https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/issue/feed วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2024-01-11T14:33:28+07:00 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา [email protected] Open Journal Systems <p><strong> </strong><strong>วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (</strong><strong>Basic Education Research Journal) เป็นวารสารที่รองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดออกวารสาร</strong><strong>ปีละ </strong><strong>2 ฉบับ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน) <br /></strong><strong>ฉบับที่ 2 </strong><strong>กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม)</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li class="show">1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่บทความวิจัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน</li> <li class="show">2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัย</li> </ol> <p><strong>Focus &amp; Scope </strong></p> <p> วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการเป็นสื่อกลาง เผยแพร่บทความวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการนำองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ นสถานศึกษา ชุมชน สังคม มีขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน</p> <p><strong>การพิจารณากลั่นกรองบทความ </strong></p> <p>วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อตีพิมพ์เป็นวารสารฉบับออนไลน์บนเว็บไซต์ ดังนี้<br />1.บทความวิจัยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น<br />2.บทความวิจัยต้องผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งให้ผู้ประเมิน<br />3.บทความวิจัยที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินจากผู้ประเมินในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อยสองคน หากมีผลแตกต่างกัน ทางกองบรรณาธิการจะส่งให้ผู้ประเมินคนที่สาม ซึ่งกระบวนการประเมินนี้ทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) และกองบรรณาธิการแจ้งผลการประเมินให้ผู้นิพนธ์ทราบ โดยผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความวิจัยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ ตามที่ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะ โดยผ่านกองบรรณาธิการ เพื่อความสมบูรณ์ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ จึงจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการประเมินและถือเป็นที่สิ้นสุด</p> <p><strong>คำแนะนำผู้นิพนธ์</strong></p> <p>ผู้นิพนธ์ต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด</p> <p><strong>การตรวจสอบบทความ และพิสูจน์อักษร</strong></p> <p> วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (อักขรวิสุทธิ์) และการตรวจสอบการคัดลอกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ CopyCatch (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) โดยจะต้องมีระดับความซ้ำซ้อน ไม่เกิน 20% </p> <p><strong>อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์</strong></p> <p> ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ในวารสาร </p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/268103 การประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2023-10-01T00:56:34+07:00 ณัฐพล พรมลี (์Natthapon Promlee) [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ข้อมูล ครู และผู้บริหารโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม จำนวน 205 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNI<sub>modified <br /></sub> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร อยู่ในระดับปานกลางและมากที่สุด ตามลำดับ 2) เรียงลำดับความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร คือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.24 -0.59 ด้านการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.21 – 0.63 ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการนิเทศ พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.27 – 0.61 ด้านการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.50 – 0.65 ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.36 – 0.64 ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.31 – 0.67 ตามลำดับ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267623 รูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง 2023-11-03T10:39:33+07:00 วิวัฒน์ ผลประเสริฐ (Wiwat Phonprasert) [email protected] <p> งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างมาใช้ในการบริหารขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภายใต้โครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ซึ่งเป็นโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพ องค์ประกอบ <br />และแนวทางการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง 2) สร้างรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และ 3) ประเมินรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) แบบบันทึกประเด็นการสนทนา และ 4) แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ความเที่ยงตรง 2) ความเที่ยง 3) ค่าร้อยละ และ 4) ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 คณะกรรมการบริหารงานระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานของการบริหารงานระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบทโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองและโรงเรียนใกล้เคียง (Context Analysis) 2) การวางแผน (Planning) 3) การรวบรวมข้อมูล (Data Collection) 4) การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงข้อมูลเป็นภาพ (Data Analysis &amp; Visualization) 5) การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analytics) 6) การดำเนินการ (Operation) และ 7) การประเมินผล (Evaluation) โดยผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่าการนำรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองไปใช้มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267631 ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ 2023-11-03T11:01:19+07:00 ณัฐพล สิทธิกุล (Nattapon Sittikul) - ธิติณัฐ แก้วบุญเรือง (Thitinut Kewboonruang) [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์:สารกำหนดปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 23 คน ในภาคเรียนที่ 2 <br />ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้<br />แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267693 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ (Davies) ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางคอย 2023-11-03T14:40:46+07:00 วัฒนา โทธานี (Wattana Thothanee) [email protected] <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางคอย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางคอยโดยใช้วิธีสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางคอย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีจำนวนนักเรียน 12 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ (Davies) จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ จำนวน 6 แบบฝึกทักษะ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ คือ แบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางคอยอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.22/84.33 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 <br />โดยคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบระหว่างเรียน (กระบวนการ) ของกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) เท่ากับ 48.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.25 และคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบหลังเรียน (ผลลัพธ์) ได้คะแนนเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) เท่ากับ 14.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.37 2. <span style="font-size: 0.875rem;">ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางคอย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ</span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) เท่ากับ 9.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.73 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวี่ส์ (Davies) ได้คะแนนเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) เท่ากับ 14.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.37</span></p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267737 การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2023-11-03T11:17:29+07:00 ศุภศักดิ์ อ่อนสันต์ (Suppasak Onsan) [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างจัดกิจกรรมแนะแนว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือ<br />ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวและคู่มือการจัดกิจกรรมแนะแนว แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบสรุปองค์ความรู้กิจกรรมแนะแนว (Journal Writing) และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%)<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1. <span style="font-size: 0.875rem;">กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว ชื่อว่า 4I step มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างแนวคิด (Ideate) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างนวัตกรรม (Innovation) และขั้นที่ 4 ขั้นสร้างการแบ่งปัน (Impart) และตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยนำไปศึกษานำร่อง (Pilot Study) พบว่ามีความเป็นไปได้ 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างจัดกิจกรรม แนะแนวมีพัฒนาการสูงขึ้น และ 3. </span><span style="font-size: 0.875rem;">ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267368 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2023-11-02T11:22:25+07:00 ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์ (Khuanruethai Thiangchanthathip) [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 39 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ <br /> ผลการศึกษา พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ 76.28/75.38 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 หลังการเรียนรู้คะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เท่ากับ 15.08 คิดเป็นร้อยละ 75.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 ค่าเฉลี่ยทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เท่ากับ 3.09 คิดเป็นร้อยละ 77.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.00, <em>σ</em> =0.77)</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/268061 การพัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียน ที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2023-11-03T14:37:51+07:00 สิรินันท์ สุรไพฑูรย์ แซ่ผุง (Sirinan surapaitoon Saepung) [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) ศึกษาผลการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาและ 3) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษาเรียนรวมในโรงเรียน 64 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษาเรียนรวมประจำโรงเรียนและสมัครเข้าร่วมในการพัฒนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 56 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie &amp; Morgan เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ คู่มือชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา แผนจัดการเรีนรู้ และแผนนิเทศ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของชุดนิเทศ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าสัมประสิทธิการกระจาย และการทดสอบค่าที t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคล ในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.36, S.D.=0.15) มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เป็น 0.66 และค่าสัมประสิทธิการประจาย (C.V.) 5.60 2. ผลการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคล ในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา พบว่า หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้รายบุคคลอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาอยู่ในระดับดี ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =2.89, S.D.=0.13) 3. ครูมีความคิดเห็นต่อการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.44, S.D.=0.50)</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267434 การศึกษาผลการพัฒนาระบบเรียนรู้ โรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) 2023-11-02T14:56:04+07:00 ปราณี เข็มทอง (Pranee khemthong) - สมยศ ศรีคงรักษ์ - (Somyot Srikongrug) [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบเรียนรู้โรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้ระบบเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) และ 3) ศึกษาร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป หลังการใช้ระบบเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 10 คน และนักเรียน จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) 2) แบบประเมินประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้ระบบเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) 3. แบบบันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของระบบเรียนรู้โรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 96.43 2) ประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้ระบบเรียนรู้ของครู ก่อนการใช้ระบบเรียนรู้อยู่ในระดับน้อยทั้งหมด และหลังการใช้ระบบเรียนรู้อยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนใช้ระบบเรียนรู้เท่ากับ 1.26 และหลังใช้ระบบเรียนรู้เท่ากับ 2.85 และประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้ระบบเรียนรู้ของครู ก่อนการใช้ระบบเรียนรู้และหลังการใช้ระบบเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป หลังการใช้ระบบเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.12</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/268075 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว 2023-09-30T14:02:16+07:00 อังค์วรา สมดี (Angwara Somdee) - รุสนันท์ แก้วตา (Russanan Kaewta) [email protected] <p> การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและตรวจสอบพัฒนาการทางการเรียนโดยใช้คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ <br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) ได้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นที่ 2 สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง (Explore and analyze) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน (Knowledge Sharing) ขั้นที่ 4 นำเสนอผลลัพธ์ (Present results) ขั้นที่ 5 การนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง (Applying in new context) 2) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละ และอัตราส่วน สูงกว่าก่อนเรียน และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70 นักเรียนมีพัฒนาการโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/267440 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ PRA (PDCA) 3 Model : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหนองกลางด่าน (สมบุญประชานุเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2023-09-06T13:57:34+07:00 ประสันตา โสมอินทร์ (Prasanta Somintara) [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน จำนวน 95 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ประเมินคุณภาพ จำนวน 45 คน และกลุ่มที่ใช้ประเมินประสิทธิผล จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินด้านบริบททั่วไป แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินด้านผลิตผล และแบบประเมินด้านความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1) <span style="font-size: 0.875rem;">รูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.94, S.D = .24) และ 2) </span><span style="font-size: 0.875rem;">รูปแบบการบริหารงานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.95, S.D = .22) และมีประสิทธิผลรายด้าน </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.97, S.D. =.17) ด้านผลิตผล ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.96, S.D. =.20) ด้านความพึงพอใจ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.95, S.D. =.22) ด้านปัจจัยนำเข้า ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.94, S.D. = .24) และด้านบริบททั่วไป </span><span style="font-size: 0.875rem;">(<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.93, S.D. =.25)</span></p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน