ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
คำสำคัญ:
ปัจจัยการบริหาร, ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ 0.97 ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามในสถานศึกษาข้างต้นทั้งสิ้น 67 โรงเรียน จำนวน 371 ฉบับ โดยจัดส่งแบบสอบถามไปยังสถานศึกษาจำนวน 371 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนจำนวน 371 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการจัดการกระบวนการ และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ตามลำดับ 2) ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีการปฏิบัติโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เรียงตามลำดับเข้าสู่สมการจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ หรือสมการพยากรณ์ ได้แก่ ด้านการจัดการกระบวนการ () และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร () ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าประสิทธิภาพในการพยากรณ์ () = .353 คิดเป็นร้อยละ 35.30
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและ
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: ร.ส.พ.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: โฟกัสมีเดียแอนพับลิซซิ่ง.
จักรพงษ์ วงศ์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จันทร์เพ็ญ พึ่งเพ็ง. (2559). ขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบราชธานี.
พระครูสังฆรักษ์สุพจน์ พฺรหฺมาโณ (เสี่ยนดอน). (2561). รูปแบบการส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูตามหลักพุทธบริหารการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บารีนา มะแซ. (2559). ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เบญจมาภรณ์ สอนวัฒนา. (2561). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประกิจ ชอบรู้. (2562). การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีจำกัด.
มะรอฟี เจะเลาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุวดี ประทุม. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรารัตน์ งันลาโสม. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2540). TQM Living Handbook: An Executive Summary. กรุงเทพมหานคร: บีพีอาร์แอนด์ทีคิวเอ็มคอนซัล.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563-2564. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพตะวันออก.
สินีริชา เบอรฮา. (2561). การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 5(2).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (พ.ศ. 2563 – 2565). (2564, กันยายน 15). สืบค้นจาก https://www.sesao1.go.th/.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2564). เกี่ยวกับ สพม.กท 1. (2564, มิถุนายน 18). สืบค้นจาก https://www.sesao1.go.th/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุทัศน์ ภูมิภาค. (2562). “นั่งห้องแอร์ แต่วางแผนให้ครู” ปัญหาการศึกษาไทย (เมื่อไหร่) ใครจะสะสาง?. (2564, มิถุนายน 4). สืบค้นจาก https://www.kruupdate.com/7643/.
อมรรัตน์ อรุณเจริญ. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อุดม ชูลวีรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุบลรัตน์ ชุณหพันธ์. (2558). การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. จันทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอ เอช พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
George Larry Johnson. (2021). The Relationship between School Principals’ Servant Leadership Attributes and Teacher Morale. Abstracts International. (January 2021), ii.
Karie Lorraine Hickman. (2017). A Qualitative Study On Educational Leadership Styles and Teacher Morale. (A Dissertation Doctor of Education). USA. Carson-Newman University. www. classic.cn.edu.
Napier, T.G. (1966). Teacher morale. New York : McGraw-Hill.
Peter Greene. (2019). 'Tired Of Being Treated Like Dirt' Teacher Morale In The 2019 PDK Poll. (2564, มิถุนายน 4). สืบค้นจากhttps://www.forbes.com/sites/petergreene /2019/08/07/tired-of-being-treated-like-dirt-teacher-morale-in-the-2019-pdk-poll/? sh=405a4df9df48.
Ralph R. Bentley and Averno M. Rempel. (1970). Manual for the Purdue Teacher Opinionnaire. (Wast Lafayette: Indiana University Book store).
Sajida Miraj, Amjad Reba, Jalal Ud Din. (2018). A Comparative Study regarding Teachers’ Morale among Public and Private Schools at Secondary Level in Peshawar. (Bulletin of Education and Research). 40(2), 27-40. https://files.eric.ed.gov/fullt ext/EJ1209723.pdf.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว