บทบาทการวิจัยกับการสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคต
Abstract
การวิจัย (Research) เป็นการสร้าง องค์ความรู้ใหม่ เป็นการแสวงหาความรู้ และเป็นกระบวนการเรียนรู้คำว่าการวิจัยเป็นไวพจน์ ของ ปัญญา เพราะการวิจัยทำให้เกิดปัญญา การวิจัยเป็นการพัฒนาปัญญาและปัญญาพัฒนา สู่ความเป็นโพธิ พระพุทธศาสนาใช้ปัญญาเพื่อ บรรลุปัญญา คือปัญญาขั้นทำงานให้บรรลุผล เป็นปัญญาที่เรียกว่าวิจัย เมื่อวิจัยไปก็เกิด ปัญญา และปัญญานำไปสู่ความเป็นโพธิ
ในการวิจัยนั้น ไม่เพียงคำนึกถึงเพียงแค่ ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) หรือการออกแบบวิจัย (Research Design) แตต้องมาจากวิธีคิดีหรือมาจากหลักความคิดที่ถูกต้อง มีท่าทีทางความคิดที่มีต่อการแสวงหา ความรู้ คือมีความคิด ความเชื่อหรือวิธีคิด มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งและสรรพศาสตร์ทั้งหลาย ต้องมีเหตุผล มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งมีภาวะ ๕ อย่างคือ ๑) ความเชื่อ ๒) ความนิยม ชมชอบ ๓) การเล่า เรียนต่อ ๆ กันมา ๔) การคิดตรองตามเหตุผล ๕) สิ่งนี้เข้ากันได้กับหลักทฤษฎีของตน สิ่งนี้อาจมองเป็นสองนัยยะ เราจะต้องไม่ลงความตัดสินอะไรง่าย ๆ ไม่ลงความเห็นก่อน ต้องผ่าน กระบวนการแสวงหาความจริง การสืบค้นหา ความจริง
” วิจัยเวเทสิโตภกิขฺเวมยาธมโฺม. แปลว่าธรรมนั้นเรามาแสดงไว้โดยการวิจัย ๑ พระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิจัยตามพุทธพจน์ว่า พึงวิจัยธรรมโดยแยบคายโยนเสวิจเน ธมฺม ๒ ในที่นี้วิจัยแปลว่าเฟ้นการค้นหา หรือการสืบค้น เพื่อที่จะเอาสิ่งที่ต้องการให้ได้ หมายถึง การเที่ยวสอดส่าย เที่ยวสอดส่อง ทำให้เจอสิ่ง ที่ต้องการการขุดคุ้ยการค้นการตรวจสอบ การพิสูจน์ทำความจริงให้ปรากฏ การเข้าหา ความจริงให้ได้ หรืการกระทำให้เกิดความดี ให้ได้
การวิจัย คือการค้นหาความจริงการแสวงหาให้เจอความจริง การหาความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น และการวิจัยยังหมายถึง การค้นหาสิ่งที่ดีกว่า การค้นหาสิ่งที่พึ่งประสงค์ การแสวงหาสิ่งที่คุ้มค่าหรือการแสวงหา ประโยชน์ตามที่ต้องการหากไม่ดีจะหาทาง ทำให้ดีขึ้น หาวิธีการให้ได้ผลิตามที่ต้องการหากกล่าวโดยฐานคิดแล้ว การวิจัยคือการแสวงหาความจริง การค้าหาสิ่งที่ดี สิ่งที่ต้องการที่เป็นประโยชน์ การค้นหาหรือวิธีการ ทำให้มันดีขึ้น หาวิธีที่กระทำให้มันสำเร็จหรือมีการตั้งสมมุติฐาน สิ่งสงสัยคาดคำตอบไว้ การวิจัยคือการค้นหาความจริงหรือข้อเท็จจริง เพื่อจะนำมาตอบปัญหาที่ตั้งไว้ ๓ หรือกี่ี่ารค้นหา คำตอบที่สงสัย่อยากรู้การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้างหรือมีเงื่อนไขปัจจัย อะไรบ้างที่เกื้อหนุนให้ปรากฏการณ์เกิดขึ้นนี้ เป็นภาระที่นักวิจัยจะต้องค้นหาให้พบสาเหตุ หรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ๔ และการค้นหานั้นต้องระเบียบระบบมีขั้นตอนที่ดี ที่น่าเชื่อถือที่เรียกว่าระเบียบวิธีวิจัย
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว