วัฒนธรรมไทย
Abstract
มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง แต่มนุษย์ แตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ เพราะมนุษย์ มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากสัตว์ เช่น การรู้จักทำมา หากิน รู้จักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ประดิษฐ์ สิ่งของเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพทำมาหากิน และสร้างแบบแผนในการดำเนินชีวิต จึงทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมสูงกว่าสัตว์ เจริญกว่าสัตว์ ชนิดอื่น ๆ
วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของ ตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพชิติอย่างราบคาบและสิ้นเชิง เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชมชุน เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่า คนมีความแตกต่างจากสัตว์ช่วยให้เรา เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมาย ของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของ กลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอด วัฒนธรรมเช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อชาวไทยมองเห็น เหมือนรูปกระต่าย เป็นต้น วัฒนธรรมเป็นตัว กำหนดปัจจัย ๔ เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและการรักษาโรค วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนด การแสดงความรู้สึกทางอารมณ์และการควบคุม อารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหล ต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ เป็นตัวกำหนด การกระทำบางอย่างในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมีหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแตไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมีหนึ่ง
วัฒนธรรมเกิด จากการเรียนรู้การสร้างสม การสืบต่อ และการถ่ายทอด วัฒนธรรมมีการเกิด การเจริญเติบโตการเปลี่ยนแปลง การเสื่อมสลาย เช่นเดี่ยวกับชีวิตคนและสัตว์ แต่อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป หรือพัฒนาการนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์โดยแต่ละสังคม ย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนมากเพียงใด ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้น ในแต่ละสังคม อาจมีวัฒนธรรมที่เหมือน หรือต่างกัน สืบเนื่อง มาจากความแตกต่างทางด้านความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนา และถิ่นที่อยู่ เป็นต้น
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว