วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu <p>วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่และ ถ่ายทอดความรู้ทางกฎหมายและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจากคณาจารย์ นักศึกษา นักกฎหมาย และผู้สนใจทั่วไปไปสู่สังคมและชุมชน&nbsp; ให้นักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้า อ้างอิงทางวิชาการต่อไป&nbsp; วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดรับบทความในสาขานิติศาสตร์ และที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ : </strong><em>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย </em><em>2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</em></p> <p><strong>ประเภทของบทความ :&nbsp; </strong><em>บทความวิจัย (</em><em>research article) บทความวิชาการ (original article) บทความปริทัศน์ &nbsp;(review article) และหรือบทความวิจารณ์หนังสือ (book review)</em></p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong>ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก :&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร :</strong>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี th-TH วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1906-1560 <ol> <li class="show">บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร.....เป็น</li> <li class="show">ข้อเสนอแนะในบทควมเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่ง...</li> <li class="show">&nbsp;</li> </ol> กรณีศึกษาเกี่ยวกับ การคุ้มครองสิทธิผู้เสียภาษีอากรที่ได้รับเงินค่าใช้ที่ดินเพื่อการติดตั้งเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84733 <p>การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 ออกคำสั่งทางปกครองเข้าไปใช้ที่ดินของประชาชนเพื่อวางเสาไฟฟ้าแรงสูงตามแนวสายส่งที่กำหนดเพื่อจ่ายไฟให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อไปจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชน อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป ซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด โดยรัฐได้จ่ายค่าใช้ที่ดินแก่เจ้าของที่ดินนั้น โดยกรมสรรพากรได้วินิจฉัยตีความว่า เงินได้ที่เจ้าของที่ดินได้รับต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การศึกษาเรื่องนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ผู้ได้รับเงินดังกล่าวสมควรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา</p><p>ผลการศึกษาพบว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามกฎหมายเข้าไปใช้ที่ดินของประชาชนเพื่อตั้งเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่จัดทำบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน โดยออกคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น เงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อบรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายที่ได้รับจากการใช้อำนาจของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในกรณีนี้จึงสมควรได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อมิให้เกิดปัญหาการตีความจึงควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน</p><p> </p><p><strong>The Protection Of Taxpayer Right : Case Study Of The Imposition Of Personal Income Tax For Use The Land Of The Electricity Generating Authority Of Thailand</strong><strong></strong></p><p class="NoSpacing">The Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) ,which is the state enterprise by virtue of the Electricity Generating Authority of Thailand Act BE 2511, issued an administrative order to use the land of the people to bone struct the high voltage transmission towers supplying lines for the electric current to the Provincial Electricity Authority and the Metropolitan Electricity. The ultimate goal is to sell electricity to the public, which is An act for the common benefit of the public interest. The EGAT. pay the compensation for use the land to the land owners. In the case, The Revenue Department of Thailand is stipulated that the compensation for use the land to the land owners should not be exempted from personal income tax. The objective to study is to find out whether the compensation for use the land to the land owners should be exempted personal income tax or not.</p><p>The study shows : The compensation received from the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) in this case it should be exempted from the personal income tax. And to prevent problems of interpretation there should be law revision.</p> รังสรรค์ หลวงเมือง Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 107 138 การพัฒนาวิทยากรเครือข่ายภาคประชาชนในรูปแบบ “อาสาสมัครสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการชุมชน” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84716 <p>การศึกษาโครงการวิจัย “การพัฒนาวิทยากรเครือข่ายภาคประชาชนในรูปแบบ “อาสาสมัครสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการชุมชน” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เครือข่ายภาคประชาชนที่สมัครใจเป็น “อาสาสมัครสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการชุมชน” ให้มีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิได้รู้ การเข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารของราชการจนสามารถเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ ให้คำแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปได้ โดยนำระบบสังคมออนไลน์มาใช้สร้างเครือข่าย และเพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐให้มีความโปร่งใสผ่านกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้จัดประชุม สัมมนา อบรมการใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการและประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมและเก็บข้อมูลความคิดเห็นใน 12 พื้นที่ของประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 807 คน โดยการฝึกใช้คู่มือการเข้าถึงสิทธิและการสร้างเครือข่ายผ่านสังคมออนไลน์ คือ เฟ๊สบุ๊ค ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ การวิจัยครั้งนี้จึงเสนอแนะให้ควรมีกระบวนการให้ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้ให้กว้างขวางมากขึ้นโดยใช้คู่มือการเข้าถึงสิทธิเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้จะสามารถส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐให้มีความโปร่งใสได้เป็นอย่างมาก และควรใช้ระบบสังคมออนไลน์มาเป็นสื่อเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างอาสาสมัครของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการจะเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกฎหมาย และข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจสิทธิและสร้างความร่วมมือจากประชาชนเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐต่อไป</p><p> </p><p><strong>The Development of a Network of Public Instructors in Format Volunteer of Office of Official Information Community to Disseminate Knowledge and Understanding Concerned with Official Information Law</strong></p><p style="text-align: left;">This research project is known as “the development of a network of public instructors in format volunteer of office of official information community to disseminate knowledge and understanding concerned with official information law”. It aimed to increase the knowledge and understanding of official information law of the volunteer’s network. It enables them to have knowledge and understanding about the right to know, access to information and utilize the official information in order to become the instructor who can provide knowledge and advice to people by using social network. It also promotes the proceeding in which the public participation is desirable in order to ensure the <em>transparency of government</em><em> </em>operations<em> </em>through the official information law. The activities in this research project include conferences, and seminars with manual, while at the same time this project involves collection of opinion, brainstorming, and focus group in order to educate and train the volunteers, who are 807 participants from 12 different areas in Thailand. This allows them to recognize and understand the right to know and utilize the benefit of the official information law by using the manual of the right to access information and also relying on online social network as facebook. The study showed that most participants still lack knowledge and understanding of the law on official information. This final report recommended that there should be a process which provides knowledge of the law with the extensive use of manual for access to right as a tool in the dissemination of knowledge in accordance with the laws of the state government. This will also help to ensure <em>the transparency of government</em><em> </em>operations. There should be use online social networking system in order to connect the volunteer with the office of official information and this can also be used as channels to disseminate and exchange knowledge of the law and information as well. This will lead to the recognition of the rights and encourage the public participation in order to ensure the <em>transparency of government</em><em> </em>operations.</p> กฤษฎา ใจแก้วทิ Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 1 15 Maternal surrogacy and reproductive tourism in Thailand: a call for legal enforcement https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84719 <p>Legal constraints and high costs on access to technologies have led an increasing number of patients to cross international borders to have children. This phenomenon has rapidly increased in the past few years and Thailand has become one of the major international commercial surrogacy destinations providing assisted reproductive services to individuals from all over the world at affordable costs. Most of the time, reproductive agreements have lead to a positive outcome satisfying all parties involved: intended parents, gestational carriers, private clinics and agencies. In some cases, however, reproductive arrangements have given rise to legal issues and generated controversies in terms of protection of intended children, legal parenthood and enforceability. In order to minimize some of these undesired outcomes, Thai authorities should enforce new legislations to cope with this issue, potentially using United Kingdom or Israel as model. The new legal framework should balance all parties’ interests and guarantee a regulated way of engaging in surrogacy in the child’s interest</p><p> </p><p>เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทนอย่างชัดเจนส่งผลให้ธุรกิจการท่อง เที่ยวเชิงการแพทย์เพื่อการสืบพันธุ์ในประเทศไทยเติบโตในอัตราค่อนข้างสูงชาวต่างชาติหลาย ครอบครัวเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือข้อบังคับ ของแพทยสภาในมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ในปี 1997 และ 2001(ประกาศ 1/2540 และ 21/2545) ข้อตกลงส่วนใหญ่นำไปสู่ผลประโยชน์ที่ดีสอดคล้องกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง: ผู้ที่ขอให้มีการตั้งครรภ์แทน, ผู้ตั้งครรภ์แทน, สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบางกรณีการตั้งครรภ์แทนอาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและสร้างการถกเถียงกันในแง่ ของการคุ้มครองเด็ก, บิดามารดาที่ถูกต้องตามกฎหมายและวิธีการบังคับใช้เพื่อที่จะลดผลที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ประเทศไทยควรกำหนดข้อกฎหมายใหม่เพื่อ ควบคุมปัญหาโดยอาจจะใช้สหราชอาณาจักรหรือประเทศอิสราเอลเป็นแนวทางในการร่างข้อกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่ายและที่สำคัญเพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดจากการรับตั้งครรภ์แทน</p> Alessandro Stasi Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 17 36 กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย: ศึกษากรณีการควบคุมและตรวจสอบอำนาจรัฐและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84721 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ค.ศ.1993 ในมุมมองทางด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณของประชาชนในชาติต่อกระบวนการในการตรากฎหมายทั้งของสหภาพโซเวียตและสหพันธรัฐรัสเซีย แนวความคิดในการสถาปนารัฐธรรมนูญ การทบทวนและแก้ไขรัฐธรรมนูญทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญรวมถึงแนวความคิดของนักปรัชญาที่มีผลต่อกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะทำการศึกษาถึงภาพรวมของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซียทั้งฉบับ เช่น โครงสร้างของรัฐธรรมนูญต่อกระบวนการในการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจรัฐ เช่น การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยสภานิติบัญญัติ การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรศาล หรือโครงสร้างของรัฐธรรมนูญต่อกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือทบทวนรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น</p><p> </p><p><strong>Constitution Law of the Russian Federation: Case Studies of Control and Monitoring of State Power and Constitutional Amendments</strong></p><p>This article aims to propose general principles of the 1993 Constitution of the Russian Federation on the aspects of theories and history. To study the historical background influencing to people’s spirit and the process of law enactments of the Soviet Union and the Russian Federation, concept of establishment of the constitution, revisions and amendments of the constitution, theories relevant to the supremacy of the constitution as well as concepts of philosophers influencing to the process of constitutional draft. Meantime, examine the general overview of the Constitution of the Russian Federation, including constitution structure for check and balance, for example, controls and checks of power exercise by the legislature and power exercise by courts, constitution structure for the process of constitutional revision and amendment, or revision of the Constitution of the Russian Federation.</p> ชูชีวรรณ ตมิศานนท์ Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 37 70 ปัญหาและแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84726 <p>ปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย<strong> </strong>คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการ การแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ในการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานฝ่ายปกครอง ทหาร ตํารวจ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ ศาล กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์<strong> </strong>จากการศึกษาได้พบปัญหาต่างๆดังนี้<strong> </strong>ปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ได้แก่ ปัญหาประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ปัญหาความเป็นกลางและอิสระของพนักงานสอบสวน ปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา ปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นศาล ได้แก่ ปัญหาการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในส่วนของการพิจารณาคดีอาญาและการพิจารณาคดีแพ่ง ปัญหาในการพิจารณาคดีแรงงานของศาลแรงงานประกอบด้วย ปัญหาการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลฎีกาปัญหาระบบโครงสร้างศาลแรงงาน ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาของศาลแรงงาน ปัญหาระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาสมทบ ปัญหาเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีแรงงาน และปัญหาลูกจ้างไม่มีทนายความช่วยร่างฟ้องและดำเนินคดีแรงงาน ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การค้นหาความจริงในคดีภาษีอากรและปัญหาการแพ้ชนะคดีโดยอาศัยเทคนิคของกฎหมายวิธีพิจารณาความ ปัญหาว่าการกระทำเพียงเป็นการโต้แย้งสิทธิในคดีมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ปัญหาภาระการพิสูจน์ ปัญหาระยะเวลาในการดำเนินคดียุ่งยากซับซ้อน ปัญหาเรื่องการกำหนดค่าเสียหาย ปัญหาการดำเนินคดีอาญาสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังไม่มีการแยกประเภทคดีให้ชัดเจนและปัญหาการใช้ดุลพินิจในการลงโทษผู้กระทำความผิด ปัญหากระบวนการยุติธรรมของศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ ปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นบังคับคดี ได้แก่ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขายทอดตลาดที่มีช่องว่างในทางปฏิบัติเรื่อง การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของบุคคลภายนอกเพื่อประวิงคดี ที่ต้องให้ศาลพิจารณาก่อน อันเป็นผลให้การขายทอดตลาดล่าช้า และการไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายหลักที่ชัดเจนในการให้ภาคเอกชนดำเนินการบังคับคดี ปัญหาหลักในการบังคับคดีในทางอาญา ได้แก่ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง นอกจากนี้ยังพบปัญหาประชาชนบางส่วนยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเนื่องจากระบบกฎหมายของไทยยังไม่ครอบคุลม ล้าสมัยและถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่คนรวย รวมทั้งยังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางปัญหาความไม่เป็นระบบขาดประสิทธิภาพ ของการบริหารงานยุติธรรมของประเทศไทย ทำให้การทำงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกิดความซ้ำซ้อน มีหลายหน่วยงาน ขาดทิศทาง ขาดความเชื่อมโยงกันและปัญหาของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก มีความล่าช้า มีค่าใช้จ่ายมาก ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง และกระบวนการยุติธรรมขาดศักยภาพในการพัฒนาทางเลือกให้กับประชาชน และกระบวนการพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่สำคัญที่สุดคือ การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก และการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เพื่อให้รัฐมีกลไกได้รับรู้การดำเนินการของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก โดยเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนั้น และการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้บังคับให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้บังเกิดผลดี ความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงแก่ สังคม บ้านเมืองและประเทศชาติต่อไป </p><p> </p><p><strong>Problems and Solutions in the Development of Justice System of Thailand</strong></p><p>In Thailand, problem of Justice System is found in the conflict resolution in the Thai society, justice enhancement process to the people by the personnel, organizations or institutes where their responsibilities relate to the legislation process and law enforcements such as,Government Officer, Administrative Official, Soldier, Police Official, Judge, Public Prosecutor, Attorney at Law, Court, Ministry of Justice and Department of Corrections.</p><p>This paper found that there are many problems of Justice System as follows; (i) problems of Justice System during criminal inquiry such as, problem regarding effectiveness of criminal inquiry, problem regarding neutrality and independence of inquiry official, problem regarding protection of the right and liberty of accused person, (ii) problems of Justice System during court proceeding such as, problem regarding court proceeding in criminal and civil case of Court of Justice, problem regarding court proceeding of Labour Court; problem regarding no appeal on questions of fact, problem regarding hearing on the questions of fact of Supreme Court of Thailand, problem regarding system of Labour Court structure, problem appointment and removing from the position of judges of Labour Court, problem regarding appointment of Lay Judges, problem regarding costs of labour case, and problem regarding lack of lawyer to represent him to file the case with the Labour Court, problem regarding fact finding in tax cases and problem regarding wining/losing the case with the technique of procedure law, problem regarding action is merely the argument in pollution case from environment, problem regarding burden of proof, problem regarding period of time of procedure for proceeding the complicated-cases, problem regardingfixing the compensation for damage, problem regardingprocedure for proceeding the criminal environment cases which are not classifiedproperly and problem regarding decision the discretion of court to punish the offender, and problem regarding Justice System of Administrative Court and Constitutional Court, (iii)problems of Justice System during legal execution such as, problem regarding auction where its gap found in practical way in connection with motion for release the property of third party in order to delay the case; where such motion shall be submitted to the court for consideration, this led to the auction being postponed; moreover, there is no law empowering the private sector to carry out the legal execution,main problems regarding criminal execution such as, excessiveness of prisoners, lack of correction officer and problem regarding rights of prisoners.</p><p>In addition, this paper found that some groups of people who cannot access to Justice System due to incomprehensiveness, backwardness and giving the advantages to rich people of Thailand law system; moreover, widely corruption problem, non-systematic problem and lack of effectiveness of Justice Administration in Thailand. All of these reasons led to functional system of Justice System, which is complicated, lack of definite goal, lack of connection among its divisions, and finally led to the Mainstream Justice has the following problems; delaying, high costs, widely access to Justice System of people, lack of effectiveness of development for people’s Justice System. From this study the paper asserts that<strong> </strong>The most important thing for justice system development is the improvement of laws, rules, regulations relating to mainstream justice system and alternative justice system. The ultimate goal is to encourage the state to adopt some mechanisms that recognize the functions of alternative justice system. Also to be emphasized is the state officials’ active participation in any respective aspects. Likewise, the state officials should improve their duty performance. The information technology of all agencies in the justice systems need to be changed and improved so as serve the fast-changing working system in the future. As a matter of fact, the information technology systems of all agencies in the justice system should be synchronized in the same system. All of these changes are to ensure social justice and suitability for current society. They are also to project the good moral and security in the society and in the nation alike.</p> ประดิษฐ์ แป้นทอง Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 71 86 หลักนิติธรรมกับการลงโทษจำคุก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/law_ubu/article/view/84730 <p>หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ถือเป็นหลักการพื้นฐานของการบังคับใช้โทษจำคุก (Imprisonment) เนื่องจากหลักนิติธรรม เป็นรากฐานที่สำคัญการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐสมัยใหม่ต้องยึดหลักนิติธรรม เป็นหลักการพื้นฐานของการปกครอง และออกกฎหมายที่ดีที่จะนำไปบังคับใช้กับประชาชนในรัฐ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ สิทธิขั้นพื้นฐาน อันเป็นสากล ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่าหลักนิติธรรมสำหรับผู้ต้องโทษจำคุก ยังไม่มีการกล่าวอ้างถึง หลักนิติธรรมในส่วนกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ยังคงให้ความสำคัญเฉพาะผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนหรือผู้ต้องขังก่อนพิจารณาคดีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ต้องโทษจำคุก ก็จะนำตัวไปขังไว้ตามระยะเวลาของคำพิพากษาในเรือนจำ ซึ่งการใช้โทษจำคุก ผู้ต้องโทษจำคุกย่อมได้รับผลกระทบต่อ ร่างกาย จิตใจ หรือบุคลิกภาพ ผลกระทบเหล่านี้ การใช้หลักนิติธรรมในมิติที่เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือสิทธิขั้นพื้นฐาน อันเป็นสากล ย่อมมีประโยชน์ต่อผู้ต้องโทษจำคุก เพราะหลักนิติธรรมเป็นหลักการพื้นฐานของการใช้โทษจำคุก เมื่อผู้ต้องโทษจำคุกพ้นโทษไปแล้ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเช่นคนปกติทั่วไปในสังคม ไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ อันเป็นการป้องกันสังคมได้อย่างแท้จริง</p><p> </p><p><strong>The Rule of Law and Imprisonment</strong></p><p>The Rule of Law is a basic legal principle. It provides foundation for democracy. The modern state must be served by the Rule of Law as a fundamental principle of administration. Good legislation needed to enforce the people in the state must comply with principles of human rights, dignity or a universal fundamental right. The Rule of Law related to prisoners has not been mentioned. The Rule of law regarding Criminal Justice System focuses on pre-trial prisoners. When an offender is sentenced to prison according to the duration of the court sentences, he/she will get physical and mental impacts including personality. Using the Rule of Law related to principles of human rights, dignity or a universal fundamental right is useful for prisoners. As a result of imprisonment under the Rule of Law, the offender can live in a society as a normal person, there will be no recidivism and it can really protect the society.</p> ศลทร คงหวาน Copyright (c) 2017 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani law journal) 8 16 87 106