การศึกษาไทย เน้นคุณธรรมจริยธรรม ?

Authors

  • พระมหาประสิทธิ์ ปสิทฺโธ

Abstract

          ผู้เขียนได้คลกุคลีกับการทำ มคอ.๓ เมื่อได้ เข้ามารับหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษา อังกฤษ ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย การกรอกข้อมูล ใน มคอ.๓ นั้น (งานกระดาษตามระบบประกัน คุณภาพการศึกษา) เป็นงานหลักของคุณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา หมวดที่ ๔ ว่าด้วย การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา มีข้อหนึ่ง ในหลาย ๆ ข้อันั้น คือการกล่าวถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในวิชาที่อาจารย์ผู้สอนต้องมีการสอดแทรกเข้าไปด้วย ประเด็นนี้ทำให้มีคำถาม ที่หลายคนอยากรู้คำตอบอย่างมากว่า คุณธรรม จริยธรรม จะต้องรอให้เรียนในระดับชั้นอดุมศึกษา เลยหรือหรือว่าเป็นเรื่องที่ควรต้องจัดการเรียน การสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษามาแล้ว (นพดล ปกรณ์นิมิตดี) เพราะปัจจุบันนี้ มีความก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยม การแข่งขัน การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสังคม ทำให้คุณธรรมจริยธรรม อันเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในสังคมลดลงไป อย่างมาก เยาวชนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับการแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพ
         การศึกษาและปลูก ฝังคุณ ธรรมจริยธรรม อันดีงาม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการหล่อหลอม ขัดเกลาจิตใจของเยาวชนไทยให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะ เป็นความหวังอันจะนำไปสููู่่่การพัฒนาประเทศ ชาติในอนาคต (ช่อเอื้อง ฤกษ์รุจิพมิล)
          ดังที่ประชาชนคนไทยได้เห็นข่าวใหญ่ ตามสื่อในห้วงเวลาที่ผ่านมากรณีคุณหมอที่ได้ ทุนการศึกษาแล้วไม่จ่ายเงินคืนแก่รัฐบาล จะว่า เป็นผลผลิตของการศึกษาไทยในอดีตที่ยังไม่มี มคอ.๓ ที่ทำให้คุณาจารย์ปวดหัวเล่น แต่ทกคุน ก็น่าจะคิดเห็นตรงกันว่า คุณธรรมและจริยธรรม ควรที่จะปลูกฝังและสอนให้กับเด็ก หรือเยาวชน ของชาติไทยมาตั้งแต่เล็ก ๆ แล้ว ระบบการศึกษาไทยที่คุณครูมีภารกิจที่มากกว่าการสอน หนังสือและการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับตนเอง แต่เพียงอย่างเดี่ยว ทำให้ยากที่คุณครูจะมา สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม การสอนคุณธรรม จริยธรรม จึงอาจปรากฏได้เพียงในวิชาพุทธศาสนา เฉกเช่นที่ตัวผู้เขียนเคยเรียนในสมัยเด็ก ๆ และกำลังได้พยายามส่งเสริมให้แก่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรมในปัจจุบัน (โดยผ่านทาง การสอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน รวมทั้งหลักสูตร ธรรมศึกษา) ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณาจารย์ในสถาบันอดุมศึกษา การสอนนักศึกษาให้ครบถ้วนตาม คำอธิบายรายวิชา ประกอบกับการกำหนดพันธกิจ การสอน ที่บางสถาบันให้ความใส่ใจกับจำนวน พันธกิจการสอนของอาจารย์ จึงทำให้อาจารย์ ไม่มีเวลาเอาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมาสอดแทรก ในบทเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหา เพราะต้องการสอนให้ครบตามเนื้อหาคำอธิบายรายวิชา

Author Biography

พระมหาประสิทธิ์ ปสิทฺโธ

อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการสอนภาษาองักฤษ

Downloads

Published

2016-06-29

Issue

Section

Academic Article