การพัฒนามนุษย์ตามแนวภาวนา ๔

Authors

  • ภาษิต สุขวรรณดี

Keywords:

การพัฒนา, มนุษย์, ภาวนา ๔, การพัฒนามนุษย์ตามแนวภาวนา ๔

Abstract

            ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวพุทธศาสนา ๔ ด้าน การพัฒนาทาง พุทธศาสนา เรียกว่า ภาวนา ๔ หมายถึง กระบวนการสร้างหรือทำให้เกิดให้มีขึ้น ส่วนบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านการขัดเกลาพัฒนาแล้ว คือผู้ที่ผ่านขบวนการพัฒนา ดังนี้
            ๑) กายภาวนา หมายถึง การพัฒนากาย ฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อสัมพันธ์กับโลก ภาย นอกทั้งด้ายกายภาพ และชีวภาพด้วยดี มิให้เกิดโทษ มีประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม บำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์ มิให้อกุศลเกิด
            ๒) ศีลภาวนา หมายถึง การพัฒนา พฤติกรรมของปัจเจกบุคคล การพัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ถูกต้องสอดคล้อง กับระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ตลอดถึงขนบธรรมเนียม จารตีวิถีและมารยาท สากลนิยม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ประกอบ อาชีพที่สจุรติ ใช้ชีวิตถูกต้อง และขยันหมั่นเพียร สร้างผลผลิต (product) ให้เพิ่มขึ้นโดยสุจริต ในการประกอบอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา) รู้จัก ฉลาดอดออม (save) ทรัพย์สินที่หามาได้ ด้วยมาตรการต่าง ๆ (อารักขสัมปทา)
            ๓) จิตตภาวนา หมายถึง การพัฒนาจิตการฝึกอบรมจิตการข่มอารมณ์ความรู้สึกให้ได้ มีความเจริญงอกงามทางอารมณ์ (Emotional growth) การที่จิตที่ฝึกอารมณด์แล้วนำความสุข มาให้จิตที่มีคุณภาพประกอบด้วยคุณธรรม ตามหลักศาสนา มีสมาธิ มีสติมั่นคง ใช้งานได้ดี เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น
            ๔) ปัญญาภาวนา หมายถึง การพัฒนา ปัญญา การฝึกอมรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริง รู้เท่าทีันเข้าใจโลก และชีวัตตามสภาวะ เป็นการไตรต่รองวินิจฉัยเหตุการณ์ ตามความเป็นจริง เป็นอิสระ ไม่ตามกิเลส รู้และเข้าใจอะไรตามความเป็นจริง
             การพัฒนามนุษย์ตามแนวภาวนา ๔ จะสามารถเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา มนุษย์ตามแนวพุทธศาสนา คือการพัฒนาให้เกิดปัญญาซึ่งมีวิธีการเพื่อบรรลุถึงจุดหมาย สูงสุดของพุทธศาสนา คือการหลุดพ้น

Author Biography

ภาษิต สุขวรรณดี

สาขาวิชาพทุธศาสน์ศึกษา
bhasitsukhawandee@gmail.com

Downloads

Published

2016-06-29

Issue

Section

Academic Article