The Organizational Climate Affecting Teachers’ Quality of Work Life in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Prachuap Khiri Khan
บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Keywords:
Quality of Work Life, บรรยากาศองค์การ, สถานศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 242 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 6 คน และครู 236 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความเป็นหนึ่งเดียวในองค์การ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความอบอุ่น ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านความเสี่ยงของงาน ด้านการยอมรับความขัดแย้ง ด้านการสนับสนุนและด้านการให้รางวัล
- คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านความสัมพันธ์กับสังคม ด้านการบูรณาการด้านสังคม ด้านความเจริญเติบโตและความมั่นคงในงาน ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านประชาธิปไตยในการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตโดยรวม และด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม
- บุคคลากรกลุ่มนั้นมีแนวโน้มที่จะรับผิดชอบด้านใด ศึกษาข้อมูลสรุปโดยสามารถรวบรวมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครูได้ในบางครั้งจะได้รับ 92.10 นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเขียนสมการผลลัพธ์ได้ดังนี้
สมการคาดเดาจากคะแนนดิบ
= .179 + .164(X 8 ) + .193(X 6 ) + .189(X 7 ) + .195(X 9 ) + .114(X 3 ) + .103(X 2 )
เอนทรานในเกณฑ์
= .177(X 8 ) + .211(X 6 ) + .201(X 7 ) + .207(X 9 ) + .124(X 3 ) + .103(X 2 )
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุรีวิทยาสาส์น.
Bartz , A.E. (1999). Basic Statistical Concepts. (4th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Chung, J.F. (2020). Organisational Climate and Teacher Commitment: Centre for institutional Research & Research Management Committee, Kuala Lumpur, Malaysia.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed). New York: Harper and Row.
Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 608.
Litwin, George H., & Stringer, Robert A. (1968). Motivation and organization climate. Boston: Division of Research, Graduate School of Business
Administration, Harvard University.
Tabassum, A., Rahman, T., & Jahan, K. (2012). An Evaluation of Quality of Work Life: A Study of the Faculty Members of Private Universities in Bangladesh. ABAC Journal. 32(3), 36–56.
Walton, Richard E. (1974 May–June). Improving the Quality of work Life. Harvard Business Review. 53(3), 12.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Mahamakut Buddhist University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว