TY - JOUR AU - Rukhamate, Pharkphoom PY - 2020/09/10 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัญหาความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ และที่มาของผู้บริหารในองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 : กรณีศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ JF - King Prajadhipok’s Institute Journal JA - KPI journal VL - 11 IS - 1 SE - Original Articles DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244358 SP - 92-115 AB - <p>     บทความชิ้นนี้ จะนาเสนอปัญหาความซ้ำซ้อนและความคล้ายคลึงของอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงประเด็นที่มาของผู้บริหารในองค์กรทั้งสอง ที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อนาไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงโครงสร้าง โดยผลการศึกษาพบความเหมือนกันของทั้งสององค์กรในประเด็น 1)อำนาจสั่งการให้บุคคล หรือหน่วยงาน ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งวัตถุ 2) การดำเนินการกรณีไม่ดำเนินการตามข้อเสนอ 3) การกำหนดบทลงโทษ มีความเหมือนกันในอำนาจในการลงโทษผู้ที่ไม่มาให้ข้อมูลหรือส่งหลักฐานและวัตถุพยาน4)พิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริง และตรวจสอบ เมื่อมีการร้องเรียน 5)การติดตาม ประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 6)รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกต 7) การเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 8) การเสนอเรื่องต่อศาลปกครอง สำหรับความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอานาจแตกต่างจากผู้ตรวจการแผ่นดินคือ การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย และกรณีผู้ถูกร้องเรียนเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันคือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ยกเว้น บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคลหรือเอกชน ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเท่านั้นที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนปัญหาด้านที่มานั้นยังมีปัญหาคณะกรรมการสรรหาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยึดโยงกับภาคประชาชน จากปัญหาทั้งความซ้าซ้อนและที่มาของผู้บริหารองค์กรทั้งสอง แนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาได้แก่ การมีองค์กรเดียวคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินที่ผนวกหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าด้วยกัน หรือมีองค์กรที่มีอานาจหน้าที่เฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน แต่มีอำนาจในฐานะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพิพากษาตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หรือทางเลือกที่สาม ที่มีทั้งสององค์กรแต่ต้องพัฒนาระบบการทางานว่าองค์กรทั้งสองจะสามารถทาหน้าที่สอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกันทำงานคนละมิติ ในส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาต้องมีส่วนหนึ่งมาจากภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน (Societal Actor) ส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)</p> ER -