ระเบียบวิธีวิจัย ว่าด้วย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตอนที่ ๒
Abstract
(ต่อจาก ฉบับที่แล้ว)
๓.๔ การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิธีการเลือกตัวอย่างทั้ง ๓ วิธีการข้างต้นไม่สะดวกต่อการปฏิบัติจริง เช่นในกรณีนักวิจัยไม่สามารถ จัดหากรอบการเลือกตัวอย่างที่มีจำนวนและรายละเอียดเกี่ยวกับประชากรได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์และเป็นปัจจุบันก่อนการเลือกตัวอย่างนักวิจัยสามารถนำวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่มมาใช้ในสภาวะการณ์ทำวิจัยนี้ได้โดย เลือกตัวอย่างจากกรอบที่มีการเปลี่ยนแปลง หนว่ยการเลือกตัวอย่างให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกล่าว คือกำหนดให้อยู่ในรูปหมู่หรือกี่ลุ่ม (Group or Cluster) ของประชากรซึ่งประกอบด้วยตัวอย่างหลาย ๆ หน่วยย่อยรวมกันตามสภาพพื้นที่ทาง ภมูิศาสตร์หรือเขตท้องที่การปรกครองเช่น ตำบล และอำเภอ เป็นต้น แทนที่จะจัดอยู่ในรูปของ หน่วยย่อยู่แต่ละหน่วย
วิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่มสามารถ ดำเนินการได้โดยเริ่มจากเลือกกลุ่มจำนวน ในกรอบการเลือกตัวอย่างจำนวนทั้งหมด โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสมุ่อย่างง่ายหรือแบบ มีระบบ จากนั้นจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวอย่างทั้งหมด (Enumeration unit) ที่อยู่ ภายในกลุ่มตามที่เลือกไว้ แผนแบบการเลือก กลุ่มตัวอย่างลักษณะนี้เรียกว่า ” การเลือก ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ๑ ขั้นตอน “(one-state cluster sampling)เนื่องจากมีการเลือกตัวอย่างในระดับเดี่ยวคือ เป็นระดับกลุ่มเท่านั้น อย่างไร ก็ตามการเลือกตัวอย่างแบบนี้อาจมีมากกว่า หนึ่งขั้นตอนก็ได้ กล่าวคือมีการแบ่งหน่วย ตัวอย่างที่สุ่มได้ในชั้นตอนที่ ๑ ออกเป็นหน่วย ตัวอย่างในขั้นตอนที่ ๒ จากนั้นจึงทำการสุ่ม อย่างง่ายมาจำนวนหนึ่งแบบการเลือกตัวอย่างลักษณะนี้เรียกว่า ” การเลือกตัวอย่างแบบแบ่ง กลุ่ม ๒ ขั้นตอน (two-state cluster sampling) เพราะมีการเลือกตัวอย่างใน ๒ ระดับ
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังสามารถแบ่ง ตัวอย่างที่สมุ่มาได้ในขั้นที่ ๒ ออกเป็นหนว่ยย่อย ในขั้นตอนที่ ๓ จากนั้นทำการเลือกแบบสุ่มมา จำนวนหนึ่ง แล้วกระทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงหน่วยตัวอย่างในระดับเล็กที่สุดที่มีข้อมูล ตามที่ต้องการแล้วจึงยตุิการสมุ่ แผนแบบการเลือก ตัวอย่างแบบนี้เรียกว่า ” การเลือกตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน “(multi-stage cluster sampling) ดังนั้น การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการนี้จึงเป็นการเลือกหน่วยตัวอย่างจากระดับบน หรือมหภาค (macro level) ลงไปสู่ระดับล่างหรือจลุภาค (micro level) ซึ่งมีลักษณะลดหลนั่สอดแทรกกันลงมาตามลำดับ (องอาจ นยัพัฒน์ ๒๕๔๘)
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ได้ รับเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่มมีความเป็นตัวแทนที่ดีคือ หนว่ยการเลือกตัวอย่างต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกลุ่มเดี่ยวกันจะต้องมคีณุสมบัติหรือลักษณะตามตัวแปรที่ศึกษาแตกต่างกัน หรืออยู่ในภาวะวิวิธพันธ์ (Heterogeneity) แต่ละ หนว่ยการเลือกตัวอย่างที่อยระหวางกลุ่มควรมี ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกัน หรืออยู่ในภาวะ เอกพันธ์ (Homogeneity) จะเห็นว่าลักษณะ สำคัญในประเด็นี้นตรงกันข้ามปัจจัยที่เอื้อต่อการได้กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรซึ่งได้จากวิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทั้งนี้เนื่องจากเลือกตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่มจะมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับการเลือกมาเป็นแบบอย่าง
ดังนั้นถ้ามีความเป็นเอกพันธ์รุะหว่างกลุ่ม จะทำให้กลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากรย่อยอื่น ๆ และในขณะเดี่ยวกัน ถ้าหน่วยการเลือกตัวอย่างที่อยู่ภายในกลุ่มที่ได้รับเลือกดังกล่าวมีความเป็นวิวิธพันธุ์ก็จะ ทำให้คุณสมบัติหรือลักษณะของหนว่ยตัวอย่างที่ได้รับการเลือกมีความหลากหลายครอบคลุม คุณสมบัติหรือลักษณะโดยรวมของประชากร ที่ต้องการศึกษาวิจัย
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว