@article{boossabong_2020, title={การเข้าถึงวิถีประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน : ก้าวแรกสู่การพัฒนาการเมืองภาคประชาชน}, volume={6}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244662}, abstractNote={<p>     ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยตอนนี้ คือ การเกิดช่องว่างระหว่างการเมืองของรัฐซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนกับการเมืองของประชาชนที่เป็นโครงสร้างส่วนล่าง หรือ ที่กล่าวในภาษาที่เป็นวิชาการก็คือการเกิดช่องว่างระหว่างปรัชญาแห่งรัฐ (State Philosophy) ที่กาหนดโดยการเมืองแบบตัวแทน (ทั้งเลือกตั้งและแต่งตั้ง) กับวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน (Political Culture) ที่สร้างสมและเกาะเกี่ยวอยู่กับรากฐานทางวัฒนธรรม วิถีชิวิต ทุนทางสังคม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น</p> <p>     ภายใต้ช่องว่างดังกล่าว จึงไม่ผิดที่จะกล่าวว่ายิ่งรัฐมุ่งพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยนาปรัชญาแห่งรัฐมาถ่ายโอนสู่ประชาชน เช่น การให้ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ ระบอบและระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึง กลไกแบบที่ “นัก” ประชาธิปไตยพึงรู้ ยิ่งนาไปสู่การปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐกับประชาธิปไตยที่เป็นวิถีที่สอดรับกับวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบ “ชาว” ประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นเท่านั้น</p> <p>     จากข้างต้น โจทย์ที่ต้องหาคาตอบก็คือ จะลดช่องว่างที่นาไปสู่การปะทะกันดังกล่าวได้อย่างไร ซึ่งคาตอบหลวมๆที่คนไทยคุ้นชินกันดีก็คือ การสร้างดุลยภาพหรือสมดุลให้เกิดขึ้น ระหว่างประชาธิปไตยที่เป็นโครงสร้างส่วนบนกับประชาธิปไตยที่เป็นโครงสร้างส่วนล่าง นั่นคือ การหาทางสายกลางระหว่างประชาธิปไตยของภาครัฐกับประชาธิปไตยของภาคประชาชนนั่นเอง</p> <p>     ทั้งนี้ ความท้าทายอยู่ที่การหาคาตอบต่อเนื่องที่ว่า จะสร้างดุลยภาพดังกล่าวนั้นให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจุดเริ่มต้นก็คือ จาเป็นจะต้องทาความรู้จักวิถีประชาธิปไตยของประชาชนหรือชาวบ้านอย่างจริงจังเสียก่อน โดยต้องตระหนักว่า มิใช่ว่าสิ่งที่ “นัก” ประชาธิปไตยเสนอเท่านั้น ที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นั่นคือ ต้องฟัง สิ่งที่ “ชาว” ประชาธิปไตยเสนอด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าให้ถึงวิถีประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน เพื่อเคลื่อนไปสู่การพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะการเมืองภาคประชาชนที่ไปไกลกว่าการครอบงาความคิดด้วยประชาธิปไตยแบบจัดตั้ง แบบกลไก แบบมีแต่เปลือก และที่สาคัญคือ แบบที่ไปเดิมพันวิถีประชาธิปไตยที่เป็นทุนเดิมที่ภาคประชาชนมีอยู่ กระทั่ง ทาให้ต้องแลกว่าถ้าเอาประชาธิปไตยแบบรัฐ ก็ต้องเสียประชาธิปไตยแบบของตนเองไป เช่น ประชาธิปไตยเชิงสถาบัน กล่าวคือ ต้องเคารพผลการเลือกตั้ง และที่มาอันชอบธรรมของตัวแทน (Parliamentary Democracy) ปะทะอยู่เสมอกับวิถีประชาธิปไตยที่ว่าด้วยการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่ถูกทาให้หายไป แม้ว่าจะต้องทลายกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ก็ตาม (Radical Democracy) ซึ่งเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในปัจจุบันที่ความขัดแย้งไม่ใช่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ที่ต่างขั้วกันเหมือนในอดีตแต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งของผู้ที่อ้างประชาธิปไตยเหมือนกัน ทว่า เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เหมือนกัน และไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสองนครา หากแต่เป็นประชาธิปไตยแบบทวิภพ</p> <p>     บทความนี้ จึงขอนาเสนอผลการวิจัยในเบื้องต้นที่เป็นการถอดกายภาค (Anatomy) ของประชาธิปไตยแบบชาวบ้าน เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการเมืองแบบล่างขึ้นบน (Bottom up) หรือ การเมืองของภาคประชาชน อันจะนาไปสู่การเชื่อมภพของการเมืองสองมิตินี้ได้ต่อไป โดยเลือกศึกษาประชาธิปไตยในเชิงวิถี (Way of life) ที่แทรกอยู่ในสังคมอีสาน ในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นภูมิภาคที่การเมืองไทยมีส่วนไปออกแบบลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนี้ และในขณะเดียวกัน ภูมิภาคนี้ก็มีส่วนในการออกแบบการเมืองไทยเช่นเดียวกัน</p>}, number={2}, journal={King Prajadhipok’s Institute Journal}, author={boossabong, piyapong}, year={2020}, month={Sep.} }