TY - JOUR AU - preechasinlapakun, somchai PY - 2020/09/21 Y2 - 2024/03/29 TI - การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง JF - King Prajadhipok’s Institute Journal JA - KPI journal VL - 7 IS - 1 SE - Original Articles DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244609 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ระบบเลือกตั้งเป็นประเด็นปัญหาสาคัญประการหนึ่งที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้ เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ได้กาหนดให้มีระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ โดยในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมี ส.ส. ได้ไม่เกิน 3 คน และผู้มีสิทธิลงคะแนนก็สามารถลงคะแนนได้เท่ากับจานวน ส.ส. ที่จะมีในเขตนั้น และบุคคลที่ได้รับเลือกก็จะเรียงตามคะแนนจากมากไปหาน้อย2 ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้แก้เปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ส.ส. โดยกาหนดให้มีการเลือกตั้ง 2 รูปแบบ3 คือ แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่กาหนดให้เป็นลักษณะที่แต่ละเขตจะสามารถมี ส.ส. ได้เพียง 1 คนเท่านั้น และระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งประชาชนจะเป็นผู้ลงคะแนนให้กับแต่ละพรรคการเมือง โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อก็จะเป็นไปตามสัดส่วนของจานวนคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจากการเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งอีกครั้งด้วยการหันกลับไปใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ดังที่เคยเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ผสมกับระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนซึ่งแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งซึ่งปรากฏขึ้นเกือบทุกครั้งที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ระบบการเลือกตั้งในห้วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนและได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็อาจถูกอธิบายหรือให้ความหมายไปในทิศทางตรงกันข้ามแม้จะมีการใช้รูปแบบดังกล่าวไปเพียงชั่วระยะเวลาไม่นาน ดังรูปแบบการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในระยะแรกได้รับการเห็นชอบอย่างกว้างขวางจากหลายฝ่าย แต่ต่อมาเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ระบบการเลือกตั้งแบบนี้ก็กลับถูกพิจารณาว่าเป็นปัญหาของการเมืองไทยและนามาสู่การกาหนดระบบการเลือกตั้งในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ปัญหาสาคัญประการหนึ่งซึ่งมักเป็นเป้าหมายของการออกแบบระบบการเลือกตั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาปัจจุบันก็คือ ปัญหาการทุจริตเลือกตั้งอันจะนามาซึ่งผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักพื้นฐานของระบบการเลือกตั้ง</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;เป็นที่คาดหมายได้ว่าในท่ามกลางความพยายามแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองหรือ “การปฏิรูปการเมือง” ระบบการเลือกตั้งก็จะเป็นถกเถียงกันอีกครั้งหนึ่งในอนาคตไม่ไกลข้างหน้า อย่างไรก็ตาม จะพบว่าในการถกเถียงเพื่อพิจารณาถึงระบบการเลือกตั้งกับการทุจริตนั้น มีการให้ความสาคัญกับใช้ข้อมูลทั้งในทางประวัติศาสตร์และในการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อนามาเป็นฐานความรู้ในการออกแบบระบบการเลือกตั้ง ดังจะเห็นได้จากการนาระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นระบบที่ป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งได้ทั้งที่การเลือกตั้งในรูปแบบนี้เป็นจุดกาเนิดของ “โรคร้อยเอ็ดระบาด” หรือการซื้อขายเสียงของนักการเมืองในทศวรรษ 2520</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้ต้องการนาเสนอแนวคิดในการพิจารณาระบบการเลือกตั้ง ข้อมูลระบบการเลือกตั้งและการทุจริตที่ได้มีการศึกษาขึ้นในต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบเลือกตั้งกับการทุจริตและรวมถึงปัจจัยสาคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต</p> ER -