Sustainable Development

Authors

  • ดร.บานชื่น นักการเรียน
  • Dr.Pensri Bangbon

Abstract

              ปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วทั้งด้านบวกและลบ ดังนั้นมนุษย์ชาติ ควรที่จะสร้างความตระหนี่กในการปฏิบัติตน และสร้างความเข้าใจถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงไป ของโลกภายนอก แนวคิดการพัฒนาทียั่งยืน จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในกระแสการพัฒนา สังคมโลกันบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เริ่มตั้งแต่ สหประชาชาติจึงได้จัดให้มีการประชุมสุดยอด ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศ สวีเดน ซึ่งเรียกร้องให้ทั่วโลูกค้านึงถึงการใช้ ทรัพยากรที่มีอยอู่ย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๖ สหประชาชาติได้จัดตั้งสมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development) หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่า ” Brundtland Commission “ ได้เรียกร้อง ให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับ ข้อจำกัดของธรรมชาติรวมทั้งได้เสนอว่า มนุษย์ชาติสามารถที่จะทำให้เกิด ” การพัฒนา ที่ยั่งยืน “ ขึ้นมาได้ คำว่าการพัฒนาทียั่งยืน เป็นการสื่อถึงคนเรายุคปัจจุบันและคนรุ่นต่อไป ในอนาคตด้วย เป็นการพัฒนาท่ามกลางกระแส โลกาภวิัตน์ (Globalization) ที่ก้าวไปกับระบบ เทคโนโลยี และกลไกของการตลาด อันก่อเกิดการแสวงหาอำนาจเพื่อครอบงำผลประโยชน์ของอีกฝ่ายในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นประชาสังคม(Civil Society) หรือ รัฐประชาชาติ (Nation State) แต่การเข้ามามีอิทธิพลนั้นชาวโลกก็ยังต้องการระบบบริหารแบบ Good Governance อยู่ดี
ความหมายของการพัฒนาทียั่งยื่น
           พระธรรมปิฎก (๒๕๓๙) การพัฒนาทียั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สนองตอบความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่กระทบ กระเทื่อนความสามารถของคนรุ่นต่อไปในการที่จะสนองตอบความต้องการของเขาเอง
           คณะกรรมาธิการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (๒๕๔๖) การพัฒนาที่ยั่งยืน คือรูปแบบการพัฒนาที่คอยตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันโดยไม่มี ข้อผ่านปรนใดๆ กับความต้องการที่จำเป็นที่คอยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ใน อนาคตด้วย
           นิรันดร์  จงวุฒิเวศย์ (๒๕๔๙) การพัฒนา ที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาเพื่อตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานของคน ทั้งยุคปัจจุบัน และยุคต่อ ๆ ไป และสร้างความสมุดลุระหวาง การพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
           ไพฑูรย์ พงศะบุตร (๒๕๔๔) การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การอนรกัุษ์และการใช้ทรัพยากร อย่างพอดีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ใช้ต่อไปได้ ในระยะยาวและมีการกระจายผลประโยชน์ ให้แก่คนส่วนใหญ่รวมทั้งความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหวางผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย
          สันติ   บางอ้อ (๒๕๔๖) การพัฒนาทียั่งยืน หมายถึง การพัฒนาทีสนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปใน อนาคต ต้องประนีประนอม ยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของ ตนเอง
          สรุปการพัฒนาทียั่งยืน คือ เป็นการพัฒนา ที่ก่อให้เกิดความสมดุลหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันในระหวางมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองวัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้งทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นองค์ประกอบ ที่จะรวมกัน หรือองค์รวมในการทำให้ชีวิตมนุษย์ สามารถอยู่ดีมีสุขได้ทั้งสำหรับคนในรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นอนาคต
หลักการสําคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน
         หลักการสำคัญของการพัฒนาทียั่งยืน คือ การสร้างสมุดลระหว่าง ๓ มิติของการพัฒนา อันได้แก่ ๑) มติการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งเป็น การพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ กระจายรายได้ให้เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำ ๒) มิติการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนซึ่งเป็น การพัฒนาคนให้มีความรู้มีสมรรถนะ และมี ผลิตภาพสูงขึ้น ส่งเสริมให้เกิดสังคมที่มคีณุภาพ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ๓) มิติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่ระบบนิเวศสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ การปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมในระดับที่ระบบนิเวศสามารถดูดซับและทำลายมลพิษนั้นได้ โดยให้สามารถผลิตมาทดแทนทรัพยากร ประเภท ที่ใช้แล้วหมดไปได้

Downloads

Published

2016-10-28

Issue

Section

Academic Article