การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนจดหมายโต้ตอบภาษาอังกฤษธุรกิจตามแนวการเขียนแบบอรรถฐานร่วมกับแนวคิดกลุ่มคำสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, การเขียนจดหมายโต้ตอบภาษาอังกฤษธุรกิจ, การเขียนแบบอรรถฐาน, แนวคิดกลุ่มคำบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนจดหมายโต้ตอบภาษาอังกฤษธุรกิจตามแนวการเขียนแบบอรรถฐานร่วมกับแนวคิดกลุ่มคำสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนการสอน ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการสัมภาษณ์กลุ่มอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มผู้ประกอบการ สำรวจความต้องการของนิสิต และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (FGD) จากนั้นทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มทดลองจำนวน 36 คน ด้วยแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ประเภทอนุกรมเวลาสมมูล (Equivalent Time – Series Design) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures Designs)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความรู้ ประสบการณ์เดิม (stimulating and recollecting) ขั้นศึกษาโครงสร้างอัตถภาคงานเขียน (outlining text structure) ขั้นสำรวจองค์ประกอบกลุ่มคำ (inspecting lexical elements) ขั้นร่วมมือสำรวจสืบค้นข้อมูล (investigating) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing and learning) ขั้นการสร้างงานเขียนขึ้นใหม่ด้วยตนเอง (writing up) และขั้นผสานเชื่อมโยงความรู้ (consolidating knowledge) ในด้านประสิทธิผลพบว่า ความสามารถในการเขียนจดหมายโต้ตอบภาษาอังกฤษธุรกิจของนิสิตหลังจากเสร็จสิ้นแต่ละแผนการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ทั้ง 4 แผนการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ยของการวัดซ้ำครั้งที่ 1-4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
References
Bhatia, V. K. (1993) Analyzing Genre: Language Use in Professional Settings. London: Longman.
Biber, D., Conrad, & Cortes, V. (2004) If you look at...: Lexical Bundles in University Teaching and Textbooks. applied Linguistics, 25, 371-405.
Chao, LEI. (2016). A Lexical-Chunk Based Study of Business English Correspondence Writing. Sino-US English Teaching, 4, 277-283.
Cortes, V. (2004). Lexical bundles in published and student disciplinary writing; Examples from history and biology. English for Specific Purposes, 23, 397-423.
Feez, S., & Joyce, H. (2002). Text-Based Syllabus Design. Sydney: NCELTR, Macquarie University.
Halliday, M. A. K. and R. Hasan (1985) Language, context and text. Geelong, Deakin University Press.
Hyland, K. (2008). As can be seen: Lexical bundles and disciplinary variation. English for Specific Purposes, 2 7, 4-21.
Kulaporn Hiranburana. (2017). “Use of English in the Thai Workplace.” Kasetsart Journal of Social Sciences 38(1): 31–38.
Nickerson, C, Planken, B (2016) Introducing Business English. London and New York: Routledge.
Phichiensathien, P. (2016). Genre-Based Approach in Academic English Writing. Pasaa Paritat 31, 211-238.
Swales, J. M. (2004). Research genres: Explorations and applications. Cambridge: Cambridge University Press.
Srinon, Udom. (2011). A longitudinal study of developments in the academic writing of Thai university students in the context of a genre-based pedagogy [dissertation]: University of Adelaide, Australia.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว