Post Globalization Higher Education

Authors

  • รศ.ดร. พระครูสนุทรธรรมโสภณ

Abstract

                  คำว่ายุคต่าง ๆ มีการพูดถึงกันแวดวง วิชาการไม่ว่าจะเป็นยุคอุตสาหกรรม ยุค อุตสาหกรรมใหม่ ยุคสารสนเทศและข่าวสาร ข้อมูล และคำว่ายุคกระโลกาภิวัตน์ ความจริง คำว่า กระแสโลกาภิวัติน์ ได้นำมาใช้โดยนัก เศรษฐศาสตร์ คำว่า กระแสโลกาภิวัตน์ เป็น ผลรวมมาจากการพัฒนา การติดต่อสื่อสาร การคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจ การเมืองสังคมวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยง สัมพันธ์ สะท้อนความเป็นปัจจัยาการทั้งจาก ปัจเจกบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยทางธุรกิจ และภารัฐ และคำว่า โลกาภวิัตน์ (Globalization) ได้นำมาใช้ตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 1960 แต่ไม่ค่อย เป็นที่สนใจของผู้คนมากนัก ต่อมาในทศวรรษที่ 1980 จึงเป็นทีสนใจและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เข้ามาในสังคมไทยมีแสดงอาการงง ๆ กันอยู่ พักใหญ่ว่ามันคืออะไร เพราะเรางงกับสภาพ ความเป็นจริงที่กำลังเผชิญอยู่ เป็นภาวะที่เห็น แต่ไม่รู้ คือไม่รู้ว่ามันคืออะไร นักวิชาการไทย ไม่รู้แปลมันว่าอย่างไร คำแปลแรกที่แปลกันนั้น ผู้เขียนเห็นด้วยและเห็นว่ามันตรงกับคนไทย เหมาะสมกับคนไทย เหมะสมกับินสัยคนไทยดี คือแปลของคำว่า Globalization ว่า โลกานุวัตร แปลว่า วิ่งตามกระแส วิ่งตามข้อมูล เพราะ ความเป็นจริงทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการจำฝรั่งมาพูดมันดูดีมันทำให้ขลังทำให้ดศูกัดสิ์ทิธดิี์ แต่อย่างไรก็ตามบทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นบทคามเชิงวิพากย์วิชาการโปรดได้ใช้ พิจารณาญาณในการอ่าน หวังว่าสังคมวิชาการคงมีคนอ่านที่ใจ๋กว้าง ให้สมกับเป็นนักอ่าน สมกับเป็นนักวิชาการในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ คือมีภูมิต้านทานต่อกระแสของข่าวสารข้อมูล ที่ไหลมาพร้อมกระแสโลกาภิวัตน์

Author Biography

รศ.ดร. พระครูสนุทรธรรมโสภณ

เจ้าคณะอำเภอบางเลน (ธรรมยุต) จังหวัดนครปฐม

Downloads

Published

2017-06-29

Issue

Section

Research Articles