วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ th-TH <div class="entry_details"> <div class="item copyright"> <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> </div> </div> lawjournal@tsu.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศรีบุญโรจน์) lawjournal@tsu.ac.th (กองบรรณาธิการวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ) Thu, 26 Dec 2024 08:07:19 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาทุจริตต่อหน้าที่มาใช้ในคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265056 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและหลักการเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลในคดีอื่น ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอื่นในต่างประเทศและประเทศไทย และวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม รวมถึงการเสนอแนวทางในการนำหลักการเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลในคดีอาญาทุจริตต่อหน้าที่มาใช้บังคับในการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร จากการศึกษาพบว่า หลักการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลในคดีอื่น เป็นหลักในกฎหมายพยานซึ่งห้ามคู่ความปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว<br />จากคำพิพากษาของศาล เพื่อป้องกันการรับฟังข้อเท็จจริงในมูลคดีเดียวกันในทางแตกต่างกัน ในบริบทของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 คือ หลักคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา แต่ยังไม่ปรากฏการนำหลักการดังกล่าวนี้ไปใช้ในคดีอาญาทุจริตกับคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่ แต่ทว่าในระบบการฟังข้อเท็จจริงของศาลในคดีอื่นของประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลยุติธรรมสามารถนำการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญามาใช้ในคดีปกครองได้โดยชอบภายใต้เงื่อนไขที่ว่า หากการกระทำทางปกครองครั้งนั้น มีลักษณะเป็นความผิดในทางทุจริต อาทิ การกระทำทางปกครองที่เป็นการเรียกรับสินบนอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น กรณีเช่นนี้ศาลที่พิจารณาคดีปกครองสามารถนำเอาข้อเท็จจริงของศาลในคดีอาญาที่ยุติมารับฟังได้โดยชอบ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนำหลักการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาทุจริตมาใช้ในคดีมูลละเมิดของเจ้าหน้าที่ปกครองตามแบบอย่างทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา</p> มนัฐชรียา อินทรมณี, จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ, ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265056 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/267958 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 2. เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 3. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล</p> <p>ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ โดยการค้นคว้าเอกสาร ข้อมูลที่ทำการศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร ตำราต่าง ๆ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ไม่มีสถานะถือเป็นเงินตรา เป็นเพียงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ไม่มีรูปร่าง แต่มีมูลค่าและมีราคาถือเอาได้ เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินตามความหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สิน หมายความรวมทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ สามารถถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เพื่อการชำระสินค้าและบริการได้ แต่ในประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติรองรับอย่างชัดแจ้งว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” เป็นสินทรัพย์ไม่มีรูปร่าง ซึ่งสามารถบังคับดีได้หรือเป็นทรัพย์สินที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ต้องอาศัยการตีความกฎหมายบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล จึงอาจเกิดปัญหา <br />ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัญหาไว้ในประการต่าง ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรกำหนดให้มีกฎหมายรองรับเป็น<br />ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง ที่ควรกำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ภายใต้กฎหมายการบังคับคดี โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รองรับสถานะให้ถือว่า ทรัพย์สินหมายความรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีรูปร่างด้วย ในขณะเดียวกันก็ควรปรับปรุงกฎหมายวิธีการบังคับคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสม<br />เป็นการเฉพาะในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย</p> ชุดานุช วิสะมิตนันต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/267958 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การนำโทษปรับรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265145 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษและโทษปรับในคดีอาญา ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับทางอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์เหตุผล ความเหมาะสมการนำโทษปรับระบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค และได้มาซึ่งแนวทางในการนำโทษปรับในระบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย โดยศึกษาด้วยระบบการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า โทษปรับเป็นโทษที่บังคับต่อทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดและใช้บังคับแทนที่โทษจำคุกระยะสั้น จำแนกได้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการปรับแบบอัตราคงที่และระบบการปรับแบบผกผันตามรายได้ (รายวัน) ซึ่งในคดีคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย ยังคงใช้ระบบการปรับแบบอัตราคงที่ แต่ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างนำโทษปรับแบบรายวันมาใช้บังคับอย่างทั่วไป ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าระบบโทษปรับรายวัน จะกำหนดจำนวนเงินปรับแปรผันไปตามความหนักเบารุนแรงของของความผิดและแปรผันไปตามรายได้ของผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างเสมอภาคระหว่างผู้กระทำความผิดที่มีฐานะร่ำรวยกับผู้กระทำความผิดที่มีฐานะยากจน ซึ่งหมายความรวมไปถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ประกอบการในคดีคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ดังนั้น <br />ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะทางหลักการขึ้นว่า ประเทศไทยควรนำเอาระบบโทษปรับแบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยโทษปรับแบบรายวันขึ้นในกฎหมาย โดยมีหลักการการพิจารณาค่าปรับใน 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรุนแรงของการกระทำ 2) ผลจากการกระทำ และ 3) สถานะทางการเงินของผู้กระทำความผิด</p> ภุชงค์ ปานช่วย, จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ, ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/265145 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม : ศึกษาแนวคำวินิจฉัยจากคดีปกครอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275699 <p> </p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากแนวคำวินิจฉัยคดีปกครอง เพื่อสร้างมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองชั่วคราวก่อน<br />การพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบจากกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพิจารณากรณีศึกษาจากคำพิพากษาของศาลปกครองไทยและคำพิพากษาของต่างประเทศ</p> <p>จากการศึกษาพบว่า กระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครองได้สร้างกลไกเพื่อคุ้มครองผู้ฟ้องคดี<br />หรือผู้มีส่วนได้เสียก่อนที่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษา เรียกว่า “วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา” ประกอบด้วย 1. การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง และ 2. การบรรเทาทุกข์ชั่วคราว สำหรับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ศาลจะต้องพิจารณาทบทวนถึงความรับผิดชอบของหน่วยงาน<br />ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มากกว่าการคำนึงถึงประเภทและหลักเกณฑ์ของวิธีการชั่วคราวในคดีปกครองที่กำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ<br />ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 โดยศาลปกครองจะต้องปรับใช้ดุลพินิจ<br />อย่างเหมาะสมกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ตลอดจนศาลสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการที่ได้เคยกำหนดไปก่อนแล้วให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งสามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมิให้ลุกลามจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง</p> เนตรชนก ชัยสงคราม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275699 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรับผิดและโทษทางอาญาสำหรับการดูหมิ่นออนไลน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/268319 <p style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;"> </span></p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของการดูหมิ่นออนไลน์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นออนไลน์ของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์บทบัญญัติทางกฎหมายของการกระทำดังกล่าวของประเทศไทย และ 3) หาข้อเสนอแนะ<br />ในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม เว็บไซต์ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาของการดูหมิ่นออนไลน์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ถูกนำมาวิเคราะห์สาระให้เห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันในแง่ต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์จะออกมาในลักษณะของการพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำหนดความรับผิดสำหรับการดูหมิ่นผู้อื่นไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกำหนดบทลงโทษให้เป็นเพียงความผิดลหุโทษไม่สอดคล้องกับผลร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างกับโทษจำคุกที่กฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดไว้ โดยผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี (ตามกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐเยอรมนี) หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี (ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตามลำดับ</p> <p>ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ให้มีเนื้อความว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326/1 โดยมีเนื้อความว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นด้วย<br />การโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”</p> ปพนธีร์ ธีระพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/268319 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/272872 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ โดยศึกษามาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยศึกษากฎหมายไทยกับหลักการของสหประชาชาติและกฎหมายของฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นข้อเสนอให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ จากการศึกษาพบว่า กรณีที่นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงด้วยวาจาให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการทำให้เกิดปัญหาของผลในทางกฎหมาย ลักษณะการขอความยินยอมให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการว่า ควรขอเป็นคราวเดียวตั้งแต่แรกทำสัญญาหรือขอความยินยอมจากลูกจ้างทุกครั้งเป็นคราวๆ ไปในการทำข้อตกลงกับลูกจ้างให้ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ การคุ้มครองสวัสดิการที่จำเป็นให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการและปัญหาสิทธิปฏิเสธการติดต่อเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานที่ควรคุ้มครองลูกจ้างทั่วไป อันส่งผลให้ลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการได้รับความคุ้มครองไม่เพียงพอ ซึ่งควรนำหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายฟิลิปปินส์โดยนำแนวคิดการทำงานที่มีคุณค่า สิทธิในการพักผ่อนของลูกจ้าง ทั้งนี้ เมื่อลูกจ้างปฏิเสธการติดต่อ นายจ้างจะนำเหตุนั้นมาลงโทษทางวินัยหรือประเมินผลการทำงานของลูกจ้างไม่ได้มาปรับใช้ให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการตกลงให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานให้ชัดเจน การกำหนดลักษณะความยินยอมในการทำงานนอกสถานประกอบกิจการต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป การจัดสวัสดิการที่จำเป็นสำหรับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการที่ต้องได้รับน้ำดื่มที่สะอาดและการปฐมพยาบาลออนไลน์เบื้องต้น นอกจากนี้ ลูกจ้างควรมีสิทธิในการปฏิเสธการติดต่อกับนายจ้างเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานทุกช่วง โดยให้รวมถึงเวลาพักระหว่างทำงานด้วย อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ</p> รวดี สุทธิศาสตร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/272872 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงของการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/262968 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงของการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง</p> <p>จากการศึกษาพบว่า หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงสัมพันธ์กัน<br />ในแง่ที่ว่าหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐนั้นมองว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ การดำเนินคดีอาญาซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจึงต้องอาศัยหลักการตรวจสอบนหาความจริง เพื่อให้ความจริงที่รัฐทราบถูกต้องตรงกับความจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดอันเป็นความจริงในเนื้อหา (ความจริงแท้) ภายใต้กฎหมายคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาเพื่อยกผู้ต้องหาเป็นประธานในคดี กรณีจึงต่างจากการดำเนินคดีแพ่งที่ค้นหาความจริงด้วยหลักต่อสู้ อันเป็นผลให้ได้ความจริงแต่เพียงตามแบบพิธี โดยเฉพาะความจริงที่ได้จากการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องซึ่งพนักงานอัยการเป็นแต่เพียงโจทก์ตามรูปแบบที่มิได้เป็นคู่แพ้ชนะกับจำเลยอย่างแท้จริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในอันจะทำให้รัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การลงโทษ การปล่อยตัวผู้บริสุทธิ์ ในการแก้ไขปัญหาของสังคมที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาตามหน้าที่ของรัฐได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเหมาะสม การดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องโดยปราศจากพยานหลักฐานที่รัดกุมเพียงพอ <br />แล้วฟ้องจำเลยให้ไปต่อสู้คดีในชั้นศาล เพื่อให้ได้มีการพิจารณาคดีในชั้นศาลโดยผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินเยี่ยงหลักต่อสู้จึงไม่ถูกต้อง</p> ชัชชัย ยุระพันธุ์, ณัชชาร์พัชร์ คิส Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/262968 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 หลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะกับองค์การมหาชนในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275910 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาหลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ ซึ่งเป็นหลักการย่อยของหลัก<br />ความเสมอภาค และเป็นหลักการที่ปรากฏทั้งในระบบกฎหมายซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์ มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่เกิดจากการที่รัฐหรือฝ่ายปกครองปฏิบัติภารกิจ และการปฏิบัติภารกิจนั้นมีผลกระทบจนเกิดความเสียหายหรือสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินสมควร โดยรัฐหรือฝ่ายปกครองต้องชดใช้เยียวยาความเสียหายแก่การกระทำนั้นให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน แม้ว่ารัฐหรือฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดก็ตาม โดยพิจารณาสาระสำคัญของหลักการที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และไทย และศึกษาองค์การมหาชน<br />ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการจัดระบบหน่วยงานภาครัฐสำหรับการจัดทำบริการสาธารณะ โดยให้แยกออกจากหน่วยงานในภาคมหาชนเดิม และกำหนดให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับการจัดทำภารกิจของรัฐตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งยังเป็นหน่วยงานที่ต้องผูกพันต่อหลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ จากการศึกษาพบว่า ทั้งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 มาตรา 24 ไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการองค์การมหาชนในการกำหนดหลักเกณฑ์ กรณีที่องค์การมหาชนปฏิบัติภารกิจแล้วไปก่อให้เกิดความเสียหายหรือสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินสมควร แต่องค์การมหาชนบางแห่งมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อกำหนดเรื่องดังกล่าว เป็นรายกรณีเอง จึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและเป็นภาระแก่ประชาชนที่ต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องในการได้รับการชดใช้เยียวยาจากองค์การมหาชน ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์กลางสำหรับเป็นแนวปฏิบัติให้แก่องค์การมหาชนแต่ละแห่งต่อไป</p> สมพงษ์ แซ่ตัน, วัชระ กลิ่นสุวรรณ, เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275910 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275635 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ให้มีความยุติธรรมตามคาดหวังของประชาชนที่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ง่าย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีลักษณะ<br />ที่ยึดการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ<br />ของประชาชน มีความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ มีความเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำจากผู้บังคับบัญชาภายในองค์กร ฝ่ายการเมือง หรือผู้มีอำนาจภายนอกองค์กร เป็นกระบวนการที่ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและก้าวทัน<br />ต่อการเปลี่ยนแปลง</p> <p>การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย เพื่อให้เป็นกระบวนการยุติธรรมที่ดี มีประสิทธิภาพ จึงควรมีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทยตามแนวทางลักษณะกระบวนการยุติธรรมที่ดี คือ พัฒนา<br />องค์ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้อย่างเป็นระบบสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ นำทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญามาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตใจแห่งการให้บริการโดยนำหลักหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาการศึกษานิติศาสตร์ ให้มีการศึกษากฎหมายในฐานะของศาสตร์ที่ใช้แก้ปัญหาสังคม และให้บัณฑิตทางนิติศาสตร์ศึกษาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีพื้นฐานความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมด้วย พัฒนาระบบสวัสดิการและค่าตอบแทนให้เหมาะสม พัฒนาการป้องกันการถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจเพื่อให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมได้รับความเป็นธรรมและมีขวัญกำลังใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย เป็นต้น</p> ปรีชา กลัดสวัสดิ์, อชิรญาณ์ กลัดสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/275635 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาการใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อสร้างความเท่าเทียม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/278259 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในบริบทของการส่งเสริมความเท่าเทียมในที่ทำงาน โดยเน้นปัญหาและความท้าทาย<br />ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ แรงงานหญิง แรงงานเด็ก แรงงานผู้สูงอายุ และแรงงานผู้พิการ ผ่านการวิเคราะห์หลักการของกฎหมาย แนวทางการบังคับใช้ และมาตรการสนับสนุนเชิงนโยบาย ผู้เขียนได้สร้าง<br />องค์ความรู้ใหม่โดยเชื่อมโยงหลักสิทธิมนุษยชนกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเสนอโมเดล LEEM ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ กฎหมาย การบังคับใช้ การศึกษา และการประเมิน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โมเดลนี้เน้นย้ำ<br />ถึงความสำคัญของการปรับปรุงกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การให้ความรู้แก่แรงงาน และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเท่าเทียมในที่ทำงานและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง</p> <p>ความสำคัญของบทความนี้คือการชี้ให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองแรงงาน <br />เพื่อสร้างความเท่าเทียมอย่างยั่งยืนในที่ทำงาน และลดความเหลื่อมล้ำอันส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง แนวคิดในการนำเสนอสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงกฎหมายควบคู่กับการบังคับใช้มาตรการสนับสนุนที่สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานในยุคปัจจุบัน</p> ศศิวิมล ช่วยดำรงค์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawtsu/article/view/278259 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700