วารสารข่วงผญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya <p>วารสารข่วงผญา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางด้านสหสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกตามกลุ่ม ดังต่อไปนี้ </p> <p>- มานุษยวิทยา<br />- สังคมวิทยา<br />- ประวัติศาสตร์<br />- พัฒนาชุมชน<br />- โบราณคดี<br />- ปรัชญาและศาสนา<br />- ภาษาศาสตร์และวรรณกรรม<br />- ศิลปะและวัฒนธรรม<br />- การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม<br />- ภูมิปัญญา<br />- ดนตรีศึกษา<br />- ศิลปกรรม<br />- ภาษาวัฒนธรรม<br />- ดนตรี ,และนาฏศิลป์<br />- การเมืองการปกครอง และกฎหมาย<br />- สหวิทยาการจัดการเรียนรู้</p> <p>วารสารข่วงผญา ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม ISSN 2539-6706 (Print) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2549 ต่อมาได้พัฒนาเป็นวารสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2985-1475 (Online) ทั้งนี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นทางวิชาการ และวิจัยแก่นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทย และต่างประเทศที่มีความสนใจทางด้านสหสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง<span class="x193iq5w xeuugli x13faqbe x1vvkbs x1xmvt09 x1lliihq x1s928wv xhkezso x1gmr53x x1cpjm7i x1fgarty x1943h6x xudqn12 x3x7a5m x6prxxf xvq8zen xo1l8bm xzsf02u x1yc453h" dir="auto">ได้ดำเนินการจัดทำภายใต้เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อเข้าสู่</span>การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการในฐานข้อมูล TCI</p> <p>ปัจจุบันวารสารข่วงผญา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึง<em>ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</em></p> <p>ทั้งนี้ ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่ง ไม่ทราบชื่อกันและกัน <span style="font-size: 0.875rem;">(Double-blind peer review)</span></p> th-TH <p>1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ <br>2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> Panadda_noi@hotmail.com (นางสาวปนัดดา โตคำนุช) warapornphum@gmail.com (นางสาววราภรณ์ โยธาราษฎร์) Tue, 25 Jun 2024 11:49:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วิจิตราแห่งภูษา บาบ๋า-ย่าหยา : แต่งกายจากการผสานรูปแบบศิลปะข้ามวัฒนธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272741 <p>บทความฉบับนี้เป็นบทสรุปที่ได้จากการศึกษาเฉพาะเรื่องของผู้เขียน เรื่อง “เครื่องแต่งกายบาบ๋า-ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 โดยบทความชิ้นนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการผสานวัฒนธรรมการแต่งกายที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องแต่งกายบาบ๋า-ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และศึกษาองค์ประกอบเครื่องแต่งกายบาบ๋า- ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต การศึกษาครั้งนี้มีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยใช้แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์และการบันทึกภาพเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เขียนใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้มีกระบวนการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือ วารสาร บทความ และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผลจากการศึกษา พบว่าการแต่งงานเป็นกระบวนการที่สามารถกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานได้จากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของคู่สามีภรรยาที่มีการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกัน ซึ่งผลจากการผสานวัฒนธรรมมีการแสดงออกผ่านรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณี อาหาร สถาปัตยกรรม และเครื่องแต่งกาย</p> <p> </p> อริสา ศิริเจริญไชย Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272741 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 วั้ง: การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน สู่ศิลปะการแสดงร่วมสมัยชนเผ่าม้ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272743 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์วิธีการออกแบบท่าเต้นและกระบวนการสืบทอดการแสดงเต้นวั้งของชาวม้ง และ 2) วิเคราะห์บริบททางสังคมในการแสดงเต้นวั้งของชาวม้ง ซึ่งเป็นผลสรุปจากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของผู้เขียน เรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์การเต้นกระด้ง (วั้ง): กรณีศึกษาการแสดงชนเผ่าม้งร่วมสมัย โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 7 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 โดยใช้กระบวนการค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือ บทความ งานวิจัย และการแสดงที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันชนเผ่าม้งที่สามารถพัฒนาเป็นการแสดงร่วมสมัย และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยที่น่าสนใจ</p> <p> การเคลื่อนไหวในการแสดงของการแสดงชนเผ่าม้งเป็นการแสดงที่พัฒนาจากการสังเกตวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง และปัจจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันสู่การแสดง บทสรุปบทความนี้ พบว่า พื้นฐานการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันที่ปรากฏในการแสดงสามารถสะท้อนอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชนเผ่า เนื่องจากเป็นการแสดงที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตและบริบทของกลุ่มชาติพันธุ์ส่งผลให้ผู้ชมสามารถเข้าใจอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านท่าทางที่ใช้ในการแสดง อีกทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษาการท่องเที่ยว หรือเพื่อความบันเทิง ซึ่งสามารถรักษาและสืบสานการแสดงชนเผ่าให้คงอยู่ควบคู่กับชีวิตของมนุษย์ต่อไปได้ในอนาคต</p> จารวีพรรณ สุภารุจิรัตน์ Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272743 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 รากเดิมภาษาสู่จินตนาการและการตีความในดนตรีสมัยนิยม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272744 <p>บทความนี้เป็นบทความวิจัยที่ได้จากการศึกษาเรื่อง “การประพันธ์เนื้อร้องเพลงลูกกรุง ลูกทุ่งร่วมสมัย กรณีศึกษานายสุพิชา เทศดรุณ คณะสุเทพการบันเทิง” ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปะบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความนี้นำเสนอเรื่องฐานภาษาสู่จินตนาการและการตีความในดนตรีสมัยนิยม ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลโดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากหนังสือ บทความ บทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ออนไลน์ และบทสัมภาษณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประพันธ์เนื้อร้องโดยสัมภาษณ์นายสุพิชา เทศดรุณ โดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การประพันธ์เนื้อร้อง การใช้ภาษาในการประพันธ์เพลงมาวิเคราะห์ และเรียบเรียงออกมาเป็นบทความ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่าการใช้ภาษาในงานประพันธ์เนื้อร้องนั้น นอกจากจะใช้เพื่อการสื่อสารให้มีความชัดเจนและสื่อความหมายตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการแล้ว ผู้ฟังจะต้องมีวิจารณญาณในการชื่นชมผลงาน เพราะเนื้อหาในงานประพันธ์เนื้อร้องนั้นมีเนื้อหาที่หลากหลายทั้งเนื้อหาที่สามารถเข้าใจง่ายและเนื้อหาที่ซับซ้อน และดนตรี ก็เป็นส่วนที่สำคัญและขาดไม่ได้ในการประพันธ์เพลงและเสียงดนตรีที่ผสานกับเนื้อหาจะทำให้ผลงานเพลงมีความสมบูรณ์มากขึ้น</p> พิษณุ ไชยสุรินทร์ Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272744 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 ลายพิณอีสานร่วมสมัย: การผสมผสานแนวคิดที่เหนือ เส้นกรอบทางวัฒนธรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272745 <p> บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ลายพิณอีสานร่วมสมัยผ่านประสบการณ์และเทคนิคของศิลปินเนื้อหาของบทความจะกล่าวถึงเรื่องของการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมพื้นบ้าน และลักษณะของดนตรีพื้นบ้านอีสานสู่การผสมผสานแนวคิดทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดลายพิณอีสานร่วมสมัย โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างเพลงป๊อบในการวิเคราะห์บทเพลง</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ศิลปะการแสดงร่วมสมัยเกิดจากกระบวนการผสมผสานแนวคิด และเทคนิคการแสดงที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ลายพิณอีสานร่วมสมัยนั้นเกิดจากการนำรากฐานลายพิณสมัยโบราณมาประยุกต์ และปรับแต่งพัฒนาผ่านยุคสมัยเกิดเป็นลายพิณอีสานร่วมสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมดนตรีของภาคอีสานมากขึ้น และทำให้เครื่องดนตรีอีสาน พิณ เป็นที่รู้จักในสังคมปัจจุบันมากขึ้น</p> ภูวดล ใจหมั่น Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/article/view/272745 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700