@article{vanapruk_2020, title={หนึ่งทศวรรษของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะชุมชน กรณีเตาเผาขยะชุมชน จังหวัดภูเก็ต}, volume={7}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244611}, abstractNote={<p>     มิถุนายน 2542 เตาเผาขยะชุมชนขนาด 250 ตันต่อวันมูลค่า 788 ล้านบาทในขณะนั้น เริ่มให้บริการกาจัดขยะมูลฝอยชุมชนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่งในจังหวัดภูเก็ต เตาเผาแบบตะกรับเคลื่อนที่ (Moving Grates) นี้มีอุณหภูมิเผาไหม้ในห้องเผา800-950oC และสามารถแปรความร้อนจากการเผาเป็นพลังงานไฟฟ้าขนาด 2.5 MWe (JICA, 2547) นับเป็นเตาเผาขยะชุมชนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ให้บริการกาจัดขยะชุมชนอย่างต่อเนื่องแห่งแรกของประเทศและยังคงเดินระบบให้บริการกาจัดขยะชุมชนพร้อมกับการผลิตกระแสไฟฟ้ามาจนถึงปัจจุบัน</p> <p>     ช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษของการใช้เตาเผาเพื่อกาจัดขยะชุมชนแห่งนี้ยาวนานเพียงพอที่จะให้บทเรียนและประสบการณ์แก่สังคมไทยในด้านการเลือกและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษา ตลอดจนโครงสร้างการบริหารจัดการและความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การทาสัญญาและการบริหารสัญญาเพื่อการลงทุนและการบริหารดาเนินการ เตาเผาขยะชุมชน จังหวัดภูเก็ตให้ประสบการณ์ทั้งด้านบวกที่ควรได้รับการพัฒนาขยายผลและด้านลบที่สังคมไทยควรได้ตระหนัก ศึกษาค้นคว้า ระมัดระวังและหลีกเลี่ยง ประสบการณ์ทั้งสองด้านนี้มีคุณค่าต่อการกาหนดทิศทางการจัดการขยะชุมชนของประเทศหากได้รับการรวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา นักวิชาการ ตลอดไปจนถึงภาคเอกชน</p> <p>     ท่ามกลางนโยบายส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน ขยะชุมชนกลายเป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาพลังงานทดแทน รัฐใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์กาหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ใช้ขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิง2 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับโครงการที่ใช้เทคโนโลยีกาจัดขยะชุมชนที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าช่วยให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนของสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนจึงให้ความสนใจในการลงทุนก่อสร้างและบริหารดาเนินการโครงการกาจัดขยะชุมชนที่สามารถผลิตพลังงานได้โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเตาเผา</p> <p>     ประสบการณ์หนึ่งทศวรรษของเตาเผาจังหวัดภูเก็ตจะเป็นประโยชน์แก่รัฐเพื่อทบทวนนโยบายด้านการจัดการขยะชุมชนและการสนับสนุนด้วยมาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทนซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะด้านการจัดการขยะชุมชนที่มักประสบปัญหาในการจัดหาสถานที่ก่อสร้างระบบกาจัดหรือกาลังประสบปัญหาในการเจรจากับภาคเอกชนที่แสดงความจานงค์จะมีส่วนร่วมในการลงทุนในโครงการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้ขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิง</p>}, number={1}, journal={King Prajadhipok’s Institute Journal}, author={vanapruk, pireeyutma}, year={2020}, month={Sep.} }