TY - JOUR AU - charoensuk, cheerawat PY - 2020/09/11 Y2 - 2024/03/29 TI - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปรับตัวเพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน JF - King Prajadhipok’s Institute Journal JA - KPI journal VL - 10 IS - 3 SE - Original Articles DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244402 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;หลายทศวรรษที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าโลกของเรากาลังก้าวย่างเข้าสู่การรวมตัวกันในทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นการรวมตัวกันทางการทหารเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภัยคุกคามด้านการทหารได้ ค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับที่ไม่น่าหวาดระแวงเท่าไรนัก ประกอบกับชัยชนะของระบอบทุนนิยมที่มีต่อระบอบสังคมนิยม อันนาไปสู่สังคมแห่งการบริโภคนิยมอย่างเต็มที่ ประชาคมโลกจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการต่อสู้ทางการทหารมาสู่การต่อสู้แก่งแย่งแข่งขันระหว่างกันเพื่อให้เศรษฐกิจของตนเหนือกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่น และนั่นย่อมหมายถึงความสามารถในการบริโภคที่สมบูรณ์กว่าประชาชนของประเทศอื่นด้วย</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะมีความพยายามรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน แต่ก็นับว่าเป็นการรวมตัวที่ค่อนข้างคลุมเครือหละหลวม ทั้งนี้เป็นเพราะความแตกต่างในหลากหลายมิติ อาทิ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออาเซียนพบว่า การรวมตัวของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งในท้ายที่สุดกลายเป็นสหภาพยุโรป ได้ส่งผลให้มวลสมาชิกเหล่านั้นมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารในระดับโลกมากแค่ไหน ประกอบกับเมื่ออาเซียนพบว่า ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกกาลังมีแนวโน้มที่จะจับมือรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อมุ่งสู่การช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทาให้อาเซียนจาต้องหันหน้าเข้าหากันและเสาะแสวงหาแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉกเช่นเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;เป้าหมายสูงสุดของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้แก่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 จึงทรงความหมายอย่างยิ่ง นอกจากการได้รับประโยชน์จากความร่วมมือทางด้านการเมืองการทหาร และด้านสังคมวัฒนธรรมแล้ว การรวมตัวกันยังนาไปสู่การกลายเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดมหึมาของโลกด้วยจานวนประชากรเกือบ 600 ล้านคน รวมถึงนาไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนการทามาค้าขายระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้นด้วยการปลดล็อคกฎเกณฑ์ทางการค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ สาหรับประเทศไทยในฐานะที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เฉกเช่นเดียวกันประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ทุกภาคส่วนของไทยจึงต้องเฝ้าจับตามองการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้เพื่อนาไปสู่การปรับตัวขององค์การภาครัฐให้สอดคล้องเหมาะสมต่ออนาคตที่กาลังจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยทางการปกครองระดับล่างที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องศึกษาทาความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับท้องถิ่นของตนจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้แก่การสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นเป้าหมายเดียวกันกับเป้าหมายของประชาคมอาเซียน หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาคมอาเซียน ย่อมส่งผลกระทบมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะเดียวกันนั่นเอง</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้นกับท้องถิ่น และเสนอแนะแนวทางแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อเกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2558 โดยหวังว่าเมื่อถึงวันนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถเป็นที่พึ่งที่หวังให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีความกินดีอยู่ดี รวมถึงทาหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นไทยไม่เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน</p> ER -