วารสารวิจยวิชาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra <p><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/jra/White_Minimalist_Elegant_Handwritten_LinkedIn_Banner_(1).png" width="648" height="162" /> </p> <p> </p> <p><strong> วารสารวิจยวิชากา</strong>ร มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและบทวิจารณ์หนังสือที่เป็นภาษาไทยและมีข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงความคิดริเริ่มที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติในวงกว้าง อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการศึกษา การสอน โดยเน้นสาขาวิชาพระพุทธศาสนา การบริหารการศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ วารสารวิจยวิชาการได้เริ่มจัดทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 จะมีการเผยแพร่ระบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียว โดยมีหมายเลข ISSN 2985-0053 (Online) </p> <p> </p> <p> </p> มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ th-TH วารสารวิจยวิชาการ 2985-0053 <p>1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p>2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น</p> กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264889 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 2) สร้างกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง 3) นำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก รวม 19 รูป/คน และสนทนากลุ่มจำนวน 9 รูป/คน ใช้สถิติหรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาอธิบาย ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า ในบางครั้งไม่ต่อเนื่อง ความหลากหลายในการนับถือศาสนา ทำให้ผู้เผยแผ่ต้องปรับปรุงรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย การที่จะเข้าถึงได้ต้องมีความเข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีความเข้าใจว่าการมานับถือพระพุทธศาสนาอาจทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนไป เพราะมีวัฒนธรรมประเพณีคติความเชื่อที่แตกต่างจึงยากต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า กระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกในกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง นอกจากพระธรรมจาริกจะสอนตามช่วงชั้นต่างๆ แล้วได้นำกระบวนการฝึกอบรมเข้าค่ายคุณธรรม มีการบวชภาคฤดูร้อน เน้นสังคมสงเคราะห์เป็นหลักในการเผยแผ่และพัฒนา และ 3) นำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริกที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง พบว่า พระธรรมจาริกต้องใช้กลยุทธ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ทั้ง 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านศีลธรรมวัฒนธรรม (2) ด้านสุขภาพอนามัย (3) ด้านสัมมาชีพ (4) ด้านสันติสุข (5) ด้านศึกษาสงเคราะห์ (6) ด้านสาธารณสงเคราะห์ (7) ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม (8) ด้านสามัคคีธรรม</p> พระครูปริยัติพัชรโกวิท (สุขุม สุขุมาลปญฺโญ) ศิริโรจน์ นามเสนา วรกฤต เถื่อนช้าง Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 1 12 10.14456/jra.2024.30 การพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264841 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา 2) พัฒนาการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มพระสังฆาธิการที่ทำงานด้านสาธารณสงเคราะห์ 2) กลุ่มจิตอาสาอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ 3) กลุ่มจิตอาสาอำเภอหล่มสัก และ 4) กลุ่มชมรมจิตอาสาอำเภอหล่มเก่า จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา ในสังคมไทยปัจจุบัน มีการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา 6 ด้าน คือ ตนเอง ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน สังคม/ชุมชน และสื่อสาร มวลชน 2) การพัฒนาการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม พบว่า สำหรับปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา ควรมีการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสาตั้งแต่เด็ก เตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้ความชำนาญในการสื่อสาร ซึ่งอนุวัตตามหลักพุทธธรรม คือ ภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา และ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม พบว่า แนวทางการพัฒนา ควรเริ่มจากการสร้างศรัทธา ปลุกจิตสำนึกในเรื่องของการให้ การเสียสละ อุทิศตนเป็นผู้รับใช้เพื่อนมนุษย์ ส่วนวิธีการนำไปใช้ สามารถทำได้ในรูปแบบของการจัดอบรบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจิตอาสา หรือการให้ความรู้ ความเข้าใจในลักษณะการทำงานจิตอาสาอย่างลึกซึ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม</p> พระครูปริยัติพัชรธรรม พระศรีสมโพธิ สามารถ สุขุประการ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 13 26 10.14456/jra.2024.31 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264053 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด 2) ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นบุคลากรของสำนักปฏิบัติปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จำนวน 52 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 รูป/คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรมีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เป็นกำลังสำคัญ ในการกำหนดทิศทาง มีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะในการสอนวิปัสสนา 2) เจ้าสำนักที่มีความรู้ความสามารถในสอนกัมมัฏฐานทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดปฏิเวธแก่ผู้ปฏิบัติตาม เห็นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระวิปัสสนาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ดี ส่วนเจ้าหน้าที่ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีจัดการดี ย่อมเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้มาปฏิบัติ และ 3) เจ้าสำนักต้องหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ พระวิปัสสนาจารย์ต้องทบทวนและฝึกฝนเทคนิคการสอนวิปัสสนา เจ้าหน้าที่ต้องเข้าอบรมเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการอาคารและพัสดุ พัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ โดยใช้หลักความเป็นครูที่ดี 3 สุ คือ (1) พัฒนาด้านความรู้ ด้วยหลักสุวิชาโน เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องพระกัมมัฏฐานและหน้าที่ของตน (3) พัฒนาด้านทักษะ ด้วยหลักสุสาสโน เป็นผู้สอนดี ถ่ายทอดดีมีปิยวาจา และ (3) พัฒนาด้านทัศนคติ ด้วยหลักสุปฏิปันโน มีความสุภาพเรียบร้อย สง่างามน่าศรัทธา น่าเคารพ น่าเชื่อถือ มีความสำรวม ระมัดระวังอากัปกิริยา โดยมีหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นพื้นฐาน</p> พระครูประคุณวชิราภรณ์ พระศรีสมโพธิ สามารถ สุขุประการ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 27 38 10.14456/jra.2024.32 การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264650 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการท่องเที่ยว 2) พัฒนากระบวนการท่องเที่ยว และ 3) บูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยในเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามแบบบังเอิญ จำนวน 400 ชุด การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก 17 คน ประชุมกลุ่มย่อย 12 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการการจัดงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด (4.28) รองลงมา คือ ด้านการให้บริการ มีระดับความคิดเห็นมาก (4.18) และน้อยที่สุดคือ สถานที่ในการจัดงาน (3.88) 2) การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท มีการพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวทั้งหมด 4 กระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) กระบวนการสื่อสาร ช่องทางในการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร สถานที่ตั้ง ประวัติ ความเป็นมาที่สำคัญ 2.2) กระบวนการการตลาด การจัดการร้านค้าของฝาก สินค้าชุมชน สินค้าภายในงาน 2.3) กระบวนการการให้ความรู้ ได้ให้ความรู้ผ่านการจัดกิจกรรมในงานด้านวัฒนธรรม 2.4) กระบวนการจัดการในการท่องเที่ยว มีการวางแผนโดยชุมชน การจัดภูมิทัศน์ ภายในงาน และ 3) การบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการบูรณาการจากชุมชนสู่วัด จากวัดสู่ชุมชน ดังนี้ การบูรณากิจกรรมสักการะพระพุทธชินราชปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง ทำขวัญนาคอุปสมบทนาคหมู่ การอนุรักษ์การท่อเสื่อกก การทำขวัญข้าว การแสดงและการประกวดร้องเพลง การแข่งขันกีฬา การประกวดขบวนรถแห่นาคการแสดงหน้านาค การประกวดการจัดสำรับคาวหวานตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ ฯลฯ</p> พระครูอุทิตปริยัติสุนทร สมบุญ ทิพรังศรี พระครูอุทิศธรรมพินัย ธนพัฒน์ เฉลิมรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 39 52 10.14456/jra.2024.33 การพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264642 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ 2) นำเสนอพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ และ 3) พัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพกับเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับพระสงฆ์ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้อาวุโส กลุ่มชาวบ้าน และกลุ่มจิตอาสาที่ทำงานในพื้นที่ จำนวน 40 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ชุดกิจกรรมออกแบบรูปแบบ วิธีการการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนากิจกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยทำการเลือกชุมชนเมืองพระชนกจักรี (อำเภอหนองฉาง) จังหวัดอุทัยธานี ผลการวิจัย พบว่า 1) พื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ จังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีอยู่ภายในชุมชนของตนเอง งานประเพณีที่มีชื่อเสียงที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทุกปี และกิจกรรมทำบุญงานเดือนสามสืบสานประเพณีชาวอู่ไท อำเภอหนองฉาง 2) จากการสำรวจจึงได้นำเสนอพื้น ณ งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท เป็นพื้นที่การแสดง พื้นที่การท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธและพื้นที่การทำบุญเป็นพื้นที่แสดงอัตลักษณ์ทางด้านพระพุทธศาสนา และ 3) การพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยมีการร่วมมือกันระหว่างวัด และชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาพื้นที่งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท เป็นพื้นที่การแสดงวัฒนธรรมวิถีพุทธ เช่น พื้นที่การทำขวัญข้าว พื้นที่การทำขวัญนาคหมู่ พื้นที่ประกวดขบวนรถแห่นาค ขบวนรำหน้านาค พื้นที่ประกวดสำหรับคราวหวาน ฯลฯ และพื้นที่ทำบุญ เช่น สักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง ปิดทองไหว้พระ ฯลฯ</p> พระสมุห์พุฒิพงษ์ กล่ำทวี พระราชอุทัยโสภณ พระครูอุปกิตปริยัติโสภณ เมธาวรินทร์ วิลพรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 53 68 10.14456/jra.2024.34 แนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264918 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 2) ศึกษาหลักคุณธรรมที่ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ 3) การนำเสนอแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร พบว่า เมื่อเกษตรกรได้ดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ตัวเองและสังคมมีการพัฒนาด้านจิตใจ และปัญญา โดยการทำงานด้วยความขยัน รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ ใช้จ่ายแต่พอเหมาะแก่ฐานะ เมื่อมีงานทำแล้วต้องรู้จักประมาณในการใช้จ่ายรู้จักแบ่งปันแก่เพื่อนบ้าน สั่งสมบุญโดยการทำทาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) หลักคุณธรรมที่ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร พบว่า เมื่อเกษตรกรได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมแล้ว นำมาเป็นแนวทางการในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม เป็นผู้มีความรัก ความเมตตา ความเสียสละ และการให้อภัย ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ทำให้มีชีวิตและครอบครัวอยู่ร่วมกับสังคมอย่างสงบสุข สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ 3) การนำเสนอแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ พบว่า การปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ครอบครัวมีอยู่ มีกิน ไม่ขาดแคลน คนในครอบครัวไม่ต้องทิ้งบ้านเรือนเพื่อไปหางานทำในต่างถิ่น คนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคีกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกัน เศรษฐกิจพอเพียงทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง เป็นระบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง ไม่ผลิตเพื่อขายหรือส่งออกอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาด้านเศรษฐกิจประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบน้อยเพราะเกษตรกรที่บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสามารถผลิตสินค้าใช้เองได้ ทำให้เกษตรกรมีหลักในการปรับปรุงและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น</p> พระนพดล สุทธิธมฺโม สามารถ สุขุประการ ศิริโรจน์ นามเสนา Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 69 82 10.14456/jra.2024.35 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ตามหลัก สัปปุริสธรรม 7 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265121 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 252 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ส่วนด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้เทคโนโลยีในการบริหารอย่างเหมาะสม มีความคิดริเริ่ม สนับสนุนให้มีการใช้ระบบดิจิทัล ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของบุคลากร ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักสูตร ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เสมอ ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนการพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท จัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรติดตามและประเมินผลการใช้งานเทคโนโลยี ส่งเสริมหลักสูตรทางด้านคุณธรรม เสริมสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน เป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ</p> จุฑามาศ มูลกระโทก วินัย ทองมั่น พระราชวชิรเมธี วรปญโญ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 83 96 10.14456/jra.2024.36 โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็กบนความปกติใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264854 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนประสมทางการตลาดแบบใหม่ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ และความยั่งยืนบนความปกติใหม่ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการผลิต 2) กลุ่มการค้าปลีก และค้าส่ง และ 3) กลุ่มบริการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนประสมทางการตลาดแบบใหม่ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ความยั่งยืนบนความปกติใหม่ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็กของผู้ประกอบการ โดยแบบจำลองสมการโครงสร้างของความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็ก (Success: SUCC) สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่า <em>c</em><em><sup>2</sup></em> = 102.258, <em>df</em> = 90, ค่า <em>p</em> = 0.178, <em>c</em><em><sup>2</sup></em>/ <em>df</em> = 1.136, ดัชนี GFI = 0.967, NFI = 0.993, NNFI = 0.998, CFI = 0.999, RMR = 0.028, SRMR = 0.029, RMSEA = 0.020, และ = 0.909 จากค่าสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าค่า <em>p </em>มีค่ามากพอที่จะยอมรับสมมติฐาน (<em>p</em> &gt; .05) ดัชนีต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ในการพิจารณา จึงสรุปได้ว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างของความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็ก (Success: SUCC) สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็ก (Success: SUCC) ได้ร้อยละ 90.90 ซึ่งเป็นการอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็ก (Success: SUCC) ได้ดีมาก</p> เอกชัย เรืองรัตน์ สุดา สุวรรณาภิรมย์ ธิปัทย์ โสตถิวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 97 116 10.14456/jra.2024.37 การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264106 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูและบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษามีจำนวน 3 ตัวแปร คือ การสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน (X<sub>4</sub>) การสร้างการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (X<sub>2</sub>) และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (X<sub>1</sub>) ที่ร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายการแปรผันของระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ร้อยละ 66.50 (R<sub>2</sub> = 0.665)</p> ศศิวรรยาห์ มากผ่อง สิทธิพร เขาอุ่น ทศพล ฑีฆพร ทินกร พูลพุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 117 128 10.14456/jra.2024.38 แนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264342 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสภาพปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และ 3) นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 237 คน วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบที และการทดสอบเอฟ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร ในภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.13, S.D. = 0.29) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสภาพปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร พบว่า เพศ อายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ดังนี้ 1) ด้านการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาควรหมั่นประชุม พบปะสังสรรค์ระหว่างบุคคลที่ทำงานร่วมกัน 2) ด้านการร่วมมือ มุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรร่วมกันวางแผนงาน ตัดสินใจ ปฏิบัติ และประเมินผล 3) ด้านการประนีประนอม ควรจัดประชุมพบปะเจรจาด้วยความประนีประนอมกันกับครู 4) ด้านการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานควรควบคุมสถานการณ์ความตึงเครียด ส่งเสริมและให้การสนับสนุนครู แก้ไขปัญหาโดยยึดหลักข้อปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่ได้ตกลงกันไว้ และ 5) ด้านการยอมให้ ควรส่งเสริมให้ครูที่ปฏิบัติงานร่วมกัน รู้จักเวลาและตรงต่อเวลา จัดสรรทรัพยากร ตลอดจนการมอบหมายงานตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล</p> เอกวิทย์ ทับทวี พระมหาอุดร อุตฺตโร ปฏิธรรม สำเนียง พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 129 146 10.14456/jra.2024.39 กระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264981 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา และ2) ประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษามีทั้งสิ้น 18 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนหลักสูตรทวิศึกษา ผู้รับผิดชอบงานหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และอาจารย์มหาวิทยาลัย สำหรับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษามีทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และบัณฑิตศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ขั้นการบริหารจัดการ (2) ขั้นการพัฒนาหลักสูตร (3) ขั้นการรับนักศึกษา (4) ขั้นการจัดการเรียนการสอน (5) ขั้นการวัดและประเมินผล และ (6) ขั้นการนิเทศติดตามผล และ 2) การประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.28, S.D. = 0.50)</p> ภาสกร ฝั้นอ้าย ณัฐิยา ตันตรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 147 162 10.14456/jra.2024.40 องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265567 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล 2) สัมภาษณ์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ด้านความรู้ดิจิทัล 3) ด้านความเป็นมืออาชีพดิจิทัล 4) ด้านทักษะเทคโนโลยีและการสื่อสารดิจิทัล และ 5) ด้านการบริหารจัดการดิจิทัล</p> พรมา จันทรโคตร วัลนิกา ฉลากบาง วันเพ็ญ นันทะศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 163 180 10.14456/jra.2024.41 การพัฒนาเครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265599 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 150 คน จาก 31 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกร มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด ได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และความเที่ยง ผลการวิจัย พบว่า 1) เครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเล่นเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 5 ข้อ (2) ด้านการมีแรงบันดาลใจ จำนวน 5 ข้อ (3) ด้านการสังเกตสามารถมองเห็นปัญหา จำนวน 4 ข้อ (4) ด้านการแสวงหาความรู้ จำนวน 5 ข้อ (5) ด้านคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จำนวน 5 ข้อ (6) ด้านความมุ่งมั่นและปฏิบัติงานต่อเนื่อง จำนวน 5 ข้อ (7) ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น จำนวน 3 ข้อ และ 2) เครื่องมือการวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรมีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC = 0.67 - 1.00) มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24 - 0.77 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 มีความตรงเชิงโครงสร้างจากการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 (224, <em>N</em> = 150) = 259.516, p = .052, CFI = .972, TLI = .965, RMSEA = .040, SRMR = .073) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่า 0.351 ถึง 0.999 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัว ยกเว้น ข้อ 6 ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า เครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นนวัตกรมีความตรงเชิงโครงสร้าง และสัดส่วนความแปรปรวนที่อธิบายได้ด้วยองค์ประกอบแต่ละตัวร้อยละ 12.50 ถึง 99.80</p> ศักดิ์สิทธิ์ ทองจำปา ปราณี แก้วมา ญาณวุฒิ วงศ์ใหญ่ศิริ ณัฐกานต์ ประจันบาน Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 181 194 10.14456/jra.2024.42 การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264606 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่นักบริบาลชุมชนกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล 2) พัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยคณะผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์การรวบรวมข้อมูลโดย การวางแผน การปฏิบัติ ประเมินผล สะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่นักบริบาลชุมชนกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล พบว่า นักบริบาลชุมชนมีหน้าที่ 1.1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ 1.2) ด้านป้องกันสุขภาพ 1.3) ด้านการรักษาสุขภาพเบื้องต้น 1.4) ด้านการฟื้นฟูสุขภาพ 2) การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลพบว่า การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธได้นำหลักภาวนา 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักบาลชุมชนในการดูแลผู้สูงวัย 2.1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ (กายภาวนา) ได้รับการพัฒนาทางกาย 2.2) ด้านการป้องกัน (สีลภาวนา) ได้รับการพัฒนาทางพฤติกรรม 2.3) ด้านการรักษา (จิตตภาวนา) ได้รับการฝึกพัฒนาทางจิตใจ 2.4) ด้านการฟื้นฟู (ปัญญาภาวนา) ได้พัฒนาทางปัญญาได้รับความรู้ในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจผู้สูงวัย ด้วยหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมีการวางแผนที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย ผู้นำท้องถิ่น/นักจัดการงานชุมชนด้านบริบาล การนำหลักธรรมหลักภาวนา 4 เข้ามาประยุกต์ในมิติสุขภาพได้ความรู้ ทัศนะคติ ทักษะปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย</p> อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์ ศศิกิจจ์ อ่ำจุ้ย อาณัติ เดชจิตร Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 195 212 10.14456/jra.2024.43 ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม กรณีศึกษา : เหตุกราดยิงในศูนย์การค้าเทอมินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265770 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม และ 2) นำเสนอระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากเหตุกราดยิง ในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่และมีหน้าที่ในการดูแลและจัดการด้านความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 19 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการความปลอกภัยที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแผนการ กระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจนในการระงับและจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากการกราดยิงในพื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่ไม่ทราบบทบาทในการดำเนินการของตนเอง ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้อย่างถูกต้อง และ 2) ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากเหตุกราดยิง ในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยนำเข้า เป็นการจัดทำแผนเผชิญเหตุ โดยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ บทบาทของแต่ละภาคส่วน รวมถึงการซักซ้อมแผน 2.2) กระบวนการ คือ การดำเนินงานการเผชิญเหตุ ต้องมีการประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาสภาพแวดล้อม วิเคราะห์บริบทต่าง ๆ เพื่อวางแผนเข้าช่วยเหลือประชาชน และการจัดการกับผู้กระทำความผิดตามความเหมาะสม 2.3) ปัจจัยส่งออก เป็นการดำเนินงานหลังเกิดเหตุ จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินความเสียหายและเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงการดำเนินการด้านกฎหมายกับผู้กระทำความผิด (กรณีที่ไม่ถูกวิสามัญ) ทั้งนี้เหตุที่เกิดขึ้นจำเป็นที่จะต้องถอดบทเรียนจากการจัดการด้านความปลอดภัย เพื่อระบุปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานอันเป็นข้อมูลป้อนกลับที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแผนเผชิญเหตุ เพื่อยกระดับมาตรการการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ และทำให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาชญากรรมจากเหตุกราดยิงสามารถดำเนินการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จุฑาทิพย์ ศรีพิทักษ์ ดิฐภัทร บวรชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 213 232 10.14456/jra.2024.44 การบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตศึกษากรณีการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265391 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการบริหารงานในภาวะวิกฤต และศึกษากรอบการบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤต ศึกษากรณีการบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ได้จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 32 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย การตรวจสอบข้อมูล การทำดัชนีข้อมูล การทำข้อสรุปชั่วคราวและกำจัดข้อมูล และการสร้างบทสรุปและพิสูจน์บทสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเสี่ยงในการบริหารงานในภาวะวิกฤตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ รองลงมาเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และยังมองว่าการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 ยังไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหา นโยบาย กฎหมาย มาตรการหรือข้อบังคับต่าง ๆ ขาดการประเมินความเสี่ยง ประชาชนลดการพึ่งพารัฐบาลและหาแนวทางในการป้องกันตัวเองตามมาตรการทางสังคม และ 2) กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การประเมินความเสี่ยง รองลงมาเป็นการระบุความเสี่ยงหรือการบ่งชี้เหตุการณ์ และการสื่อสารและระบบสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จากวิกฤตนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นโอกาสและความท้าทายในทุกระดับ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรอาศัยสถานการณ์ติดตามและทบทวนความล้มเหลวในการบริหารงาน การแก้ปัญหา และทุกภาคส่วนทางสังคมควรบูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการ ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม</p> วชิรวัชร งามละม่อม Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 233 250 10.14456/jra.2024.45 ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265559 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ และ 3) หาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 315 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการ โดยรวมพบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้สูงอายุความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล และด้านนันทนาการ โดยมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ในเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งเนื่องจากความต้องการของผู้สูงอายุมีความต้องการที่แตกต่างกัน ทั้งความต้องการพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม และ 3) แนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ควรมีแผนงานด้านผู้สูงอายุที่ชัดเจน ภายใต้กรอบกฎหมาย โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม รวมถึงสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนและผู้สูงอายุ จัดบริการสถานที่สำหรับพักผ่อน ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ</p> กิตติ ตระกูลรัมย์ สมปอง สุวรรณภูมา ณัฐดนัย แก้วโพนงาม Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 251 266 10.14456/jra.2024.46 ระเบียบวินัย: เทคนิควิธีของอำนาจที่ใช้ควบคุมการทำงานของครูปฐมวัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/265476 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเทคนิควิธีของอำนาจที่กระทำผ่านระเบียบวินัยในการควบคุมการทำงานของครูปฐมวัยในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลและเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 41 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ระเบียบวินัยเป็นเทคนิควิธีของอำนาจที่ควบคุมการทำงานของครูปฐมวัยในมิติต่าง ๆ ได้แก่ 1) การควบคุมผ่านพื้นที่และเวลา 2) การควบคุมผ่านเทคโนโลยี 3) การควบคุมผ่านการแต่งกายและกิริยาท่าทาง 4) การควบคุมผ่านเอกสารเพื่อการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยระเบียบวินัยจะเข้าไปอยู่ในสำนึกของตัวครู จนกลายเป็นร่างกายที่สยบยอมและเชื่อฟัง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของครูและความสำเร็จขององค์กร ซึ่งเป็นเทคนิควิธีของอำนาจที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรสมัยใหม่ เป็นอำนาจที่ปราศจากการใช้ความรุนแรงหรือทำให้ร่างกายเจ็บปวด แต่เป็นอำนาจที่เข้าไปควบคุมจิตวิญญาณในการทำงาน ทำให้เกิดเป็นร่างกายที่สยบยอมและเชื่อฟัง ทั้งนี้ นโยบายในระดับกระทรวงและระดับโรงเรียนต้องมีการกำกับควบคุมระเบียบวินัยให้เป็นไปตามกฎหมายทุกระดับ และต้องเปิดโอกาสให้ครูปฐมวัยสามารถตั้งคำถามและต่อรองกับระเบียบวินัยได้ ซึ่งจะทำให้เทคนิควิธีของอำนาจที่กระทำผ่านระเบียบวินัยไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นการรักษาความสมดุลของอำนาจระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ในโรงเรียน</p> วัชรี บุญวิทยา ภัทรพรรณ ทำดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 267 286 10.14456/jra.2024.47 จิตตภาวนา: ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์จากการฝึกฝนอบรมจิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264694 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนแนวคิดเรื่องการพัฒนาจิต และประสบการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตในพุทธศาสนา 2) ศึกษาประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การสำรวจ การสัมภาษณ์และการทดลองปฏิบัติ นำเสนอด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบของการพัฒนาจิตในพุทธศาสนามี 2 คือ การพัฒนาจิตเพื่อให้จิตสงบ และการพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งชัด หนทางเดียวของผู้ต้องการความรู้แจ้งชัดคือการใช้สติเป็นฐาน (สติปัฏฐาน) ด้วยการระลึกรู้กาย เวทนา จิต และธรรม ตามจริงที่เป็นปัจจุบัน ประสบการณ์พิเศษที่เป็นผลจากการพัฒนาจิตมี 3 คือ ความสุขจากความสงบ โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม 2) จากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา พบว่า นักปฏิบัติชั้นครู/อาจารย์ มีประสบการณ์พิเศษ คือ จิตสงบ เข้าใจความจริงของชีวิต มองเห็นจิตที่ปรุงแต่ง พบอำนาจพิเศษของจิต เช่น การรู้วาระจิตของคนอื่น การถอดจิตได้ การรู้อนาคต ตลอดถึงความสามารถในการทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ส่วนนักการศึกษา/ผู้กำลังเรียนรู้ มีประสบการณ์พิเศษคือ ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี การละวางตัวตน จิตนิ่ง หายกลัว เป็นต้น พบปรากฏการณ์ขณะพัฒนาจิต คือ การมองเห็นตัวเอง มีความรู้สึกละเอียด รู้สึกตัวลอย รู้สึกไม่มีตัวตน เป็นต้น และจากการทดลองปฏิบัติพบว่า ปลายสุดของความง่วงคือความโล่งสว่าง มีอาการอุ่นบนศีรษะ ตัวโยกโคลง เป็นต้น และ 3) ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตนั้น เป็นสภาวะที่มีอยู่และเกิดขึ้นได้ แต่จะพบใน 2 แบบคือ การปรากฏทางมโนภาพ และ การปรากฏทางกายภาพ</p> มนตรี เพชรนาจักร Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 287 304 10.14456/jra.2024.48 การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264654 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ 2) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ และ 3) นำเสนอกลยุทธ์และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ เป็นรูปแบบวิจัยการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเลือกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 12 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการเลือกชุมชนจากลักษณะความโดดเด่นของวัฒนธรรมวิถีพุทธ ทำกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการที่ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไทย ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ซึ่งพบว่างานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไทในการจัดงานวัดหนองขุนชาติอำเภอหนองฉาง มีงานการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมวิถีพุทธมีการทำบุญ ทำขวัญข้าวแม่โพสพ ทำขวัญนาค ขบวนแห่นาค สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีและวิถีวัฒนธรรม และวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามที่แฝงไปด้วยความเรียบง่าย 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ด้วยการจัดการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรม เพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการและการแข่งขัน และพัฒนาบุคลากร สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยว ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท 3) นำเสนอกลยุทธ์และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการดำเนินการแต่ละด้านดังนี้ (1) พื้นที่และทรัพยากร (2) องค์กรชุมชน (3) การเรียนรู้ (4) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (6) การวางแผนการดำเนินงาน (7) กำหนดเครื่องมือพัฒนา (8) การจัดการการ และ (9) การประชาสัมพันธ์</p> ประคอง มาโต พระครูอุเทศธรรมสาทิส ชลิต วงษ์สกุล พัททดล เสวตวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 305 318 10.14456/jra.2024.49 รูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาอาชีวศึกษา ในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอปริหานิยธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/266235 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) สร้างรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะที่คัดเลือกแบบฉพาะเจาะจง รวม 12 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินรูปแบบฯ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงและให้ความร่วมมือการในการวิจัย รวม 17 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดฝึก ด้านการจัดทำแผนการฝึก ด้านการเตรียมการก่อนการจัดฝึก และการดำเนินการจัดการฝึก การนิเทศ ติดตาม กำกับดูแลการฝึก โดยสรุปจะดำเนินการร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ สถานศึกษา นักศึกษา และ และสถานประกอบการ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ พบว่า เป็นรูปแบบการจัดการการฝึกฯ ใน 4 ด้าน และ 7 หลัก ตามอปริหานิยธรรม ซึ่งจะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดประชุมพบปะหารือร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย อย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้ง 2) มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม 3) ไม่ลุอำนาจในการจัดการปรับแก้เองแต่เพียงฝ่ายเดียว 4) อยู่บนฐานของกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน 5) มีการเคารพให้เกียรติกัน 6) มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร และ 7) มีกิจกรรมการยกย่องให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมการจัดการฝึก และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์ฯ พบว่ารูปแบบมีมาตราฐานในความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ซึ่งผลของการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน</p> วิรัช ตั้งประดิษฐ์ วินัย ทองมั่น วรกฤต เถื่อนช้าง Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 319 336 10.14456/jra.2024.50 การประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/266009 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของหลักอิทธิบาทธรรมกับการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และ 3) เสนอแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0. 966 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 395 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักอิทธิบาทธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางในการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้แก่ 3.1) ควรเตือนให้ประชาชนพอใจการหลีกเลี่ยงไปในพื้นที่เสี่ยง ควรกระตุ้นให้ประชาชนตั้งใจสวมหน้ากากผ้าป้องกัน 3.2) ควรแจ้งให้ประชาชนตั้งใจที่จะไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ควรกระตุ้นให้ประชาชนหมั่นประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ 3.3) ควรกำหนดให้หน่วยงานในพื้นที่ตั้งใจกำหนดเส้นทางเข้าออกพื้นที่ ควรแจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่หมั่นจัดให้มีระยะห่างระหว่างบุคคล และ 3.4) ควรหมั่นกำชับให้มีมาตรการติดตามข้อมูลของสถานที่ที่มีประชาชนรวมตัวกัน ควรหมั่นส่งเสริมให้สถานที่ที่มีประชาชนรวมตัวกันจัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม</p> นุกูล ไกรกาศ พระครูนิวิฐศีลขันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 337 354 10.14456/jra.2024.51 การพัฒนามาตรการทางกฎหมายการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัทประกันภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/269582 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหา แนวคิด ทฤษฎี การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวกับบริษัทประกันภัย 2) ศึกษาองค์กรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัทประกันภัย และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัทประกันภัย วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) อาชญากรรมด้านไซเบอร์เกิดขึ้นเริ่มมีการพัฒนาใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตในประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ปัญหาภัยไซเบอร์ในธุรกิจประกันภัยเกิดจากอาชญากรไซเบอร์หรือความผิดพลาดทุจริตของบุคลากรของบริษัทประกันภัยและกลุ่มเครือข่ายในธุรกิจประกันภัย แนวคิดหลักการมาตรการทางกฎหมาย หลักการมาตรการทางจริยธรรม และแนวคิดรูปแบบระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบนพื้นฐานความไว้วางใจเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นระบบสถาปัตยกรรมที่มีขั้นตอนการตรวจสอบการเข้าระบบอย่างเข้มงวด นำมาใช้บูรณาการเป็นแนวทางการพัฒนาเรื่องนี้ได้ 2) กฎหมายการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัทประกันภัย พบว่า มีกฎหมายและยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย 6 องค์กร และ 3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แก้ไขเพิ่มเติมประกาศให้สอดคล้องกับการกำกับบริษัทประกันภัย และออกประกาศใหม่ใช้กำกับควบคุมตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัย อย่างเข้มงวดบนพื้นฐานความไว้วางใจเป็นศูนย์ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย 6 องค์กร กำหนดนโยบาย แผนงาน กฎ ระเบียบ กติกา บริหารจัดการ การอบรม การตรวจสอบภายใน บริษัทและตัวบุคคลร่วมกันอย่างเข้มงวดบนพื้นฐานความไว้วางใจเป็นศูนย์</p> ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 355 372 10.14456/jra.2024.52 ปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/261765 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปฏิรูปเทสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาเถรวาท ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงความหมายของปฏิรูปเทส ปฏิรูปเทสวาสที่ปรากฏในพระไตร ปิฎก ลักษณะและองค์ประกอบของการอยู่ในปฏิรูปเทส ความสำคัญของการอยู่ในปฏิรูปเทส การอยู่ในปฏิรูปเทสในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หลักปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกล่าว คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์มีอัตภาพที่สมบูรณ์เบื้องต้นและประเด็นต่อไป คือ การได้อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมภายนอก ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมการปฏิบัติธรรมดังนี้ 1) มีศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมโดยอิงหลักสังคหวัตถุ 4 2) มีระบบด้านการศึกษาที่ดี 3) มีอาชีพที่สุจริตมั่นคงอิงหลักฆราวาสธรรม 4 4) มีศาสนาประกาศสัจจธรรม และ 5) มีผู้ทรงศีลผู้ทรงธรรมผู้ทรงวิทยาคุณ หากไม่ได้เกิดในปฏิรูปเทสแล้วจะทำให้ไม่ได้รับการศึกษา ความเป็นอยู่ไม่ดี การปฏิบัติธรรมก็เนิ่นช้า</p> พระกฤษฎา สุเมโธ (สารนอก) ศิริโรจน์ นามเสนา Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 373 388 10.14456/jra.2024.53 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1: การทบทวนวรรณกรรมแบบบรรยาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/264760 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 และ 2) สังเคราะห์การจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเน้นในเรื่องของการช่วยกระตุ้นการรับรู้และความทรงจำ การบำบัดอารมณ์ และการเห็นคุณค่าในตนเอง และหลังจากการใช้กิจกรรมศิลปะนั้นจะช่วยฝึกระบบประสาทและสมอง ลดความเครียด ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เกิดความภูมิใจในตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น ส่วนการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 หรือ REST ซึ่งเป็นผลมาจากการสังเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1) R: Recognition &amp; Memory Stimulating เป็นการกระตุ้นการรับรู้ และความทรงจำ 2) E: Emotional Learning เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางอารมณ์และสังคม 3) S: Self-Esteem Rising เป็นการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และ 4) T: Time &amp; Test มีการใช้เวลาทำกิจกรรม 1 ชั่วโมง-1 ชั่วโมง 30 นาที เป็นประจำและผู้ร่วมกิจกรรมมีการสำรวจตัวเองหลังจากทำกิจกรรม</p> กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว ขนบพร แสงวณิช Copyright (c) 2024 วารสารวิจยวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-01 2024-03-01 7 2 389 406 10.14456/jra.2024.54