ศึกษาวิเคราะห์มนุษย์กับการปกครอง ในวรรณกรรมพระพุทธศาสนายุคล้านนา
Abstract
ทุกสังคมจะต้องมีผู้ปกครอง ทั้งนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ราษฎร เช่น ปราบปรามโจรผู้ราย ที่ทำลายความสงบสุขของประชาชน รวมทั้ง การส่งเสริมสวัสดิภาพให้แก่ประชาชนอย่างทั่วหน้า สร้างความมั่นคงและรักษาสิทธิปิระโยชน์ ทางเศรษฐกิจ คือ การช่วยให้ประชาชนมีรายได้ ดีขึ้น มีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ มีเครื่อง อุปโภคบริโภคอย่างพอเพียงกับความต้องการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชาติกล่าวคือ ต้องรักษาเอกราชของชาติให้ปลอดภัยจากการรุกรานของศัตรูภายนอก สร้างความสัมพันธ์ระหวางประเทศ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงปลอดภัย ของชาติและเพื่อความร่วมมือในทางการเมืองเศรษฐกิจ หรือกี่ี่ารศึกษา หารายได้บารุง ประเทศชาติ เช่น การเรียกเก็บภาษีจากราษฎร อย่างเป็นธรรม การค้าขายกับต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ คนในชาติ
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระนางจามเทวี พระราชธิดาแห่งกษัตริย์มอญในอาณาจักร ทวารวดีได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองในลุ่มแมน้ำปิง คือ หริภุญไชย (ลำพูน) ตามคำเชื้อเชิญของพวกมอญ พื้นเมืองที่ล้านนาพระนางได้นำอารยธรรมแบบ ทวารวดีขึ้นมาด้วยมีทั้งพระพุทธศาสนาแบบ เถรวาท โดยได้สร้างวัดไว้ ๔ มมุเมืองทำให้เมืองนี้ มีฐานเป็นจาตรุพุทธปราการ๒ และศิลปนิทุกแขนง
ในรัชกาลพระเจ้าเมืองแก้วและกษัตริย์ องค์ต่อมา พระเถระนักปราชญ์หลายท่าน เช่น พระโพธริังสีพระธรรมเสนาบดีพระญาณ กิตติพระสทัธมักติตมิหาผสุสเทวะ พระญาณ วิลาส พระสิริมังคลาจารย์ และพระรัตน ปัญญาเถระ เป็นต้น ได้แต่งวรรณกรรมบาลีไว้ หลายเรื่อง ซึ่ง ศ.สรสัวดีออ๋งสกุล ได้กล่าวไว้ว่า ” ประวัติศาสตร์แนวจารีตท้องถิ่นเกิดขึ้นใน ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และเติบโตมาก ในช่วงศตวรรษที่ ๒๑ โดยรบอิทธิพลแนวการเขียนประวัติศาสตร์จากสำนักสงฆ์ลังกา ตำนาน สำคัญที่เขียนในช่วงเวลานั้น เช่น ตำนานมูล ศาสนา จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนาน ดังกล่าวเป็นแบบอย่างต่อการเขียนงานทาง ประวัติศาสตร์สบืต่อมาอีกหลายศตวรรษ ตำนานที่เขียนในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ถือเป็นตำนานคลาสสิก “๓
บทความเรื่องนี้ ผู้เขียนเลือกนำหนังสือมาศึกษาเพิ่ิี่ยง ๓ เรื่อง คือ
๑. ตำนานมูลศาสนา พระพุทธพุกาม มหาเถระกับพระพุทธญาณเถระเป็นผู้แต่ง ตำนานมูลศาสนาแต่งขึ้นก่อนหนังสือจามเทววีงศ์ และชินกาลมาลีปกรณ์
๒. จามเทวีวงศ์ พระโพธิรังสีเป็นผู้แต่ง
๓. ชินกาลมาลีปกรณ์ พระรัตนปัญญา เถระเป็นผู้แต่ง บทความดังกล่าวศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ กับการปกครองใน ๕ ประเด็น คือ ความสัมพันธ์ระหวางคุณธรรมของผู้ปกครองกับความเจริญ รงุ่เรื่องของบ้านเมืองแนวคิดธรรมราชนิสีงคราม ธรรมยุทธ กำเนดิของกษตัรย์และความสัมพันธ์ กับพระพุทธเจ้าโดยตรงของคนโบราณ ตามลำดับ
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว