รูปแบบการใช้หุ่นยนต์ที่ไม่แย่งงานมนุษย์ในไทยแลนด์ 4.0 ตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
หุ่นยนต์ ประเทศไทย 4.0 ทฤษฎีสามสมดุลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้หุ่นยนต์ที่ไม่แย่งงานมนุษย์ในประเทศไทย 4.0 ตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก เอกสารที่เกี่ยวข้อง และผลงานของท่านผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนา ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หุ่นยนต์ในแผนประเทศไทย 4.0 คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างวิธีการผลิตทั้งระบบในอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย จากการผลิตสินค้าธรรมดาทั่วไป เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์ จึงได้มีการนำ “หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” มาใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณได้ตามความต้องการของตลาดสากล 2) พุทธธรรมสำหรับบริหารจัดการผลิตและใช้งานหุ่นยนต์ คือ สัมมาทิฏฐิเป็นองค์ธรรมหนึ่งในแปดของอริยมรรคที่ถูกตีความและสังเคราะห์เป็นทฤษฎีสามสมดุล ทำให้เห็นทางออกของปัญหาหุ่นยนต์แย่งงานมนุษย์ให้กลายเป็นโอกาสในการใช้หุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งเสริมให้มนุษย์มีงานทำอย่างเหมาะสมด้วยตามทฤษฎีสามสมดุล 3) รูปแบบการใช้หุ่นยนต์ที่ไม่แย่งงานมนุษย์ในประเทศไทย 4.0 ตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการผลิตและใช้หุ่นยนต์ให้ได้ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของทั้งผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภคหรือลูกจ้างแรงงาน และสังคมโดยรวมตามทฤษฎีสามสมดุลที่ส่งเสริมให้เกิดความเกื้อกูลกับในสังคม และเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่เป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต จากการมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสะสมความมั่งแบบปัจเจกชนและแยกส่วน ไปเป็นเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อความมั่งคั่งของปัจเจกชนในระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์แบบควอนตัม”
References
เคลาส์ ชวาบ. (2561). “ทางรอดแห่งโลกใบใหม่ แห่ง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่”. แปลโดย ศรรวริศา เมฆไพบูลย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาร์ติน ฟอร์ด. (2561). “หุ่นยนต์ผงาด : เทคโนโลยีและภัยแห่งอนาคตที่ไร้งาน”. แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล, กรุงเทพมหานคร : ซอลท์ พับลิชชิ่ง.
ลีลาภรณ์ บัวสาย. (2548). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. กรุงเทพมหานคร : สกว.
สมเกียรติ ไชยภูมิ. (2558). “รูปแบบความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัตยา นาเดลลา. (2559). “พลิกธุรกิจด้วยวิถีไมโครซอฟท์ (Hit Refresh)”. แปลโดย จารุจรรย์ คงมีสุข. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วีเลิร์น.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2560, 23 ธันวาคม). “ผลของปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ต่อตลาดแรงงาน”. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-91819.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว