@article{subkhampang_2020, title={สถาบันตุลาการไทย : ความท้าทายในการแสดงบทบาทอานาจหน้าที่ ในยุคปฏิรูปการเมือง กับความเชื่อมั่นของสังคม}, volume={8}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244514}, abstractNote={<p>     เมื่อกล่าวถึงอานาจอธิปไตย (Sovereignty) คิดว่าคนส่วนใหญ่คงนึกถึงทฤษฎีแบ่งแยก (การใช้)อานาจอธิปไตย หรือ Separation of Power ของมองเตสกิเอ (Montesquieu) ซึ่งถูกอ้างอิงทั้งในการศึกษาอบรม รวมทั้งระบบการเมืองการปกครองของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย</p> <p>     การนาหลักการตามทฤษฎีแบ่งแยก(การใช้)อานาจอธิปไตยมาใช้นั้น มีการประยุกต์เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศ แต่ละยุคแต่ละสมัย โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐอเมริกานั้น มีการแบ่งแยก(การใช้)อานาจอธิปไตย แบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อานาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ทั้งสามฝ่ายแบ่งแยกจากกันอย่างเด็ดขาด เรียกระบบการปกครองแบบนี้ว่าเป็น “ระบบประธานาธิบดี” ในขณะที่สหราชอาณาจักรนั้น อานาจอธิปไตยถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 ฝ่าย เช่นเดียวกัน แต่มิได้แบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อานาจออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กล่าวคือ รัฐบาลซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อานาจบริหารนั้น มีที่มาจากรัฐสภา โดยที่รัฐสภามีอานาจให้ความเห็นชอบผู้ที่จะมาใช้อานาจบริหาร ดังนั้น ฝ่ายบริหารต้องมีความรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ การบริหารราชการแผ่นดินต้องได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการและกลไกเพื่อการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance) ซึ่งกันและกันด้วย เราเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบรัฐสภา”</p>}, number={2}, journal={King Prajadhipok’s Institute Journal}, author={subkhampang, pattama}, year={2020}, month={Sep.} }