feed วารสารวิจยวิชาการ 2024-11-01T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครเดช พรหมกัลป์ journal.jra@gmail.com Open Journal Systems <p><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/jra/White_Minimalist_Elegant_Handwritten_LinkedIn_Banner_(1).png" width="648" height="162" /> </p> <p> </p> <p><strong> วารสารวิจยวิชากา</strong>ร มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและบทวิจารณ์หนังสือที่เป็นภาษาไทยและมีข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงความคิดริเริ่มที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติในวงกว้าง อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการศึกษา การสอน โดยเน้นสาขาวิชาพระพุทธศาสนา การบริหารการศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ วารสารวิจยวิชาการได้เริ่มจัดทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 จะมีการเผยแพร่ระบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว โดยมีหมายเลข ISSN 2985-0053 (Online) </p> <p> </p> <p> </p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272538 การสำรวจองค์ประกอบของการรับรู้ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของพนักงาน : การศึกษาเชิงประจักษ์ในภาคการผลิต 2024-04-08T12:16:02+07:00 ขวัญหทัย วิรติกุล kwanhathai.v@ku.th จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์ jutamard.t@ku.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการรับรู้ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของพนักงาน โดยศึกษาจากพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวนพนักงานทั้งหมด 3,314 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้วัดในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 19 ข้อ ข้อคำถามสามารถวัดถึงการรับรู้ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของพนักงานได้จริงและเชื่อถือได้ โดยพิจารณาจากค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 และ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.943 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์กันสามารถนำมารวมกลุ่มกันเป็นองค์ประกอบหรือสามารถทำการสกัดเป็นองค์ประกอบได้ โดยพิจารณาจากค่า KMO = 0.965, Bartlett's Test of Sphericity มี Chi-Square = 4,059.082, df = 171, p &lt; 0.001 และค่าการร่วมระหว่าง 0.662 ถึง 0.769 ผลการสกัดองค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ สกัดได้เป็น 3 องค์ประกอบ โดยมีค่าไอแกนเท่ากับ 11.121, 1.314 และ 1.07 ตามลำดับ อธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 58.534, 6.916 และ 5.634 ตามลำดับ ค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 71.084 ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การยอมรับความแตกต่างและเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.577 ถึง 0.817 องค์ประกอบที่ 2 ความผูกพันในการทำงานร่วมกันในกลุ่มงาน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.729 ถึง 0.811 และองค์ประกอบที่ 3 ความสามารถในการเข้าถึงการสื่อสารและทรัพยากร ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.638 ถึง 0.76</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272343 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2024-04-09T10:50:39+07:00 สิรินุช สายคูณ 64052503004@student.sru.ac.th จิรศักดิ์ แซ่โค้ว jirasak@sru.ac.th นันทพงศ์ หมิแหละหมัน nantapong@sru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 313 คน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข โดยการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการเป็นองค์กรแห่งความสุข แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และเงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272298 การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ตามหลักอิทธิบาท 4 2024-03-31T11:57:28+07:00 จิรพันธ์ วิไลพันธุ์ jirapant@gmail.com ทนง ทศไกร eakkawitfirst@gmail.com พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ eakkawitfirst@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี 2) พัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) ประเมินการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้แหล่งข้อมูลบุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนกลุ่มละ 50 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยข้อมูลประกอบด้วย 2.1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2) ใช้ข้อมูลจากการเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง โดยการจัดสนทนากลุ่ม และ 3) ประเมินการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการประกันคุณภาพภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการประเมินผล ด้านการพัฒนาสู่เป้าหมาย และด้านการมีส่วนร่วม 2) การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์การวางแผน (2) กลยุทธ์การดำเนินการ (3) กลยุทธ์การประเมินผล (4) กลยุทธ์การพัฒนาสู่เป้าหมาย และ (5) กลยุทธ์การมีส่วนร่วม และ 3) ผลการประเมินการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ตามหลักอิทธิบาท 4 ภาพรวมทั้ง 5 กลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคือ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272058 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2024-03-28T18:59:51+07:00 วลิดา อุ่นเรือน js.walida2@gmail.com เอมอร วันเอก aimon.wan@uru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการสร้างรูปแบบมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้อาจารย์ผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างองค์ความรู้ใหม่และให้เกิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล กิจกรรมการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง 2) ขั้นเรียนรู้เพื่อการตั้งกรอบโจทย์ 3) ขั้นการสร้างความคิด 4) ขั้นนำความรู้สู่การสร้างต้นแบบ 5) ขั้นวัดผลและประเมินผลเพื่อการทดสอบ ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.71, S.D.=0.52) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 84.91/84.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3.1) ผลการประเมินทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของอาจารย์ผู้สอนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90.91 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) อาจารย์ผู้สอนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม ใช้เทคนิคการจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ มีการปฏิสัมพันธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการคิดเชิงออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/271778 การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางไซ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2024-04-08T10:11:42+07:00 วราภรณ์ ทิมประทุม waraporn.w2536@gmail.com พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข Pitsamai.Poolsuk@gmail.com ทนง ทศไกร thanong488@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางไซ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 88.63/85.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.56, σ = 1.67)</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272070 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 2024-03-28T19:00:49+07:00 มนัส จันทร์พวง kookmanus@phrcc.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทฤษฎี เอกสารงานวิจัย หนังสือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน การประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด โดยเรียนรู้จากประสบการณ์จริงร่วมกับชุมชน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้จากการทำโครงงาน การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับอัตลักษณ์นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 (HEART Model) มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (4) การวัดและประเมินผล และ 3) ประเมินรูปแบบ ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/271535 การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน 2024-03-28T19:01:18+07:00 ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ pravit@rmutt.ac.th มาโนช บุญทองเล็ก manodch556@gmail.com อาทิตยา เงินแดง artit.fah@gmail.com นงนภัส สุขสบาย nongnaphats14@gmail.com ภัณฑิลา ทองประดับ phanthilatongpradab@gmail.com วิลาสินี ม่วงเจริญ Nine9.wrsn@gmail.com สันติสุข พลศรี bigzanalux3844@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน 2) ทดลองและหาประสิทธิภาพสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการประยุกต์ใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 24 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งลักษณะภายในกลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา รูปแบบการแสดง เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เนื้อร้อง และท่ารำจากการพิจารณาค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าความสอดคล้องกัน โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 86.90/90.85 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.58 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.98 การทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.17 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.41 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/271283 การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 2024-03-04T14:34:16+07:00 คธาเพชร สุทธิ kataphets62@nu.ac.th ภาสกร เรืองรอง ccpasskn@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนและบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เปรียบเทียบจากตาราง Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% จำนวน 222 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มโดยบังเอิญ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 2) หน้าเพจเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 1.1) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.77, S.D.=0.29) และ 1.2) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.75, S.D.=0.43) และ 2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.52, S.D.=0.61)</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270051 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2024-01-18T11:59:42+07:00 นัดตยา บุญเที่ยง S6153410001@sau.ac.th ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร Rachenn@sau.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติ ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =3.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =3.29) รองลงมาคือ ด้านวิเคราะห์ศักยภาพและสภาพปัญหา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =3.22) ด้านกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =3.20) และด้านกำหนดโครงการ/กิจกรรม (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =3.22) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบ ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/271062 ผลของการใช้รูปแบบการสอนเขียน GENIE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2024-03-01T15:21:52+07:00 วรินทร เส็งสุวรรณ paintywarin@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 33 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาภาษาอังกฤษ 5 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเขียน GENIE Model แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model ระยะเวลาในการทดลองใช้รูปแบบการสอนเขียนรวม 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกและชั่วโมงสุดท้ายเป็นการทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 14.58, S.D. = 1.75) สูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 11.13, S.D. = 1.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.43, S.D. = 0.94)</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/271064 การส่งเสริมและพัฒนาสถานที่พักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-14T14:50:03+07:00 นัฏฐา มณฑล nutta.m@nrru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) ส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสถานที่พักปลอดภัยและสถานประกอบการใส่ใจสุขภาพ และ 3) พัฒนาสถานที่พัก ปลอดภัย สถานประกอบการ ใส่ใจสุขภาพ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน จากสูตรของยามาเน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสนทนากลุ่ม อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยสำคัญที่สุดที่นักท่องเที่ยวใช้ในการตัดสินใจเลือกที่พักคือตัวโรงแรม ห้องพัก สถานที่ร้อยละ 39.75 ข่าวหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับที่พักในการท่องเที่ยว คือ Website ของโรงแรม ร้อยละ 45.25 กิจกรรมนันทนาการ ร้อยละ 33.40 ราคาห้องพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน ร้อยละ 45.00 มาตรฐานการจัดบริการที่พักหรือสถานประกอบการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.73, S.D. = 0.85) 2) การส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการในการพัฒนาสถานที่พักปลอดภัยและสถานประกอบการใส่ใจสุขภาพ เริ่มต้นจากการร่วมเป็นเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกัน อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ มาตรฐานคุณภาพที่พักนักเดินทาง และมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety &amp; Health Administration : SHA และ 3) การพัฒนาสถานที่พักปลอดภัย สถานประกอบการ ใส่ใจสุขภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทดลองปฏิบัติร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลวังหมี</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270373 ศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 2024-02-14T13:38:25+07:00 พัชญทัฬห์ กิณเรศ make_alist@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการตามหลักแนวคิดปิรามิดลำดับขั้นของการบริหารจัดการห่วงโซ่อาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ชุมชนวัดมหาธาตุ โดยแยกกลุ่มเป้าหมายเป็น ชุมชนวัดมหาธาตุ จำนวน 58 ครัวเรือน วัดมหาธาตุ จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง แปลงผักริมโขง จำนวน 1 แห่ง ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 15 แห่งซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานมี ดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเมืองร่วมกันตั้งแต่สำรวจปริมาณขยะรายครัวเรือน สังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 2) ชี้แจงโครงการแก่ชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ และหน่วยงาน วางแผนการดำเนินกิจกรรม ร่วมทดลองดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการ ประเมินผล และพัฒนาปรุงปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และบูรณาการใช้มาตรการทางสังคม 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการชุมชนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมพบว่า ปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 10 เดือน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารสัตว์ จำนวน 6,383 กิโลกรัม (6.383 ตัน) ส่งผลให้ปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะประเภทอื่น ณ หลุมฝังกลบ คิดเป็นอัตราร้อยละที่ลดลง เท่ากับ ร้อยละ 56.41 จากความร่วมมือของโครงการและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครพนม พบว่า สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 3,245.06 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากความพยายามของโครงการในการลดปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะทั่วไป ด้วยการเพิ่มมูลค่าจากขยะอาหารไปสู่อาหารสัตว์นั้น ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณขยะอาหาร และมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270604 การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2024-02-14T12:51:28+07:00 พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ cherkungsci@gmail.com ธีระพงษ์ มีไธสง Theerapong_00@yahoo.com ฉลอง พันธ์จันทร์ Chalong.p@msu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบูรณาการเรียนรู้วิชาพุทธศาสนาด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 2) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาจากการการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สิม คะลำ ผ้าผะเหวด ขันหมากเบ็งและการแปรรูปปลา สามารถนำเอาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการแบบสหวิทยาการกับหลักสูตรสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมระดับห้องเรียน 2) นวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการ SAAOL ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 รวบรวมผลการสำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้หลากมิติ และขั้นที่ 5 เชื่อมโยงผลลัพธ์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สู่วิถีชีวิต ทำให้เกิดความพึงพอใจของครูต่อผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมที่มีคุณค่าและความหมายต่อผู้เรียน ระดับมากที่สุด</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270624 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2024-02-01T15:03:53+07:00 ์นันทนา แจ้งสว่าง nim_nantana@hotmail.com สุกัญญา พยุงสิน dr_sukunya@hotmail.com ดวงใจ บุญกุศล duangjai@swu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษทำการผลิตข้าวข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่ม จนสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไรส์เบอร์รี่ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ และอาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ โดยสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทราบต้นทุนการผลิตพร้อมกำหนดราคาขายตามกำไรที่ต้องการ 40% ของต้นทุนการผลิต คือ 1.1) ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 4.53 บาทต่อชิ้น กำหนดราคาขายเท่ากับ 6.34 บาทต่อชิ้น และ 1.2) ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 22.20 บาทต่อถุง กำหนดราคาขายเท่ากับ 31.08 บาทต่อถุง 2) ส่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการผลิตภัณฑ์ ตามวิธีการ Association of Official Analytical Chemists (AOAC) และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้กลุ่มสมาชิกเกิดความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทั้งด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และด้านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270673 รูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 2024-02-01T10:58:05+07:00 อธิวัฒน์ นาวิศิษฏ์กร n.athiwat24@gmail.com ธนกฤต ทุริสุทธิ์ dr.krit.1960@gmail.com บุษกร สุขแสน s.busudru32@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นไปได้และความต้องการประยุกต์ ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ และ 3) ประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การแจกแบบสอบถามกับประชากรที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 400 คน 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป และ 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านที่เศรษฐกิจ และการเพาะปลูกมันหวานญี่ปุ่น จำนวน 30 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.03, S.D. = 0.74) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.80, S.D. = 0.86) ส่วนความต้องการในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.11, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.82, S.D. = 0.80) 2) การประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ มี 3 รูปแบบ ดังนี้ ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสีเขียว ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่ายการพัฒนา กลวิธีการพัฒนา และวิธีการประเมิน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไปทุกด้าน</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270285 การจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับความยากง่ายสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ 2024-02-29T11:24:28+07:00 เหงียน ถิ เชียม chiem@g.swu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับง่ายถึงยากใช้ในการอ่านภาษาเวียดนามอย่างกว้างขวางสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ เริ่มจากการแบ่งระดับผู้เรียนภาษาเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับอิงตามการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ และกรอบความสามารถทางภาษาเวียดนามสำหรับคนต่างชาติที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศเวียดนามได้แก่ ระดับพื้นฐาน A1, A2 ระดับกลาง B1, B2 และระดับสูง C1, C2 ในการสร้างชุดบทอ่านภาษาได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินความยากแต่ละระดับโดยพิจารณาจากการกำหนดปริมาณเฉพาะ 4 ปัจจัยในแต่ละบท ได้แก่ 1) จำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่าน 2) เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยว คำซ้อน 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ขึ้น 3) จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่าน 4) ความยาวของประโยคในบทอ่านโดยเป็นจำนวนคำถัวเฉลี่ยในแต่ละประโยค เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับเชิงปริมาณ คือใช้ข้อมูลภาษาที่วัดระดับความยากสำหรับเจ้าของภาษาแล้วสร้างเกณฑ์ใหม่โดยการลดความยากนี้ลงตามระดับที่ต่ำกว่าเพื่อปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนชาวไทย โดยการใช้เครื่องมือสถิติทางภาษาศาสตร์ในการหาตัวเลขปริมาณเฉพาะดังกล่าวคือ ซอฟต์แวร์ AntConc และสถิติความสามารถในการอ่านใน Microsoft Word ผลการวิจัยพบว่าบทอ่านจำนวน 137 จาก 180 บทอ่านที่เหมาะกับเกณฑ์ใหม่ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ โดย 6 ระดับ (A1-C2) มีจำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 32 คำถึง 1,046 คำ เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยวลดลงตั้งแต่ 0.9% ถึง 2.2% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 2 พยางค์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0.7 % ถึง 1.4% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 3 พยางค์ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0 % ถึง 3 % จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 6 ถึง 174 ประโยค ความยาวของประโยคในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 4.8 คำ ถึง 25.3 คำ </p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270401 แนวทางการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-01-18T12:01:01+07:00 ภวิกา ภักษา pomme_3p@hotmail.com นิรมล จันทร์สุวรรณ niramon.jan@sru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การดำเนินงานแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวฯ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูแนะแนวและครูที่ปรึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 43 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนทั้งสิ้น 359 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย รวมถึงศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 1 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ทั้งนี้ผู้ที่ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการการยกระดับความเข้มแข็งของระบบงานแนะแนวที่ได้พัฒนาขึ้น คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบงานแนะแนวฯ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์สภาพการณ์การดำเนินงานแนะแนว แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานแนะแนวฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการยกระดับงานแนะแนวฯ ควรอยู่ภายใต้กรอบ NASA-H ประกอบด้วย 2.1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2.2) การส่งเสริมความตระหนักและการดำเนินการ 2.3) การกำกับติดตามการดำเนินงานแนะแนว 2.4) การสร้างขวัญและกำลังใจ และ 2.5) การผลักดันเพิ่มบุคลากร</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270496 แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา กลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย์-รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2024-01-30T17:41:21+07:00 สุนีย์ ประจันทร์จำนง prajunjumnong@gmail.com ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล rukponmongkon@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา 2) เปรียบเทียบสภาพและ 3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 175 คน ผู้ให้ข้อมูลเพื่อหาแนวทางเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ จัดลำดับ ค่าการทดสอบที ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา มีสภาพการบริหารด้านภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และปัญหาข้อที่มีค่าร้อยละมากสุดคือ สถานศึกษาได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงบริบทแต่ขาดการประเมิน 2) การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 3) แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา พบว่า ด้านภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ผู้บริหารควรให้หน่วยงานภายในและภายนอกมีส่วนร่วมในการประเมิน ด้านภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ผู้บริหารและครูควรมีการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน ด้านภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ สถานศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมในการสร้างจิตสำนึก ด้านภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ ผู้บริหารและครูควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/270771 การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 2024-02-13T14:01:36+07:00 ฐาณมาศ บู่สี miw.boosee@gmail.com ณิรดา เวชญาลักษณ์ nirada.w@psru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 97 คน และครูผู้สอน 97 คน รวมทั้งสิ้น 194 คน ได้จากการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ 2) การเปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/269345 กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 2024-01-11T12:12:59+07:00 วงธรรม สรณะ saiiew@yahoo.com ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ kwunsiri@hotmail.co ชูวงศ์ อุบาลี chuwong.u@rbru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น-ชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นและท้องที่ ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีส่วนร่วมในการก่อรูปโรงเรียนผู้สูงอายุ นับตั้งแต่ พ.ศ.2557 โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาในการบริหารรจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเชิญครูเกษียณอายุ เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามีส่วนร่วม เป็นการขับเคลื่อนโครงการจากระดับฐานราก 2) การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์วิธีการแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกันดำเนินการโดยครูที่เกษียณอายุดำเนินการร่างหลักสูตรและจัดกิจกรรมที่เหมาะสม 3) การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ การจัดการเรียนการสอน การสลับบทบาทจากนักเรียนและเป็นผู้สอน โดยเฉพาะในวิชาเกี่ยวกับองค์ความรู้และความถนัดของผู้สูงอายุแต่ละคนและมีหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา สาธารณสุข เข้าร่วมทำกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น กรณีด้านสาธารณสุข มีการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น ตรวจวัดความดัน เป็นต้น และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการโดยการประชุมร่วมกัน พบว่าหลังจากเปิดโรงเรียน มีผู้สูงอายุที่เรียนครบตามหลักสูตรแต่ยังคงมีความผูกพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน “เรียนจบแล้วแต่ไม่ยอมจบ” “อาการป่วยซึมเศร้าบรรเทาลง” ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่มีการปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดอาชีพ เกิดรายได้ เกิดความผูกพันและผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/269829 กระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานถูกกฎหมายของแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศไทย 2024-01-18T12:01:51+07:00 ชนินทร สวณภักดี chaninthon.saw@vru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเข้าสู่การจ้างงานในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา และ 2) ศึกษากระบวนการทำให้แรงงานชาวกัมพูชาเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการสังเกตและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลทั้ง 7 คน จำนวน 2 ครั้ง แล้วจึงทำการสัมภาษณ์กลุ่มกับแรงงานชาวกัมพูชาจำนวน 5 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนายจ้าง และผู้ดูแลชุมชนแรงงานต่างด้าว เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถาม 2 ชุดแยกระหว่างแรงงานและนายจ้างกับผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำระหว่างการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบเพื่อสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยในปัจจุบันอนุญาตให้มีตัวแทนช่วยดำเนินการ และให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายก่อนได้ โดยมีนายหน้าจากทั้งสองประเทศ และ 2) กระบวนการข้ามแดนเป็นขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินได้มากที่สุด นายจ้างมักใช้นายหน้าช่วยดำเนินการเพื่อความสะดวกและลดปัญหาทั้งกับเจ้าหน้าที่และแรงงาน ทำให้นายหน้ามีหลายประเภท และการเป็นแรงงานถูกกฎหมายส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของแรงงานชาวกัมพูชา ขั้นตอนที่อาจนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาได้แก่ (1) การศึกษาความจำเป็นของระบบนายหน้า (2) การตรวจสอบการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ (3) ควรมีระบบจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยที่สามารถระบุตัวตนแรงงานต่างด้าวได้เองไม่ต้องรอเอกสารจากประเทศต้นทางทั้งหมด (4) ทิศทางในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว สามารถเรียนรู้จากการบูรณาการแรงงานเข้าสู่สังคมจากประเทศที่มีนโยบายในกลุ่มรัฐสวัสดิการ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้แก่ พิจารณาการใช้นายหน้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นรายบุคคล เน้นทำงานในพื้นที่ และศึกษาแนวทางจัดสวัสดิการแก่แรงงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมไทย</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272173 วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย 2024-03-31T12:23:14+07:00 ก้องภพ เอี่ยมสมบูรณ์ gameekongpop@hotmail.com เกษฎา ผาทอง ketsada.iadp@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 2) วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองไทยจากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 22 รูป/คน ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 3 รูป นักวิชาการจำนวน 3 คน อุบาสก จำนวน 6 คน อุบาสิกา จำนวน 6 คน ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จำนวน 4 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท สรุปการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นแนวความคิดที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ระบบการเมืองใดก็ได้ถ้าหากประกอบด้วยธรรมแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเมืองที่ดีที่สุดในทัศนะของท่าน และแนวความคิดทางการเมืองแบบ “ธรรมิกสังคมนิยม” คือ สังคมที่มีธรรมะหรือความถูกต้อง มีอิสรภาพหรือความสงบสุข 2) ผลการวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า เหตุการณ์ทางการเมืองมีบริบทการพัฒนาเกิดจากค่านิยม ทัศนคติ วิถีชีวิตการเข้ามาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหรือผู้มีเงิน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งด้านทัศนคติ ผลประโยชน์ การแย่งชิงอำนาจ แนวทางการพัฒนาควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งเสริมความเสมอภาค สร้างภูมิความรู้ให้กับประชาชนควบคู่กับการพัฒนาการเมือง และ 3) การวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยโดยการจัดระบบการเมืองให้ถูกต้อง คือ ตั้งอยู่บนฐานของธรรมะ พัฒนาระบบศีลธรรม โดยอาศัยธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต การพัฒนาจิตใจ ไม่ให้เป็นทางวัตถุ</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/272495 การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 2024-04-09T10:50:56+07:00 ์ณัฏฐพัชร์ งดงาม natthapas2537@gmail.com เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ Jchaowarit@gmail.com ดิเรก ด้วงลอย direk.due@mcu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพชุดฝึกเสริมทักษะ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงทดลอง แบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกเสริมทักษะชีวิต เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ จำนวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ จำนวน 10 ข้อ โดยผลประเมินคุณภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.95, S.D. = 0.88 สถิติที่ใช้ คือ การหาประสิทธิภาพชุดฝึกเสริมทักษะ โดยใช้ร้อยละ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนใช้การทดสอบ Paired-Sample t-test และการหาความพึงพอใจของนักเรียน ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มีประสิทธิภาพ 87.07/88.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกรดพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.95, S.D. = 0.88)</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/276253 แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-09-02T16:22:09+07:00 บุษกร วัฒนบุตร busaaiey2516@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง 2) กำหนดสมรรถนะในการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ มีแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัย ใช้กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาลักษณะและข้อสรุปร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุเป็นการพัฒนาอาชีพในชุมชนมาจากการกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลที่กระจายมายังท้องถิ่นจัดให้ ไม่ได้เกิดมาจากความต้องการของชุนชน ในขณะที่ผู้สูงอายุมีความต้องการทางสังคมเป็นการจัดทำโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเป็นเหตุนำเอาผู้สูงอายุออกมานอกบ้าน รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมนันทนาการเพื่อการรวมกลุ่มสร้างสรรค์ อาทิเช่น การพัฒนาอาชีพ การเรียนรู้การทำของใช้ในบ้านเพื่อใช้ในชีวืตประจำวัน การทำกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจลดต้นทุน การออกกำลังกาย 2) การกำหนดสมรรถนะของการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพ เช่น ทำผลิตภัณฑ์กลุ่ม สินค้า เครื่องใช้ภายในบ้าน อันเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศึกษาดูงาน พัฒนากิจกรรมการทำสินค้าเพื่อใช้ในบ้านและนำมาจำหน่ายในชุมชน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีลักษณะเป็นการ ให้ความรู้ความเข้าใจโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างกิจกรรมส่งเสริมกลุ่มอาชีพในท้องถิ่น โดยการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอาชีพ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขพัฒนาไปสู่ความต้องการการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/273009 การจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี สู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ 2024-04-23T17:08:00+07:00 รัตติยา เหนืออำนาจ rattiya.prom@mcu.ac.th อัครเดช พรหมกัลป์ akkaratv@hotmail.com พระครูสุธีธรรมบัณฑิต hai.tham@mcu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการความรู้ชุมชน 5 ดี และ 2) ประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดีสู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นการวางแผนเพื่อสร้างการตระหนักรู้ของชุมชน ขั้นการปฏิบัติเพื่อการบ่งชี้ความรู้ และการสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการประชุมแกนนำระดับชุมชน จำนวน 7 รูป/คน และการจัดเสวนาตัวแทนชุมชน จำนวน 60 รูป/คน ขั้นการติดตามประเมินผลความรู้ โดยการประเมินผลโครงการแบบซิป กับตัวแทนชุมชน จำนวน 16 รูป/คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี ประกอบด้วย 1.1) การสังเคราะห์และบ่งชี้ความรู้ เพื่อกำหนดกรอบการบ่งชี้ความรู้ให้มีความชัดเจนขึ้น 1.2) การแสวงหาความรู้ มีการขยายพื้นที่เป้าหมาย มีการสร้างกลไกเจ้าภาพ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และมีการจัดทำแผนที่ผู้รู้ และหนังสือยินยอมอนุญาตฯ 1.3) การจัดเก็บ การสืบค้นความรู้ การประมวลและกลั่นกรอง แบ่งออกเป็น 5 หมวด รวมจำนวนผู้รู้ 68 รูป/คน 1.4) การระดมความคิดเห็นเพื่อยืนยันชุดข้อมูลชุมชน ประกอบด้วย การเสวนาชุมชน และการประกวดคลิปวิดีโอ 1.5) การถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย การจัดทำหนังสือชุดความรู้ชุมชน และการจัดทำแผนที่ผู้รู้ 1.6) การขยายผล และสร้างมูลค่าชุดความรู้ ได้เลือกต้นแบบ คือ “ลูกกระสุน” และ 2) การประเมินผลแบบซิปโมเดล ประกอบด้วย ด้านบริบท เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม และมีทุนทางวัฒนธรรมเข้มแข็ง ด้านปัจจัยป้อน มีแกนนำชุมชน จิตอาสา ศักยภาพชุมชนมีความเข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการ มีการสร้างข้อตกลงชุมชน กลไกเจ้าภาพ และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ด้านผลิตผล มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาครบทุกพื้นที่ แต่ขาดช่วงการสืบทอดความรู้ และผลการถอดบทเรียน พบว่า ปัญหาและข้อจำกัด คือ เงื่อนเวลาของผู้รู้และการสูญหายของชุดความรู้ และปัจจัยความสำเร็จ คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ศักยภาพชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วม และแกนนำชุมชน/จิตอาสามีความเข้มแข็ง</p> 2024-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ