วารสารข่วงผญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya <p>วารสารข่วงผญา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางด้านสหสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป ทั้งนี้ ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่ง ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review)</p> สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ th-TH วารสารข่วงผญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2539-6706 <p>1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ <br>2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> พวงมโหตร: สายสัมพันธ์ศิลปะการตัดกระดาษในแต่ละภูมิภาคของไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/266873 <p><strong> </strong></p> <p><strong> พวงมโหตร </strong>มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย แต่รูปทรงและวิธีการประดิษฐ์กอปรกับการนำมาใช้งานมีความคล้ายเคียงกัน พวงมโหตรมีอยู่กระจัดกระจายในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย กล่าวคือ สามารถพบในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ในแต่ละภูมิภาคต่างนับว่าพวงมโหตร เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สืบทอดมีมายาวนาน </p> <p>จากการศึกษาพบว่าชื่อ “พวงมโหตร” ยังคงใช้เรียกในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบนบางจังหวัด อาทิ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ส่วนชื่อที่ใช้เรียกในภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างในกลุ่มเชื้อสายชาวไทยพวน คือ “พวงเต่ารั้ง” หรือ “พวงเต่าร้าง” ในเขตจังหวัดภาคเหนือจะเรียกชื่อว่า “ตุงไส้หมู” เป็นส่วนใหญ่ ส่วนชื่อ“ตุงพญายอ” “ตุงไส้ช้าง” เป็นชื่อเรียกในบางจังหวัด แต่ก็เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึง พวงมโหตรหรือตุงไส้หมู การนำมาใช้งานนั้นในภาคเหนือพบว่ายังคงรักษาไว้ซึ่งขนบวิถีเดิม คือ การนำมาใช้ในงานประเพณีสงกรานต์ การปักเจดีย์ทราย และในงานอวมงคลโดยใช้สีขาวและสีดำ ในขณะที่ในภูมิภาคอื่น ๆ นั้น จะนำมาเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน วัด ในงานมงคล และงานรื่นเริง โดยใช้พวงมโหตรที่ผลิตจากกระดาษที่มีสีสันสดใส นำมาตกแต่งสถานที่เพื่อความสวยงามและเป็นการแจ้งข่าวว่ากำลังมีงานมงคลในสถานที่ นั้น ๆ พวงมโหตรในภาคตะวันออกและภาคกลางปัจจุบันได้รับการพัฒนาประยุกต์ขึ้นให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประจำชุมชน เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีการปรับเปลี่ยนวัสดุที่นำมาใช้ประดิษฐ์จากกระดาษว่าวเป็นผ้าฝ้ายพิมพ์ลายและผ้าไหมแก้ว และมีการเพิ่มหน้าที่พวงมโหตรให้เป็นเครื่องแขวนที่เป็นเครื่องหอมเพื่อใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย มีการพัฒนาให้เป็นโคมไฟแบบแขวนเพดาน โดยประยุกต์เพิ่มหลอดไฟเข้าไปในรูปทรงของพวงมโหตรดั้งเดิม ในภาคเหนือที่จังหวัดแพร่ พบว่า มีการพัฒนาการประดิษฐ์พวงมโหตรขนาดเล็ก (5 นิ้ว) สำหรับประดับจัดตกแต่งในแจกันเพื่อถวายพระ ซึ่งแต่เดิมมักพบว่าพวงมโหตรถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งใช้ในงานประเพณีสงกรานต์ งานบรรพชาอุปสมบท และงานอวมงคลเท่านั้น</p> <p><strong> </strong></p> อัญชลี กิ๊บบิ้นส์ Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-29 2023-11-29 17 2 76 98 กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในชุมชนปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/266875 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ แนวคิดการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ และแนวคิดการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม เป็นพื้นฐานในการศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป รวมทั้งหมด 165 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบาย บรรยาย และสรุปข้อมูลที่เก็บรวบรวมในลักษณะของการแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง และ การวัดการกระจายข้อมูล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนปางเปา อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03 (SD = 0.66) ในด้านของการรับผลประโยชน์ในสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐ อาทิ เบี้ยยังชีพ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในป่าชุมชน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุยังขาดความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจและการประเมินผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพ ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 (SD = 0.50) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพอันเป็นจุดแข็งจากปัจจัยภายในของปัจเจกบุคคลและชุมชนได้เป็นอย่างดี ในทางกลับกัน ปัจจัยด้านองค์กร ยังมีข้อจำกัดด้านการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ และแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชนปางเปา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 (SD = 0.54) โดยเป็นผลมาจากการทำงานอดิเรกและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันภายในชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและสัมพันธอันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ จึงควรมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ระดับท้องถิ่น เพื่อยกระดับความสำคัญสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน</p> <p><strong> </strong></p> ธีรวัฒน์ กุณาอิ่น นครินทร์ คำดี สถาพร คำแก้ว ศิริลักษณ์ จันทเขต ชุติกาญจน์ งานปรีชาธร Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-29 2023-11-29 17 2 1 18 ภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพรกลั่น ชุมชนบ้านหนองควาย ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/266876 <p>การวิจัยเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพรกลั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของนายผไทธง วงค์สุวรรณ “หมอผิน” (หมอกลั่นสมุนไพร) ศึกษากระบวนการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการใช้สมุนไพรกลั่นของหมอผิน และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดความรู้ในการใช้สมุนไพรกลั่นรักษาโรคในอนาคต ชุมชนบ้านหนองควาย ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ หมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) ผู้ใกล้ชิดหมอผิน และผู้เข้ารับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาสมุนไพรกลั่นของหมอผิน จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ด้วยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การบรรยายและการพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยใช้ทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ทฤษฎีภูมิปัญญาพื้นบ้าน แนวคิดสมุนไพรกลั่น และแนวคิดโรคความดันโลหิตสูง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) เริ่มต้นเป็นหมอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (รวมระยะเวลาการเป็นหมอพื้นบ้าน จำนวน 17 ปี) โดยได้รับตำราเกี่ยวกับสมุนไพรจากเพื่อนของบิดา จึงได้ทำการทดลองต้มยารับประทานเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคต่อมลูกหมากโตของตนเองจนอาการดีขึ้น ทำให้เกิดความสนใจและทำการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรด้วยการศึกษาค้นคว้าศึกษาทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงวิธีการกลั่นสมุนไพร ปัจจุบันหมอผินทดลองปรุงสมุนไพรได้ 5 ถึง 600 ชนิด และสามารถทำการรักษาได้หลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงไวรัสโควิด-19 เป็นต้น กระบวนการการรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการใช้สมุนไพรกลั่นของหมอผิน (หมอกลั่นสมุนไพร) พบว่า กระบวนการรรักษาจะเริ่มต้นจากการซักประวัติของผู้ที่เข้ารับการรักษา โดยใช้แบบฟอร์ม OPD ซึ่งเป็นคำทางการแพทย์ที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ เกณฑ์การวัดความดันของหมอผินได้รับความรู้จากชาวต่างชาติที่นำจำนวนอายุบวกกับจำนวน 110 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องยึดค่าความดันปกติตามเกณฑ์ 120 กับ 80 ของโรงพยาบาลทั่วไป และมีการติดตามผลการรักษาด้วยการนัดดูอาการ ส่วนวิธีรับประทานยาจะนำยาสมุนไพรกลั่นผสมกับน้ำธรรมดาหรือน้ำด่าง จากนั้นจึงทำการกระแทกเพื่อผสมยา ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยสมุนไพรกลั่นของหมอผินจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่สามารถให้ได้ตามจิตศรัทธา หมอผินเรียนรู้กระบวนการกลั่นแบบไฮโดรซอ (Hydrosol) จากอาจารย์ชาวต่างชาติ และทำการออกแบบหม้อกลั่นสมุนไพรร่วมกับพี่ชาย ซึ่งยาสมุนไพรกลั่นของหมอผินจะมีลักษณะใส รสชาติขมน้อย และเหมาะกับทุกเพศทุกวัย แนวทางการอนุรักษ์สืบทอดความรู้ในการใช้สมุนไพรกลั่นรักษาโรคในอนาคตนั้น หมอผินได้ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ใกล้ชิด ผู้ที่เข้ารับการรักษา และผู้ที่สนใจ ด้วยกระบวนการการสังเกตและลงมือปฏิบัติ เช่น การผสมยา การเก็บสมุนไพรในป่า เป็นต้น</p> <p> </p> <p> </p> ณัฐวรา ศิริปัญญา ประภัสสร จันทร์วิลัย ชนิกา มะเทวิน ธัญญารัตน์ สุขแสวง Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-29 2023-11-29 17 2 19 37 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาอุทกภัย หมู่ที่ 2 บ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ในเขตเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/266877 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบจากอุทกภัยของชุมชนในพื้นที่ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัยที่ผ่านมา และแนวทางการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยของชุมชนบ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโรงวัว (ศรีบุญเรือง) ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 292 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaires) และสถิติที่ใช้ ได้แก่) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)</p> <p> ผลวิจัยพบว่า ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยของชุมชนในพื้นที่มีผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการคมนาคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่ภายหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและเกิดความเสียหายต่อชุมชนมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 โดยระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัยที่ผ่านมา ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.01 ทั้งนี้เพราะชาวบ้านยังขาดการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการประเมินผลในการจัดการอุทกภัย ส่วนแนวทางในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยของชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนได้สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการปัญหาอุกทกภัยในชุมชนที่ยังขาดความต่อเนื่องเพราะในเขตพื้นที่ของชุมชนมีความเป็นสังคมเมืองสูงส่งผลให้การให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย มีเพียงประชาชนบางส่วนที่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเพราะเป็นคนที่อาศัยในเขตพื้นที่ชุมชนตั้งแต่กำเนิด ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายในชุมชน และการวางแผนการรับมือปัญหาอุทกภัยด้วยการยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนให้สูงขึ้นผ่านการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงการจัดการกับปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> สมิตานันท์ ไชยคำ กฤตบุญ คำทิพย์โพธิ์ทอง ชินวุฒิ รัตนพัวพันธ์ รุ่งนภา อุตมะธานี Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-29 2023-11-29 17 2 38 53 กระบวนการสืบสานดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/266874 <p>งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการสืบสานดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา 2) ปัญหาและอุปสรรคในการสืบทอดภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา และ 3) กระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมือง ป้าดก๊องล้านนาของคณะรักศิลป์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าคณะ ผู้สืบทอด และผู้เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 9 คน โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการการบรรยายและพรรณนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (Descriptive analysis)</p> <p>ผลวิจัยพบว่า กระบวนการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ มีกระบวนการสืบทอด ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะวง โดย นายสวง ต่ายพูล (บุตร) ของพ่อครูสวัสดิ์ ต่ายพูล ผู้สืบทอดจากครูรอด อักษรทับ จากวังพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ คณะรักศิลป์มีการบรรเลงที่ผสมผสานทั้งดนตรีไทยและดนตรีล้านนาเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของคณะรักศิลป์ที่โดดเด่น และยังมีบทบาทการอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ด้วยการสอนให้กับเยาวชนหรือผู้ที่สนใจในดนตรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเรียน เพื่อสร้างอาชีพหารายได้ให้กับผู้รักในดนตรี โดยคณะรักศิลป์ให้ความสำคัญเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีป้าดก๊องล้านนาให้ยังคงอยู่ต่อไป</p> <p> </p> นนท์ธิชา คำมะณี เอมมิกา ปะดี จิราวรณ์ ดีมาก รัฐคม ดีบู่ Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-29 2023-11-29 17 2 54 75