มารยาท

Authors

  • นางสาวฉัชศุภางค์ สารมาศ

Abstract

มารยาททางสังคมอะไรบ้างนะ ที่เราควรจะทำ ?
              เจอข้อความที่เขียนโพสต์ในเฟสบุค ” มารยาททางสังคมเสื่อม “ รู้สึกใจหาย คิดและตรึกตรอง นำมาเปรียบเทียบในยุคสมัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา สิ่งดีงามในสังคมมีเยอะแยะ ประเพณี วัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทยที่ถ่ายทอดจากรุ่น สู่รุ่นมีมากมาย และเป็นสิ่งล้ำค่า แต่ทำไมคนไทย ลืมรากเหง้าของตนเอง มองแตค่านิยมของต่างชาติ ได้โปรดหันกลับมามองตนเองสักนิด สิ่งใดที่ดี มีค่าก็ควรจะนำมาใช้ ถ่ายทอดสู่ประชาคมโลก ดังเช่นเรื่องที่จะกล่าวต่อไป คือมารยาท
              มารยาท หมายถึง กริยา วาจาที่สุภาพ เรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมี ระเบียบแบบแผน อัน เหมาะสมตามกาลเทศะ
              ขอบข่าย มารยาทไทย มารยาทไทย เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็น ไทยไม่ว่าจะเป็น การไหว้การพูดจา วิธีการเรียกคนอื่น ๆ ในสังคม เช่น เราเรียกแม่ค้า ขายส้มตำว่า ป้า แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของ คนไทยที่ไม่สามารถหาได้ในชาติอื่นๆ และสังคม ที่ใกล้ชิดของคนไทย นอกจากนั้นมารยาทไทย ยังครอบคลุมถึงกริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกริยาอาการการรับประทานอาหาร การให้และรับบริการการทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติ ปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
              ปัจจุบันด้วยพิษของโลกาภิวัตน์และโลกของการแข่งขันและการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่แย่งเวลาในการที่จะ ปลูกฝังสิ่งดีงามเหล่านี้ไป เกิดการหลงลืมคำว่า ” มารยาท “ และได้เกิดการทำสิ่งต่าง ๆ ที่ยึดตนเอง เป็นหลักโดยไม่ได้คำนึงถึงคนในสังคมรอบข้างว่า เขาจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตนเองกระทำ กล่าวง่าย ๆ ว่า ” ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะไม่ใช่เรื่อง ของเรา เรื่องของเรา คือเราต้องสบาย ต้องได้ ไม่ต้องเสีย หรือต้องสำเร็จ “ จึงทำให้สังคม เกิดความสับสนว่า ” สิ่งใดควรทำและสิ่งใด ไม่ควรทำ “ ” สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม “ ”สิ่งใดถูกกาลเทศะหรือไม่ถูกกาลเทศะ“ บางคน ก็กล่าวไปจนถึงการมีสมบัติผู้ดี จึงทำให้เกิด ความขัดแย้งกันในสังคม ความอคติต่อกัน ทำลายบรรยากาศดี ๆ ของการอยู่ร่วมกันใน สังคม ทำให้สังคมรอบข้างไม่น่าอยู่ แต่ถ้า ทุกคนหันมาปรับปรุงบรรยากาศที่ดีในสังคม ตั้งแต่หน่วยเล็กจนถึงหน่วยใหญ่ที่สุด จะทำให้สังคมนั้น ๆ น่าอยู่มากขึ้น จะพบกับความถอ้ยที่ถอ้ยอาศัยน้ำใจที่เอื้ออาทรกันและกัน การช่วยกัน ร่วมมือกันทำงาน และเกิดความสุขในการอยู่ ร่วมกันในครอบครัวและการทำงาน ดังนั้น มาช่วยกันทำสิ่งที่หายไปนั้น กลับคนืมาสู่สังคมไทยกันเถอะ นั่นคือ ” มารยาท ทางสังคม “ ที่ดูเหมือนสิ่งที่ดูเล็กน้อย แต่มี ความสำคัญที่ทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมเราน่าอยู่ เพราะบุคคลเรานอกจากจะมีความสามารถในเชิงการทำงานที่ดีเยี่ยมแล้วยังต้องรู้จักรักษากริยามารยาท และจะต้อง รู้จักการสมาคมกับผู้อื่นจึงจะเป็นบุคคลที่มีเสนห่์ เพิ่มความสนใจให้กับผู้พบเห็น จึงนับได้ว่าบุคคล ผู้นั้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินชีวิตประจำวันและในการทำงาน เพราะ คนมีมารยาทันั้นไม่ได้วัดกันที่คุณจบวุฒิอะไรมา หรือมีดีกรีระดับใดหรือมีตำแหน่งหน้าที่อะไร หรือมาจากวงคต์ระกลูไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่วัดกันที่บคุลกิภาพของบุคคลที่แสดงออกมา โดยท่วงทีกริยามารยาทที่แสดงออกมาแล้ว บุคคลอื่นรอบข้างเขารับได้หรือไม่ได้ บุคคล ที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยม ชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง แต่ถ้า บุคคลนั้นมีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นผู้บังคับบัญชา หรือมีความเก่งในหน้าที่การงาน แต่ไร้มารยาท ทางสังคม บุคคลนั้นก็ไม่น่าชื่นชมหรือน่านับถือ เพราะบุคคลนั้น ยังไม่รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ ควรทำยังนึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตน หรือยึดตนเองหรือที่เรียกว่า ” อัตตา “ เป็นหลัก ยังไม่รู้จักให้เกียรติคนอื่น ลืมมองดูคนอื่นที่อยู่ รอบข้างว่า ทุกคนมีความสำคัญในสังคมไม่ว่า เขาจะอยู่ในฐานะใดในสังคมก็ตาม เขาก็มี ความเป็นมนุษย์เช่นเดี่ยวกัน จึงควรให้เกียรติ ไม่ว่าเขาจะมีฐานะด้อยกว่าตนก็ตาม หลายครั้ง ที่บุคคลเราเมื่อมีฐานะ มีหน้ามีตาในสังคมหรือมีอำนาจขึ้นมา มักจะลืมนึกถึงคนอื่นที่เขามี ความเป็นมนุษย์เช่นตนเอง ที่มีความรู้สึกและมีความต้องการเช่นกัน แต่กลับแสดงอำนาจหรือมีกริยาที่แสดงท่าทีขีม่คนอื่นเพื่อให้เขาดดู้อยกว่า ตนเอง ซึ่งดูเหมือนจะดีที่สร้างสถานการณ์ที่เหนอืกว่าบุคคลอื่นแตส่งิที่ทำไปนั้น กลับติดลบ เพราะสิ่งที่ทำไปไม่ได้ใจคนที่เห็น หรือคนที่ถูก กระทำ และบางครั้งกลับกลายเป็นการเอาคืน จึงทำให้บรรยากาศดี ๆ ที่จะทำให้การอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุขหายไป และถ้าเป็นหน่วยงาน ที่ต้องทำงานร่วมกันด้วยแล้ว ความร่วมมือในการทำงานจะหายไป ผลงานที่ได้อาจไม่ประสบ ความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งดูเหมือน ประสบความสำเร็จดี แต่ถ้ามองลึกลงไปใน รายละเอียดแล้วจริง ๆ อาจไม่ได้ประสบความสำเร็จจริง ๆ ก็ได้เพราะคนอาจทำให้ด้วยหน้าที่ตามความจำเป็น หรือทำให้เพราะกลัวอำนาจ ของผู้มีอำนาจหน้าที่เหนอืกว่า แต่ไม่ได้ใส่ใจกับงานที่ต้องทำ สิ่งที่ออกมาจึงไม่ได้มีประสิทธิภาพ อย่างที่ควรจะเป็น เป็นการทำให้ผ่าน ๆ หรือพ้น ๆ ตัวไปเท่านั้น และเมื่อวงจรนี้ยังคงอยู่ ไม่มีการปรับปรุง ผลกระทบที่สะสมนั้นสุกหง่อม ก็จะแสดง ออกมา และวันนั้นการแก้ไขก็จะยากขึ้น ส่งผลร้าย ต่อตนเอง คนรอบข้าง หน่วยงาน และสังคมที่อยู่ แต่กไมี่มอะไรที่สายเกินไปีที่เราจะหนักลับมาและเอาใจใส่กับคนรอบข้างอย่างจริงใจ ด้วยมารยาท ทางสังคมที่ดีงามให้แก่กันและกัน จะทำให้สิ่งที่ดี ๆ กลับมาสู่สังคมเรามากยิ่งขึ้น เกิดความรัก และความสามัคคีกันในสังคม

Downloads

Published

2016-06-29

Issue

Section

Academic Article