การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้ว ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชนจังหวัดสระแก้ว, การเลือกตั้งทั่วไป, ปี พ.ศ. 2562.บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. เพื่อประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.95 จากประชาชนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 425,987 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนจังหวัดสระแก้ว จากผลที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งลดลงจากครั้งที่แล้ว เนื่องจากประชากรจากหลากหลายพื้นที่มาอาศัย จากปัญหาสังคมที่เป็นจังหวัดชายแดน ปัญหาการไปใช้สิทธิ์ที่ลดลงจากครั้งที่ผ่านมา นักการเมืองเข้าไม่ถึงประชาชนเพราะเป็นการผูกขาดทางการเมือง จากกระแสการประท้วงและเรียกร้องทางการเมือง การบริหารบ้านเมืองของนักการเมือง ที่ไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจและความเจริญของจังหวัดทำให้การไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาลดลง
- 2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562จังหวัดสระแก้วโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.46) เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (x̄=3.68) ด้านการสื่อสารทางการเมือง (x̄=3.41) และ ด้านการมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง (x̄=3.28)” ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลของแต่ละปัจจัย พบว่า ปัจจัยด้านสื่อสารมวลชน (X4), สภาพสังคม (X1), เศรษฐกิจ (X2), วัฒนธรรมทางการเมือง (X3) มีอิทธิพลร่วมกันต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Y) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 001 ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Y) ได้ร้อยละ 97.0 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (4, 1, 2, 3) เท่ากับ 0.562, 0.379, 0.313 และ 0.309 ตามลำดับ
- 3. การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนจังหวัดสระแก้ว มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับหลักอปริหานิยธรรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนจังหวัดสระแก้ว พบว่า โดยภาพรวมปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับอปริหานิยธรรม มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง(r = 0.917**) ด้านสภาพสังคม อยู่ในระดับสูง (r = 0.827**) ด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับสูง (r = 0.836**)ด้านวัฒนธรรมทางการเมือง อยู่ในระดับสูง (r = 0.851**) ด้านสื่อมวลชน อยู่ในระดับสูง (r = 0.822**)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว