ประชาธิปไตยโดยพิธีกรรม : วิถีชีวิต

Authors

  • ดร. กรุณา มธุลาภรังสรรค์

Abstract

           นักรัฐศาสตร์กล่าวกันว่า การปกครอง แบบประชาธปิไตยไม่ใช้เป็นการปกครองที่ดีทีสุด แต่เป็นระบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด เพราะ เป็นระบบการปกครองที่ยึดเสียงคนส่วนใหญ่เป็นฐานในการดำเนินการในระบบ โดยการยึดเสียงของคนส่วนใหญ่คนส่วนมากของ ประเทศนั้น จะมีระบบตัวแทน มีการเลือกแทน ซึ่งอาจมีรูปแบบ วิธีการเลือกตัวแทนที่แตกต่าง กันไป แล้วแต่ละประเทศ ทั้งนี้จะต้องให้ยึดโยง กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ รับฟังคนส่วนใหญ่ของประเทศ ระบบ กลไกการรับฟังความคิดเห็น ของคนส่วนใหญ่มีระบบและกลไกใดในการที่นำเอาความคิดเห็น นำเอาความต้องการของ คนส่วนใหญ่มาสู่การปฏิบัติให้ได้
           ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองหรือการปกครองที่เป็นอุดมคติและปรัชญา ในการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์และในฐานะ ที่เป็นวิถีชีวิต ประชาธิปไตยที่ใช้อยู่ในหลาย ประเทศทุกวันนี้ เป็นประชาธิปไตยโดยอ้อม (Indirect Democracy) ซึ่งเป็นการปกครอง โดยฝ่ายทางผู้แทนของประชาชน ซึ่งเราเรียกว่า ประชาธิปไตยโดยเสรีหรือเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือประชาธิปไตย ตะวันตก (Western Democracy)
ประชาธิปไตย : โดยพิธีกรรม
           พิธีกรรม คือผลรวมของการกระทำอะไรที่ทำซ้ำ ๆ กันโดยมีหลักของอุดมการณ์ บางอย่างกำกับอยู่เบื้องหลัง รวมถึงการทำหรือกล่าวอะไรบ้างอย่างซึ่งอาจไม่ได้เกิด เป็นประจำ แต่ก็ทำหรือกล่าวตามสูตรตายตัว โดยผู้กระทำหรือกล่าวอาจไม่รู้หรือสนใจจะรู้ ความหมายหรือเป็นผู้ให้ความหมายเองก็ได้
           การเลือกตั้งเป็นพิธีกรรมของระบอบ ประชาธิปไตย เป็นพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ด้วย เพราะพิธีกรรมเลือกตั้งถูกกำกับด้วยหลักสำคัญในอุดมการณ์ประชาธิปไตย สองอย่างหนึ่งคือความเสมอภาค และสองคือสิทธิในการปกครอง ตนเอง พิธีกรรม เลือกตั้งให้สิทธิเท่าเทียมแกทุกคน โดยเสมอหน้า หนึ่งคนไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ว่า มีอำนาจหรือไร้อำนาจ ย่อมมีหนึ่งเสียงเหมือนกัน พิธีกรรมเลือกตั้งจึงค่อยตอกย้ำแก่ผู้ปกครอง ว่า หากสภาอุตสาหกรรมเดือดร้อนและร้องเรียน เรื่องค่าเงินบาทได้ ชาวนาขาดน้ำ ฯลฯ ก็มีสิทธิ ร้องเรียนความเดือดร้อนของตนได้เท่ากัน ยิ่งกว่านั้นหากพิธีกรรมเลือกตั้งได้ทำกันสมำเสมอ ในที่สุดผู้ปกครองก็ต้องตอบสนองต่อคน มีอำนาจและไร้อำนาจอย่างจริงจังเท่าทียม กันด้วย หากพิธีกรรมเลือกตั้งไม่ตอกย้ำผู้ปกครอง ถึงความเสมอภาค ที่สำคัญกว่าคือตอกย้ำ ประชาชนผู้เลือกตั้งถึงหลักความเสมอภาค พิธีกรรมเลือกตั้งยังถูกกำกับด้วยอุดมการณ์ สิทธิในการปกครองตนเอง ทุกคนที่เข้าคูหาต่างรู้ว่าผลจากการเลือกตั้งย่อมกำหนดว่าใครจะได้
          การเลือกตั้งเป็นประชาธปิไตยโดยรูปแบบ ซึ่งมีการเลือกตั้งตัวแทนในการไปทำหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของการทำหน้าที่ในฐานะ ของตัวแทน เลือกตั้งผ่านไปแล้วเป็นอันพอแล้ว เขาจะทำหน้าที่อย่างไรแล้วแต่ ประชาชาชน ถือว่าได้ทำหน้าที่ของตนผ่านไป นี้ยึดรูปแบบ ยึดพิธีกรรมในการเลือกตั้งมีรูปแบบการเลือกตั้งแบ่งเขต เรียงเบอร์พวงใหญ่พวงเล็ก แบบสภาล่าง สภาบน หรือที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และสภาร่วมเรียกว่า รัฐสภา ซึ่งมีความแตกต่าง หลากหลายตามแต่ประเทศนั้น ๆ จะเลือก
           การเลือกตั้งนั้นอาจเป็นเพียงรูปแบบ ประชาธิปไตยโดยพิธีกรรม เมื่อการเลือกตั้ง ผ่านไปแล้วเป็นอันจบกัน มีการเลือกตั้งก็ถือว่า เป็นประชาธปิไตยแล้ว มีการเลือกตั้งแล้ว มีตัวแทน ในการทำหน้าที่แล้ว แต่ไม่คำนึงถึงคุณภาพของ การเลือกตั้งไม่คำนึงถึงคุณภาพของการเลือกตั้งคุณภาพสิทธิ์และคุณภาพของการใช้สิทธิ์

Downloads

Published

2016-10-28

Issue

Section

Academic Article