@article{jittasevi_2020, title={ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศไทย: นัยยะทางการเมืองการปกครอง และธรรมาภิบาลในมิติภูมิภาค}, volume={10}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244396}, abstractNote={<p>     ประเด็นใหญ่ทางการต่างประเทศสาหรับประเทศไทยในต้นศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หนึ่งในมิติของประชาคมอาเซียนร่วมกับการเมืองและความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรม การมุ่งบรรลุเป้าหมาย AEC ปี ค.ศ. ๒๐๑๕ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและความกังวลเกี่ยวกับอาเซียนซึ่งจะมีอายุครบ ๔๘ ปีในปีนั้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งที่กระแสโลกและกระแสภูมิภาคโดยเฉพาะหลังสงครามเย็นได้ผลักดันให้เกิดการสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มานับแต่ ค.ศ. ๑๙๙๒ รวมเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้ว ณ วันนี้AEC จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นขั้นตอนสาคัญที่จะผลักดันกระบวนการบูรณาการเชิงลึกให้สมาคมอาเซียนก้าวขึ้นสู่ประชาคมอาเซียน ข้อกังวลเรื่อง AEC มักจะอยู่ที่การได้เปรียบเสียเปรียบของสมาชิกเช่นกรณีประเทศไทยว่า จะได้หรือเสียอะไรเมื่อเทียบกับสมาชิกอื่น มากกว่าจะอยู่ที่ผลได้ร่วมกันของทั้ง ๑๐ ประเทศในการแข่งขันระดับโลก อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์บ่งชี้ว่า โครงการ AEC ๒๐๑๕ ยังไม่ก้าวหน้าดังควรและผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อสมาชิกเช่นไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในอันดับต้นๆ นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาและที่สาคัญ คือ วิธีการปรับตัวสร้างความพร้อมของประเทศไทยนั่นเอง</p> <p>     ในปัจจุบันเรายังอาจจะยังไม่ได้ประเมินความสาคัญและผลของโครงการสร้างประชาคมภูมิภาคในนามของประชาคมอาเซียนครั้งนี้ตามความเป็นจริง ประสบการณ์การรวมกลุ่มภูมิภาคในโลกโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความก้าวหน้าในการบูรณาการทางเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการดังกล่าวประเทศต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการบริหารจัดการและการเมืองการปกครองซึ่งอาจจะรวมเรียกได้ว่า ปรับระบบการอภิบาลหรือระบบธรรมาภิบาล (governance) เพื่อให้สอดรับกับการก่อตัวของระบบธรรมาภิบาลภูมิภาคซึ่งในกรณีของอาเซียน คือ ระบบธรรมาภิบาลอาเซียน (Aseangovernance) บทความนี้มุ่งนาเสนอสถานะ โอกาส-อุปสรรค และทิศทางสาหรับประเทศไทยดังที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันใน AEC โดยคานึงถึงนัยยะทางการเมืองการปกครองและธรรมาภิบาลอันเป็นมิติสาคัญยิ่งสาหรับความชอบธรรมของโครงการ AEC เพราะโครงการนี้จะส่งผลทั้งทางกว้างและเชิงลึกแก่สังคมไทยโดยรวมอย่างเลี่ยงไม่ได้โดยที่ลาพังรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารไม่อาจดูแลและเป็นตัวแทนของประชาชนได้ในทุกด้าน การเมืองภาคตัวแทนในสภาอาจจะสามารถเข้ามามีบทบาทดังกล่าวเพื่อให้ประชาคมอาเซียนเป็นวาระของทั้งชาติและประชาชน จากนั้นจะเป็นการสารวจเบื้องต้นเกี่ยวกับประเด็นสาคัญ คือ นัยยะของประชาคมอาเซียนต่อท้องถิ่นในฐานะพื้นที่รองรับกิจการและผลสืบเนื่องทั้งหลายว่า จะมีหนทางสร้างสมรรถนะแก่ตัวแสดงระดับท้องถิ่นในการระบุภาระ วาระ และนโยบายในระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่? อย่างไร? อนาคตของประเทศไทยในประชาคมอาเซียนส่วนหนึ่งจะอยู่ที่ความสามารถในการเชื่อมโยงและจัดการความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ซึ่งในทุกระดับจะมีประชาชนเป็นทั้งตัวแสดงและเดิมพันของความสาเร็จหรือความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น<br><br></p>}, number={3}, journal={King Prajadhipok’s Institute Journal}, author={jittasevi, kajit}, year={2020}, month={Sep.} }