การพัฒนารูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ของกระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ:
Performance model, Academic expert, School administratorบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาวิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัด 44 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 137 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 380 รวมทั้งสิ้น 561 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการยืนยันองค์ประกอบ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบประเมินยืนยันองค์ประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยรายข้อ อยู่ระหว่าง 4.28–4.80 2. รูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญของกระทรวงศึกษาธิการ โดยวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงสำรวจ ได้ 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 2 การยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของบุคคล องค์ประกอบที่ 3 การเป็นผู้นำตามสถานการณ์อย่างมีทักษะและรอบรู้ องค์ประกอบที่ 4 ความรอบรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอน 3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเชี่ยวชาญของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการบริหารจัดการ มีตัวแปรย่อย 17 ตัว โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.808- 0.906 มีความแปรปรวนของตัวแปร เท่ากับ 61.959, ค่าร้อยละของความแปรปรวน เท่ากับ 23.237, ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสม เท่ากับ 23.237 องค์ประกอบที่ 2 การยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของบุคคล มีตัวแปรย่อย 3 ตัว โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.562- 0.886 มีความแปรปรวนของตัวแปร เท่ากับ 3.013, ค่าร้อยละของความแปรปรวน เท่ากับ 12.513, ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสม เท่ากับ 35.750 องค์ประกอบที่ 3 การเป็นผู้นำตามสถานการณ์อย่างมีทักษะและรอบรู้ มีตัวแปรย่อย 3 ตัว โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.824- 0.907 มีความแปรปรวนของตัวแปร เท่ากับ 2.549, ค่าร้อยละของความแปรปรวน เท่ากับ 9.998, ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะม เท่ากับ 45.748 องค์ประกอบที่ 4 ความรอบรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอน มีตัวแปรย่อย 3 ตัว โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ระหว่าง 0.772- 0.904 มีความแปรปรวนของตัวแปร เท่ากับ 1.702, ค่าร้อยละของความแปรปรวน เท่ากับ 9.963, ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสม เท่ากับ 55.710 และ 4. การตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ 12 คน พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ เห็นด้วย ร้อยละ 100
References
กาญจนชนก ภัทรวนิชานันท์. (2554). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหลักเพื่อใช้ในการประเมินข้าราชการ : กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2563). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ มกราคม 31, 2564, จาก http://www.conference.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.pdf.
ทิพวัลย์ อ่างคำ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการสู่ความเป็นเลิศมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
นริศ มหาพรหมวัน. (2561). รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2559). การนำเสนอแบบจำลองการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์สิริ เกื้อวราห์กุล. (2562). สมรรถนะผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1) : 86-102.
พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. ในเอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2. แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 - 2.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2559). 9 สมรรถนะสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อนุสิทธิ์ นามโยธา. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารสมาคมนักวิจัย. 18(3) : 20-29.
Bottoms, G. et al. (2003). “Good Principals are the Key to Successful School: Six Strategies to Prepare More Good Principals, Southern Regional Education Board, Atlanta.” Dissertation Abstracts International. 4(31) : 33-A.
Danilo V. (2016). Towards Enhancing the Managerial Performance of School Heads. International Review of Management and Business Research.
Lisa Larson. (2012). Evaluating Minnesota’s School Principals. Accessed September 9, 2017, from http:// www.house.mn/hrd/hrd.htm.
Smith, S. C. and Purkey, M. S. Effective School. (2008). quoted in Hoy, Wayne K. and Miskel, Cecil G. Educational Administration : Theory, Research, and Practice. Singapore, McGraw-Hill Education.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว