ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหารของผู้บริหาร, ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ.บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 4) ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน ศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 4) ทักษะการบริหารของผู้บริหารด้านเทคนิค ด้านมโนภาพ และด้านมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์.
จิตรลดา เจริญสุข. (2556). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในเขตคุณภาพศรีมหาโพธิ์ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ. (2551). การบริหารทีมงานและการแกปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
บังอร ศรีตะพัสโส. (2556). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พัชรา อุดมผล. (2550). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มนตรี มิเกล กาไร ซาบาล.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัติยา ทองสีนุช. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 91 – 100(กรกฎาคม-ธันวาคม 2558).
ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
วสันต์ ปรีดานันท์. (2553). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดข่อนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร สุวรรณศรี. (2552). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.
เศรษฐราณี ทรวดทรง. (2557). ทักษะการบริหารกับการบริหารระบบคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 170.
สมคิด บางโม. (2550). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สายทอง โพธิ์น้ำเที่ยง. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มกรุงธนบุรีสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2556). การสร้างทีมงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมดสติกเกอร์ แอนด์ดีไซน์.
สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2552). ทักษะการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
เสาวภา พรเสนาะ. (2556). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (2562). นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 21 มกราคม 2563. จาก https://chon.go.th/cpao/home
อนิวัช แก้วจำนง. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
อรพรรณ คํามา. (2559). การใช้อำนาจของผู้บริหารทีส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Drake, L.T. & Roe, W.H. (2006). The Principalship. 3rd ed. New York: Macmillan.
Katz, K.L. (2007). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review, 33(1), 33–42.
Locke, E.A. & other. (2008). The Essence of Leadership: The Four Keys to Leading Successfully. New York: Lexington Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว