@article{issarachai_2020, title={วาระเลือกตั้ง :บทวิเคราะห์ว่าด้วยการเลือกตั้ง 2554 กับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมการเมืองไทย}, volume={9}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244441}, abstractNote={<p>     การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สาคัญจุดหนึ่งของการเมืองไทย ผลในเชิงรูปธรรมที่เห็นชัดที่สุดคือ การเข้ามามีบทบาทของ “การเมืองแบบมวลชน” ในการแทรกตัวเข้าสู่อานาจรัฐผ่านการเมืองแบบตัวแทนซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ของกลุ่มอานาจเก่าและกลุ่มทุนหรือเป็นปรากฏการณ์ “มวลชนาธิปไตย” การเลือกตั้ง 2554 จึงกลายเป็นเวทีต่อสู้ของแนวคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตยเสรีนิยมสมัยใหม่กับประชาธิปไตยแบบไทย จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า ความกระตือรือร้นและการไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างคึกคักในการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่ผู้เลือกตั้งต่างไปลงคะแนนเสียงในเชิงอุดมการณ์มากกว่าเชิงนโยบายหรือเชิงผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่จะได้รับ</p> <p>     นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อกาหนดเทคนิควิธีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสัดส่วนจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งผลต่อโครงสร้างการลงคะแนนเสียงที่เปลี่ยนไปและไม่ได้แก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของคะแนนเสียงให้ลดลงหรือเปิดพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองหน้าใหม่ๆ ขณะที่พรรคการเมืองในปัจจุบันที่กาลังถูกการเมืองแบบมวลชนแทรกตัวเพื่อเข้าสู่อานาจรัฐก็จาเป็นที่จะต้องบริหารจัดการทางการเมืองให้ตอบสนองต่อทุกฝ่ายได้ดีภายใต้ภาวะทางสองแพร่งของพรรคการเมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ อีกทั้งโครงสร้างสังคมในชนบทที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลต่อการเลือกตั้งและโครงสร้างสังคมการเมืองไทยในระยะยาวอีกด้วย</p> <p>     นอกจากการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านพรรคการเมืองและกระบวนการเลือกตั้งแล้ว แนวคิดประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา เป็นแนวคิดที่มาพร้อมกับแนวคิดประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภาและประชาธิปไตยพหุนิยม ตลอดจนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือกรอบความคิดประชาธิปไตยยอมรับแนวคิดประชาสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน โดยมองว่าขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมถือเป็นกลไกหนึ่งที่สาคัญในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย และการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง การเคลื่อนไหวของประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ ปรากฏออกมาในรูปลักษณ์ที่หลากหลาย</p> <p>     การปรากฏขึ้นของประชาสังคมในบริบทสังคมการเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นดุลอานาจใหม่ทางการเมือง ที่ทาหน้าที่ทัดทาน/ตรวจสอบ/ถ่วงดุลอานาจของประชาธิปไตยระบอบรัฐสภาแบบตัวแทน ประชาสังคมนับเป็นประชาธิปไตย ทางตรงรูปแบบหนึ่งซึ่งมิได้เข้ามาทดแทนประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา แต่เข้ามาเสริมระบอบประชาธิปไตยไทยในภาพรวมให้แข็งแกร่งขึ้น จากเดิมที่โครงสร้างอานาจทางการเมืองแบ่งแยกออกเป็นอานาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ แต่บทบาทที่เพิ่มขึ้นในทางการเมืองของพลังประชาสังคม ส่งผลให้ระบอบการเมืองไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่มิติใหม่ทางการเมือง นั่นคือ การที่ประชาสังคมเข้าไปถ่วงดุลอานาจกับอานาจสามฝ่ายข้างต้น เป็นเสมือนขั้วอานาจที่สี่เพิ่มเข้ามา ซึ่งนับเป็นการพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย</p>}, number={2}, journal={King Prajadhipok’s Institute Journal}, author={issarachai ัyuttaporn}, year={2020}, month={Sep.}, pages={48–73} }