การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาล ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • wantip pankaew มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล, กระบวนการบริหาร, ประสิทธิผลของเทศบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหารของเทศบาลในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของเทศบาลในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีภูมิลำเนาอยู่เขตเทศบาล ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

            ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ หลักตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักความโปร่งใส หลักภาระรับผิดชอบ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม/จริยธรรม หลักการมีส่วนร่วม และหลักการกระจายอำนาจ ตามลำดับ (2) กระบวนการบริหารของเทศบาลในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจริยธรรม ด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม และด้านการบริหารอำนาจหน้าที่ ตามลำดับ และ (3) ควรมีการวางแผน การบริหารอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

References

จุฑามาศ ภูสง่า. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1).

ไททัศน์ มาลา. (2561). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG) : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการจัดการปกครองท้องถิ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1).

ปรัชญา คล้ายชุ่ม และคณะ. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2).

พิทยา บวรวัฒนา (2552). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ และกฤษณ์ ภูรีพงษ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลกับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ในมหาวิทยาลัยเอกชนพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560). แนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลเพื่อสกัดการทุจริตเชิงนโยบาย. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร. (2560). ความสำคัญของธรรมาภิบาล ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน และสื่อในการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(1).

สุมนา ยิ้มช้อย และคณะ. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า . (2560). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. บทความวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Bovaird, T., & Loffler, E. (2005a). Understanding Public Management and Governance in Public Management and Governance. Tony Bovaird and Elke Loffler (eds.). London: Taylor & Francis Group.

Certo, Samuel C. (2000). Modern Management. New Jersey: Prentice-Hall.

Cheema, G. S. (2005). From Public Administration to Governance: The Paradigm Shift in the Link between Government and Citizens. A paper presented at the 6th Global Forum on Reinventing Government towards Participatory and Transparent Governance on 24-27 May 2005, Seoul, Republic of Korea.

DuBrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. (6th ed.). Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Kennett, P. (2010). Global Perspectives on Governance. In The New Public Governance?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.

Osborne, S. P. (2010a). Introduction: The (New) Public Governance: A Suitable Case for Treatment ?. In The New Public Governance ?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.

Pestoff, V. & Brandsen, T. (2010). Public Governance and the Third Sector: Opportunities for Co-production and Innovation?. In The New Public Governance?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Osborne, S. P. (ed.). London: Routledge.

UNESCAP. (2004). Traders Manual for Least Developed Countries : Cambodia. United Nations. Economic and Social Commission for Asia and the Pacific.

United Nations Development Programme. (1997). Governance for Sustainable Human Development. A UNDP Policy Document.

World Bank. (1989). Sub-Saharan Africa: From Crisis to Sustainable Growth. Washington DC.: The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25