ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้แต่ง

  • วรรณสิริ ธุระแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • เชิดชัย ธุระแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • สุวรรนีย์ ธุระแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุในการสอนออนไลน์, ประสิทธิภาพการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2) ประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 3)ปัจจัยเชิงสาเหตุส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ และนักศึกษาจาก 10 คณะ จำนวน 239 คน โดยตอบแบบสอบถามใน google form สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน กลุ่มที่อยู่ในระดับมาก เรียงจากค่ามากไปน้อย ดังนี้ ด้านอาจารย์, ด้านสื่อการสอน, ด้านข้อมูล, ด้านนักศึกษา, ด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านเทคโนโลยี, ด้านระเบียบข้อบังบังคับ, ด้านสารสนเทศ  ส่วนด้านวิธีสอน อยู่ในระดับปานกลาง 2)ประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงจากค่ามากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้, ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้, ด้านความพึงพอใจของผู้เรียน, และด้านการวัดผลและประเมินผล 3)ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่ได้รับเลือกเข้าสมการตามลำดับ คือ 1)ปัจจัยเชิงสาเหตุในภาพรวม และด้านระเบียบข้อบังบังคับ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.982b  ค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.963 นั่นคือ ตัวแปรทั้ง 2 ตัว ร่วมกันสามารถทำนายประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในภาพรวมได้ร้อยละ 96.30 มีความ คลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย เท่ากับ 0.08162 ในลักษณะนี้แสดงว่าปัจจัยเชิงสาเหตุในภาพรวม และระเบียบข้อบังบังคับร่วมกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้ Ŷtot = .285 + .764 (Xtot) + .302 (X9)

References

ฐิติรัตน์ นัยพัฒน์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาการสร้างเว็บไซต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์. [ออนไลน์]. จากแหล่ง http: // www. google. com. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564.

วไลพรรณ อาจารีวัฒนา. (2562). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาของนักศึกษาโครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศศิณัณฐ นาไทย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเรียนปริญญาโทหลักสูตรการบริหารเทคโนโลยี รูปแบบออนไลน์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beerens, D. R. (2000). Evaluating Teachers for Professional Growth: Creating a Culture of Motivation and Learning. Thousand Oaks: Corwon Press.

Dence, M. (1980). Toward Defining the Role of CAI: A Review. Educational Technology, 20: 50-54.

Prenis, John. (1977). Running Press Glossary of Computer Terms. Dissertation Abstracts International. 49(4): 780-A.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1977). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25