การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติงานของครู, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัล และระดับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้จำแนกตามขนาดสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*Power ทำการทดสอบด้วยวิธี F tests ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ระดับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลจำแนกตามขนาดสถานศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็กและกลางอยู่ในระดับมาก ขณะที่สถานศึกษาขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้ โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า การปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็กกับขนาดกลางไม่แตกต่างกัน ขณะที่สถานศึกษาขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดกลางกับขนาดใหญ่ ขนาดกลางกับขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่กับขนาดใหญ่พิเศษ มีค่าการปฏิบัติงานของครูยุคดิจิทัลต่อการจัดการความรู้ของสถานศึกษาแตกต่างกัน
References
กมลาสน์ รุ่งเรือง. (2565). แนวทางการสร้างบรรยากาศการทำงานในองค์กร ตามหลักสัปปายธรรม. MCU Haripunchai Review, 5(2) : 108-122.
กรกนก สอนจันทร์. (2565). การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3) : 113-119.
กฤติกา พูลสุวรรณ. (2559). การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2565). รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.
กัลป์ ชานวิทิตกุล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับเจตคติต่อการทำพันธกิจ. มหาวิทยาลัยพายัพ.
งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ. การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM). คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้น 7 ตุลาคม 2565 จาก quality.sc.mahidol.ac.th
ชริกา ไชยเดช. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(7) : 15-25.
นวพล แก้วสุวรรณ. (2564). การจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาขององค์กรภาคธุรกิจในประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 11(1) : 346-359.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ระพีพรรณ จันทรสา, วุฒิพงศ์ บุษราคัม, & พวงเพชร ทองหมื่นไวย. (2562). การจัดการความรู้ปัจจัยสู่ความสำเร็จขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท KOLAO. Walailak Procedia, 2019(6) : MM-66.
วรรณสิริ ธุระแพง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบสังคมออนไลน์สำหรับธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคลังสินค้าและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช, & เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร. (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. Journal of Administration and Development, Mahasarakham University, 2(3) : 203-216.
สงวนศักดิ์ จ๊ะสุนา. (2563). การศึกษาโครงสร้างองค์กร บรรยากาศในการทำงาน และเพื่อนร่วมงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของกำลังพลในหน่วยงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กระทรวงศึกษาธิการ: พริกหวานกราฟฟิค, พิมพ์ครั้งที่ 1.
สุทธิชา สมุทวนิช. (2563). พฤติกรรมผู้นําของผู้บริหารที่สงผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. Journal of Innovation and Management, 5 : 169-184.
สุนันท์ ฮ้อแสงชัย, & ทวีป พรหมอยู่. (2564). ปัจจัยเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานและสมรรถนะการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของบุคลากร บริษัท ไทย ไชน่า ไฟเบอร์ ออพติคส์ จำกัด. Journal of Innovation and Management, 6(1) : 51-64.
ไอลดา สุขสี, & ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). แนวทางการจัดการความรู้ในโรงเรียนป่าไม้อุทิศ15 (บ้านม่วงเฒ่า). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1) : 37-54.
Ahmed, U., Aslam, R., Khan, N., & Asad, M. M. (2022). Investigating Knowledge Management Practices in an EFL Context in Pakistan. SAGE Open, 12(2). 21582440221094593.
Fitria, N. (2022). Knowledge Management for Change Process Academic in High School. Roqooba Journal of Islamic Education Management, 2(1) : 16-24.
Hoy, & C. G. Miskel. (1982). Educational Administration: Theory, Research, and Practice, 2nd ed. New York: Random House.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว