Study of consultant teacher duty’s action condition in Student’s activities development department, Kamphaengphet College of Agriculture and Technology
Keywords:
action condition, consultant teacher duty’s action, consultant teacher’s personality, student active monitoringAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา และเปรียบเทียบ สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กําแพงเพชร ใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษา 2) ด้านบุคลิกภาพของครูที่ปรึกษา 3) ด้านการติดตามผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา จํานวน 34 คน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จํานวน 232 คน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จํานวน 66 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 332 คนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบตรวจสอบรายการ และ แบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที (t-test Independent ) ผลการศึกษาพบว่า
1. ศึกษาสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีกําแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับ มาก เรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษา รองลงมาคือด้าน บุคลิกภาพของครูที่ปรึกษา และด้านการติดตามผู้เรียน ตามลําดับ
2. การเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกําแพงเพชร จําแนกตามสถานภาพครู และนักเรียนนักศึกษาในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการปฏิบัติหน้าที่ ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกําแพงเพชร ด้าน บุคลิกภาพของครูที่ปรึกษาและด้านการติดตามผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิต
3. การเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกําแพงเพชร จําแนกตามครูที่ปรึกษาระดับชั้น ในภาพรวมและรายด้าน ด้านการ ปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษา ด้านบุคลิกภาพของครูที่ปรึกษา และด้านการติดตามผู้เรียน ไม่แตกต่างกัน
4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกําแพงเพชรพบว่า ให้มีโครงการเยี่ยมบ้านภาคเรียนละ1ครั้ง โดยมีงบประมาณที่เหมาะสมชัดเจน, จัดประกวดครูที่ปรึกษาดีเด่น ประจําปี, ติดตามนักเรียน นักศึกษา ด้วยสื่อโซเชียลที่ ทันสมัย และจัดให้มีครูที่ปรึกษาห้องเรียนละ 2 คน
References
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบบริหารสถานศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึก
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551.กรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2543).ความเป็นครูตามแนวพระราชดําริ: รวบรวมพระบรมราชโววาทและพระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาวิจัยและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร คุรุสภา ลาดพร้าว.
ประจักษ์ เลขตะระโก. (2555). การศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง ต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2554. รายงาน
การวิจัย
สราวุธ เย็นเอง และอันธิกา ฟิเล. (2551). ความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ครูที่ปรึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล ปีการศึกษา 2551. รายงานการวิจัย
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว