ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมทางพุทธศาสนากับความยุติธรรมในองค์การ
คำสำคัญ:
จริยธรรมทางพุทธศาสนา, พรหมวิหารธรรม 4, กฎแห่งกรรม, ความยุติธรรมในองค์การบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับการรับรู้ความยุติธรรมจากจริยธรรมทางพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับความยุติธรรมในองค์การ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมทางพุทธศาสนากับความยุติธรรมในองค์การ และ 4) เพื่อศึกษาจริยธรรมทางพุทธศาสนาที่ส่งผลต่อความยุติธรรมในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่พนักงานในองค์การภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความยุติธรรมจากจริยธรรมทางพุทธศาสนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้ความยุติธรรมจากกฎแห่งกรรมมีค่าเฉลี่ยมากสุด รองลงมาได้แก่การรับรู้ความยุติธรรมจากพรหมวิหาร 4 ส่วนการรับรู้ความยุติธรรมจากการเว้นจากอคติ 4 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับความยุติธรรมในองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับองค์การมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านกระบวนการพิจารณาขององค์การ ส่วนการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านการแบ่งปันผลตอบแทน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมทางพุทธศาสนากับความยุติธรรมในองค์การ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .124 ถึง .396 ซึ่งคู่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ พรหมวิหาร 4 (MIN) กับความยุติธรรมในองค์การ (OJU) ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความยุติธรรมในองค์การมากที่สุด ได้แก่พรหมวิหาร 4 การเว้นจากอคติ 4 และความเชื่อในกฎแห่งกรรมตามลำดับ
References
ชะวัชชัย ภาติณธุ. (2548). สาระที่ถูกมองข้ามทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บุรัญชัย จงกลนี. (2528). คุณธรรมของนักบริหาร. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระครูศรีปริยัติวิธาน (พระมหาแม้น คุปตรํสี). (2563). “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามหลักอริสัจ 4”. วารสารศิลปะการจัดการ, 14(3), 521-536.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธรรม.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์ปรินติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. (2555). ความยุติธรรมในมุมมองของพุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://ps.mcu.ac.th.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). จริยธรรม (การเสริมสร้างจริยธรรมสำหรับเด็กวัยรุ่น). กรุงเทพฯ: เม็ดทราย พริ้นติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วิกิพีเดีย สารานุกรเสรี. (2559). ความยุติธรรม. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2559 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2545). ศีลและพรหมวิหาร 4. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา
สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์. (2555). นี่แหละ...คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไอน์สไตน์ให้ฉลาดและมีความสุข. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ ธิงค์ บิยอนด์.
สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์ และบุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา. (2560). “การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความยุติธรรมในองค์การ”. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(3), 36-47.
สุภาพร ทรงกิจทรัพย์. (2550). “หลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์”. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 7(2), 114-121.
Channuwong, S., Ruksat, S., & Ploychum, S. (2018). “An integration of Buddhist teachings in stress management”. Journal of Community Development Research, 11(4),148-158.
Folger, R. (1998). Organizational justice and human resource management. Thousand Oaks, CA: Sage.
Greenberg, J. (1990). “Employee theft as a reaction to underpayment inequality: The hidden cost of a pay cut”. Journal of Applied Psychology, 75, 561-658.
Moorman, R. H. (1991). “Relationship between organizational justice and organizational citizenship behaviors: Do fairness perception influence Employee citizenship?”. Journal of Applied Psychology, 76, 845-855.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว