วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ th-TH วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 3027-656X <div class="entry_details"> <div class="item copyright"> <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> </div> </div> หมอกร้ายกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/259128 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาหมอกควันข้ามแดนบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ที่ยังประสบปัญหา หมอก ควันพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้านมาปกคลุมบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผลให้ประชาชนชาวไทยได้รับอันตรายต่อสุขภาพ</p> <p>ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับควันพิษหรืออากาศเสีย รัฐก็จะเข้าไปควบคุมดูแลให้<br />ผู้ก่อมลพิษให้หยุดกระทำการทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของมลพิษและอาจเป็นอันตราย<br />ต่อประชาชน ซึ่งมาตรการภายในประเทศรัฐใช้กฎหมายควบคุมได้ดีแต่นอกประเทศรัฐบาลยังไม่มีมาตรการ<br />ที่จะหยุดยั้ง แก้ไขสถานการณ์ และเรียกร้องให้ประเทศผู้ก่อภัยชดใช้ค่าเสียหายจากการก่อมลภาวะข้ามแดน <br />รัฐจึงต้องหาแนวทางร่วมกับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ให้ประเทศผู้ก่อภัยต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ประเทศไทยด้วย เช่น คดี The Trail Smelter Case ปี 1938 ที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดาเคยมี<br />ข้อพิพาทกันกรณีบริษัทถลุงโลหะที่ตั้งอยู่แคนาดาที่เมือง Trail ปล่อยมลพิษทางอากาศ กลิ่น และควันพิษ<br />ข้ามแดนมายังเขตของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจึงฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีผ่านคณะอนุญาโตตุลาการและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (PCIJ) สหรัฐอเมริกามีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการก่อมลภาวะข้ามแดน<br />จากประเทศแคนาดาได้ ซึ่งทำให้นานาประเทศหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการการชดใช้ความเสียหาย<br />ที่เกิดขึ้น เพราะควันพิษแบบจริงจัง เพื่อหาข้อยุติ หาบทลงโทษแก่ผู้ก่อภัยและปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม<br />อีกทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยประชาชนในประเทศ </p> ณฐมน ทองมี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 1 15 หลักการมีส่วนร่วมและการจัดทำบริการสาธารณะด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/263275 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณทะเลและชายฝั่ง หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อประเทศ แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลให้ทรัพยากรดังกล่าวมีการเสื่อมโทรมลง และไม่มีสิ่งใหม่ทดแทน ซึ่งสาเหตุหลักของการเสื่อมโทรมเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่เข้าบุกรุกทำประโยชน์ในพื้นที่อันเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ และภาครัฐไม่ได้มีการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ &nbsp;ซึ่งสิ่งที่จะช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น หลักแนวคิดที่สำคัญได้แก่ หลักการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและภาคประชาชนและหลักการบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนชายฝั่ง ซึ่งในการวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายพบว่าทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของภาครัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน และเน้นถึงหลักการมีส่วนร่วมควบคู่ไปกับหลักบริการสาธารณะ หากทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงลดการทำลายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ &nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> ศิริชัย กุมารจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 33 48 English and Inferiority Complex among Legal Professionals In Thailand. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265266 <p><em>Most law professionals in Thailand suffer from inferiority complex due to their lack of competency in the English language. They feel insecure and fearful to speak in English. They even feel threatened that they might face competition and might lose to English speakers. This paper uses the data collected through quantitative research done by a master’s student, titled, ‘Perception of English language Problems and Need in Thai Lawyers.’ While the paper analyses the problems and needs, this paper takes the same data provided to justify the claim that most laws professionals in Thailand suffer from inferiority complex, through qualitative data analysis. It was found that inferiority complex among Thai lawyer is real when it comes to the English language and proposes English for Specific Purposes (ESP) as a solution, something the master’s student herself proposes.</em></p> Santhira Morgan Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 49 57 แนวทางการปรับตัวของชาวประมงทะเลไทยภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/260911 <p>แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน สังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภค ที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals: SDG 14 Life below water เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าประเทศไทยของเรามีการใช้ทรัพยากรทางท้องทะเลเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ในปริมาณมากทั้งการประมง การเดินเรือ การขนส่งรวมถึงด้านพลังงานจากพวกก๊าซ แก๊สและเชื้อเพลิง และจำนวนรายได้ที่ได้มาจากผลประโยชน์ทางทะเลยังคงตกอยู่ในมือของประชาชนชาวไทยเพียงส่วนน้อย อีกทั้งการใช้ทรัพยากรเป็นไปโดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืน การดูแลรักษาหรือไม่คำนึงถึงการทำอย่างไรให้ทรัพยากรทางทะเลยังคงอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ได้ประโยชน์ได้จนถึงประชาชนรุ่นถัดไป ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจสีน้ำเงินคือ “ความยั่งยืน” บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการปรับตัวของชาวประมงทะเลไทยภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ดังนี้ 1) ส่งเสริมการทำประมง โดยการควบคุมดูแลและพัฒนาการประมงขนาดเล็กเพื่อให้มีศักยภาพและสามารถทดแทนการประมงขนาดใหญ่ได้บางส่วน จะทำให้ผู้บริโภคภายในประเทศมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่จับได้จากการประมงขนาดเล็กจะถูกบริโภคโดยมนุษย์ ไม่ได้<br />ถูกนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ 2) การสนับสนุนของประชาชนและชุมชนในการจัดการทรัพยากร โดยการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการจัดการทรัพยากร การดูแลทรัพยากร และรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง 3) การส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง4) การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่ง 5) การส่งเสริมภาคประชาชนให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงการนำหลักการความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับอาชิพหรือธุรกิจที่ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางท้องทะเล 6) สร้างการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โดยการเน้นชาวประมงให้มีส่วนร่วมในด้านการลดมลพิษทางทะเล อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี</p> อรวรรณ อินสตูล สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์ สืบสวัสดิ์ วุฒิวรดิษฐ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 100 129 การพัฒนากฎหมายในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/261876 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และความไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบ<br />ต่อประสิทธิภาพในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังมีปัญหาและความไม่เหมาะสมที่จะทำให้<br />ได้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ องค์ประกอบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ขาดองค์กรเอกชน บทลงโทษเจ้าของโครงการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และคณะกรรมการผู้ชำนาญการข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ได้เสนอแนะ แก้ไขให้มีองค์กรเอกชนทางด้านสิ่งแวดล้อม<br />เป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมสำหรับเจ้าของโครงการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กำหนดให้ผู้นำชุมชนและประชาชนเป็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการและเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ</p> สุระทิน ชัยทองคำ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 16 32 แนวทางการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและมาเลเซีย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/266340 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายมาเลเซีย<br />ที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยการใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสารศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมและไม่มีสภาพบังคับในการประกอบอาชีพนี้ ส่งผลให้บุคคลใดก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกนายหน้าหลอกลวง ทั้งนี้ เพราะไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาต รวมถึงบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทุจริตหลอกลวงผู้บริโภค</p> <p>ข้อเสนอแนะของงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอให้ออกกฎหมายหรือมาตรการในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต (2) องค์กรที่เข้ามาควบคุม และ (3) บทลงโทษ</p> <p> </p> สรวิชญ์ ตะเอ อานนท์ ศรีบุญโรจน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 58 71 กฎหมายต้นแบบว่าด้วยแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/268016 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1.)เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับแบบของสัญญา<br />ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (2.) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแบบของสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (3.) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (4.) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และสัมภาษเชิงลึก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องแบบของสัญญาที่แตกต่างกับประเทศอื่นที่เป็นภาคีในอนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อคู่สัญญาต้องเลือกกฎหมายที่ใช้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศย่อมไม่เลือกใช้กฎหมายไทย หรือเลือกใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ คู่ค้าฝ่ายไทยมักมีอำนาจต่อรองต่ำเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น หรือในกรณีที่ต้องเลือกกฎหมายของประเทศอื่น จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่ต้องใช้กฎหมายของต่างประเทศบังคับกับสัญญาโดยปริยาย </p> <p>ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรออกกฎหมายเฉพาะเพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ และกำหนดให้เรื่องแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นไปในแนวทางเดียวกับอนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ</p> วัฒนา คณาวิทยา รุ่งแสง กฤตยพงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 72 83 ปัญหาในการบังคับใช้มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265192 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และสาเหตุของปัญหาการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนมาตรการในการป้องกันการกระทําความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย เปรียบเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ เพื่อนําไปวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดกรณีให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้สอดคล้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ<br />ในการบังคับใช้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในกรณีความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรณีดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และมาตรา 167 แล้ว</p> <p>ปัญหาในการบังคับใช้มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งบัญญัติถึงความรับผิดในกรณีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น<br /> มีปัญหาที่สำคัญสามประการ ได้แก่ ประการแรก กรณีการบัญญัติองค์ประกอบความผิดกรณีให้สินบน<br />แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประการที่สอง กรณีเกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมของนิติบุคคลและประการที่สาม กรณีมาตรการบังคับโทษสำหรับนิติบุคคล ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นผลให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว <br />ไม่สามารถป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง</p> <p>ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประการแรก คือ การแก้ไขในส่วนของเจตนาพิเศษ ให้คลุมถึงการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อกระทำการใด ทั้งนี้ไม่ว่าการนั้น จะชอบด้วยหน้าที่หรือไม่ต้องบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดด้วย ประการที่สอง คือ ยกเลิกบทบัญญัติเดิมที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมของนิติบุคคล และประการที่สาม คือ การปรับปรุงแก้ไขมาตรการการลงโทษอื่นเพิ่มเติมร่วมกับโทษปรับที่ได้กำหนดไว้เดิม เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการควบคุมและป้องกันการกระทําความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> ดลมณิชา พันธุนาคิน Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 84 100 การนำหลักความรับผิดอย่างอื่นมาใช้ในกระบวนพิจารณาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 : นิยามความรับผิดอย่างอื่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/267344 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเหตุปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาของศาลปกครอง<br />ขาดการนำหลักความรับผิดอย่างอื่นไปใช้ในกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทความรับผิดอย่างอื่น<br />ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประมวลกฎหมาย ตํารา ผลงานวิชาการ คําวินิจฉัย และคำพิพากษาของศาลปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) หลักความรับผิดอย่างอื่นเป็นความรับผิดที่กฎหมายบัญญัติให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิด โดยความรับผิดดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทางละเมิดหรือความรับผิดทางสัญญา ประกอบกับกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจอธิบดี<br />ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาวินิจฉัยคดีพิพาทใดเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นในข้อเท็จจริงแห่งคดีที่ใกล้เคียงกัน ต่างจากศาลปกครองสูงสุดที่กฎหมายให้อำนาจประธานศาลปกครองสูงสุดในการพิจารณาวินิจฉัยกระบวนพิจารณาคดีปกครองในแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่น ในข้อเท็จจริง<br />แห่งคดีที่ใกล้เคียงกันว่าคดีพิพาทใดเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของความรับผิดอย่างอื่น ส่งผลต่อมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงแห่งคดี และการบัญญัตินิยาม<br />ความรับผิดอย่างอื่นจะช่วยสลายมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแห่งการวินิจฉัยตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย</p> พีระพงศ์ ธราเดชสุวรรณ สาธิตา วิมลคุณารักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 11 2 130 146