วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch
<p><strong> </strong><strong>วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (</strong><strong>Basic Education Research Journal) เป็นวารสารที่รองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดออกวารสาร</strong><strong>ปีละ </strong><strong>2 ฉบับ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน) <br /></strong><strong>ฉบับที่ 2 </strong><strong>กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม)</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li class="show">1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่บทความวิจัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน</li> <li class="show">2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัย</li> </ol> <p><strong>Focus & Scope </strong></p> <p> วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการเป็นสื่อกลาง เผยแพร่บทความวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการนำองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ นสถานศึกษา ชุมชน สังคม มีขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน</p> <p><strong>การพิจารณากลั่นกรองบทความ </strong></p> <p>วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อตีพิมพ์เป็นวารสารฉบับออนไลน์บนเว็บไซต์ ดังนี้<br />1.บทความวิจัยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น<br />2.บทความวิจัยต้องผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งให้ผู้ประเมิน<br />3.บทความวิจัยที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินจากผู้ประเมินในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อยสองคน หากมีผลแตกต่างกัน ทางกองบรรณาธิการจะส่งให้ผู้ประเมินคนที่สาม ซึ่งกระบวนการประเมินนี้ทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) และกองบรรณาธิการแจ้งผลการประเมินให้ผู้นิพนธ์ทราบ โดยผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความวิจัยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ ตามที่ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะ โดยผ่านกองบรรณาธิการ เพื่อความสมบูรณ์ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ จึงจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการประเมินและถือเป็นที่สิ้นสุด</p> <p><strong>คำแนะนำผู้นิพนธ์</strong></p> <p>ผู้นิพนธ์ต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด</p> <p><strong>การตรวจสอบบทความ และพิสูจน์อักษร</strong></p> <p> วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (อักขรวิสุทธิ์) และการตรวจสอบการคัดลอกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ CopyCatch (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) โดยจะต้องมีระดับความซ้ำซ้อน ไม่เกิน 20% </p> <p><strong>อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์</strong></p> <p> ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ในวารสาร </p>
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
th-TH
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2774-0684
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนอุดมวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272262
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะ ประชากร ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.918 และแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการพัฒนารูปแบบ ประชากร ได้แก่ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.923 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) สภาพปัจจุบัน นักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับดี <br /> 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด <br /> 3) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ก่อนทดลองนักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับปานกลางและหลังการทดลองนักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับดีเยี่ยม และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
กาญจุรี หมื่นอักษร Kanjuree Muenaksorn
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
1
17
-
การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SMART MODEL โรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม ปีการศึกษา 2565-2566
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272053
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SMART MODEL 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน 3) ศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน จำนวน 218 คน ครู จำนวน 20 คน ผู้ปกครอง จำนวน 218 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน 2) แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน 3) แบบประเมินระดับทักษะชีวิตของนักเรียน <br />4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /> ผลการวิจัย พบว่า<br /> 1) คุณภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =3.48, S.D.=0.60) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.64, S.D.=0.51) สอดคล้องตามสมมุติฐาน <br /> 2) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =3.44, S.D.=0.55) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.68, S.D.=0.46) สอดคล้องตามสมมุติฐาน <br /> 3) ระดับทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =3.23, S.D.=0.43) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.59, S.D.=0.46) สอดคล้องตามสมมุติฐาน <br /> 4) ระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.54, S.D.=0.58) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับ มากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.61, S.D.=0.45) สอดคล้องตามสมมุติฐาน</p>
เกรียงไกร ป้องศรี Kreangkrai Pongsri
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
18
36
-
แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/271877
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 3) ศึกษาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ<br /> ผลการศึกษาพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ได้แก่ </span><span style="font-size: 0.875rem;">1) การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ ทบทวนความรู้เดิม และนำไปสู่การอภิปราย 2) การใช้เกมและวิดีทัศน์เพื่อสร้างความสนใจและส่งเสริมความเข้าใจสาระการเรียนรู้ของนักเรียน 3) การส่งเสริมให้นักเรียนระดมความคิด </span><span style="font-size: 0.875rem;">อภิปราย และสร้างข้อสรุปจากหลักฐานที่มาจากการสืบเสาะ 4) การสื่อสารและสะท้อนผลการเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และ 5) การอำนวยความสะดวก แนะนำแนวทางการสืบเสาะและการเขียนอนุทินให้กับนักเรียน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.21 คิดเป็นร้อยละ 71.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 70<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรูู้ </span><span style="font-size: 0.875rem;">เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 คิดเป็นร้อยละ 78.50<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ </span><span style="font-size: 0.875rem;">อยู่ในระดับมาก (µ = 4.02, </span><em style="font-size: 0.875rem;">σ</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =0.52)</span></p>
ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์ Khuanruethai Thiangchanthathip
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
37
58
-
การพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/275560
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 2) สร้างนวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาล ของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ใช้นวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 2565 และ 4) ประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมลงสู่การปฏิบัติว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เล่มที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เล่ม 5 คู่มือประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ เล่ม 9 แนวทางการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อต้านการทุจริตผ่านสื่อภาพยนตร์สั้น อยู่ในระดับมากที่สุด เล่มที่ 3 แนวทางการดำเนินกิจกรรมเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต และเล่ม 13 แนวทางการดำเนินกิจกรรมค่ายเยาวชน “คนดี ของแผ่นดิน” อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ ภาพรวมด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด </p>
จักรพงษ์ วงค์อ้าย Chagkrabongse Wong-Eye
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
59
78
-
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครองในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพของนักเรียน โรงเรียนตะโหมด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272274
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการ และแนวทางการมีส่วนร่วม 2) การพัฒนารูปแบบ และ 3) การประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครองในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพของนักเรียน การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เครือข่ายผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่ายผู้ปกครอง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต แบบประเมิน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการของการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด<br /> 2) รูปแบบการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครอง การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกระบวนการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเงื่อนไขความสำเร็จ และประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบ นักเรียนมีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
โชต รัตนประพันธ์ Chot Rattanaprapan
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
79
97
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272054
<p>การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส จำนวน 5 ชุด รวมเวลา 10 ชั่วโมง แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบกำหนดสถานการณ์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แก๊ส แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามด้านความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ One – sample t – test<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส จำนวน 5 ชุด มีความเหมาะสมเฉลี่ย 4.61 - 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด <br /> 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยรวมและจำแนกเป็นรายองค์ประกอบของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br /> 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br /> 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.53 - 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ธนพัฒน์ ทับไธสง Thanaphat Tabthaisong
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
98
114
-
ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ ต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272128
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน 2) เพื่อศึกษาความตระหนักรู้ต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชันกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 42 คน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความตระหนักรู้ต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงบนมาตรฐานและ T-Test dependent <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 8.29, S.D. = 0.40) สูงกว่าก่อนเรียน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 5.40 , S.D. = 1.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความตระหนักรู้ต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชันอยู่ในระดับดี ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 18.48) <br />และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.64, S.D. = 0.47)</p>
นภาพร ปุจฉาการ Napaporn Pootchakarn, เอกนฤน บางท่าไม้ Eknarin Bangthamai
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
115
129
-
รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272099
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น ครูผู้สอน 165 คน และนักเรียน จำนวน 342 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติการทดสอบที (t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน<br /> ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักคิดด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ</span>พอเพียง ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้และการวัดประเมินผล การนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 2) หลักปฏิบัติด้านการเข้าใจ ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และการส่งต่อนักเรียน เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 3) หลักปฏิบัติด้านการเข้าถึง ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้ การนิเทศแบบเป็นกัลยาณมิตร การศึกษาดูงาน และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากร เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 4) หลักปฏิบัติด้านการพัฒนา ประกอบด้วย การจัดทำแผนกลยุทธ์ และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 และ 5) หลักธรรมด้านการมีความสุขในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ประกอบด้วยความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา</span><span style="font-size: 0.875rem;">ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด </span><span style="font-size: 0.875rem;">( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.59, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= .36)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียน</span><span style="font-size: 0.875rem;">หลังการใช้รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชา ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</span></p>
นิตยา มั่นชำนาญ Nitaya Manchamnan, สมชัย ชวลิตธาดา Somchai Chavalitthada
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
130
149
-
การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/271687
<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของครูก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ใช้ชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูจาก 4 โรงเรียน ที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมกรุงเทพมหานคร เขต 2 ขนาดละ 1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 260 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) และผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์พัฒนา ชุดฝึกอบรม 2) ชุดฝึกอบรมครู 3) แบบทดสอบผลการเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) กระบวนการพัฒนาชุดฝึกอบรมมี 5 ขั้นตอน ชุดฝึกอบรมมีหน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วย รูปแบบการใช้ชุดฝึกอบรมเป็นแบบผสมผสาน <br /> 2) หลังใช้ชุดฝึกอบรมครูมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /> 3) ระดับความพึงพอใจของครูที่ใช้ชุดฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล Polpipat Wattanasettanukul, อนันต์ศักดิ์ ภูพลผัน Anasak Pupolpan, สิรินธร สินจินดาวงศ์ Sirinthorn Sinjindawong
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
150
166
-
ความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272104
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำแนกตามกลุ่มโรงเรียน และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงาน PLC ตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครจำแนกตามกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 633 คน จากโรงเรียน 45 แห่ง ซึ่งได้มาจากการเลือกตามความสมัครใจ โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจาก Oliver, et al. (2009: 5) เป็นเครื่องมือวิจัย ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของการดำเนินงาน PLC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยสภาพที่เป็นจริงโดยรวมสูงที่สุด ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นของ PLC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยสภาพที่ควรจะเป็นโดยรวมสูงที่สุด องค์ประกอบของ PLC ทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมและการประยุกต์ใช้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ 2) การศึกษาดัชนีความต้องการจำเป็นของการดำเนินงาน PLC โดยวิธี PNI<sub>modified</sub> พบว่า ค่าดัชนีต้องการจำเป็นของกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งบ่งบอกถึงความต้องการของบุคลากรในโรงเรียนที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ความเป็น PLC ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น </p>
ไพบูรณ์ เกตวงษา Paiboon Getwongsa, ชลธิชา กระแสศิล Cholticha Krasaesil
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
167
188
-
สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272279
<p>งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์<br />และสังเคราะห์เนื้อหาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลแบบตัวต่อตัว จำนวน 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น <br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1. องค์ประกอบของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา 3) การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการศึกษา 4) การกระจายอำนาจและความมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษา 5) การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และ 6) การสร้างระบบการประเมินที่ดี <br /> 2. สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด <br /> 3. เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการศึกษา การสร้างระบบการประเมินที่ดี การกระจายอำนาจและความมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา</p>
เพ็ญภักดิ์ นิยมญาติ Phenphak Niyomyart, ชัชจริยา ใบลี Chatjariya Bailee, สุชาดา บุบผา Suchada Bubpha
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
189
208
-
รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา จังหวัดขอนแก่น
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/271884
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 4) ประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานวิชาการ ศึกษานิเทศก์ จำนวนละ 3 คน รวม 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการยกร่างรูปแบบ แบบบันทึกคุณภาพผู้เรียน และแบบประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัย พบว่า <br /> 1) การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการสรุปและประเมินผลการนิเทศ <br /> 2) รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนวิธีดำเนินการ และส่วนเงื่อนไขความสำเร็จ <br /> 3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนในปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น <br /> 4) รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน</p>
ศรุต บุญโนนแต้ Sarut Boonnontae
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
209
227
-
“วัจนกรรม” มิติใหม่ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา : ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/272231
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม และ 2) ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียน จากนั้นหาคุณภาพเครื่องมือโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และคัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า 0.67 – 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฯ จำนวน 4 แผน รวมทั้งสิ้น 6 คาบเรียน จากนั้นทดสอบหลังเรียน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์<br />ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา<br /> ผลการศึกษาพบว่า <br /> แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม ส่งผลให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ถ้อยคำเจตนาแอบแฝงในการสื่อสารได้และสามารถเลือกสรรถ้อยคำที่มีความสุภาพในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศ โดยแผนการจัดการเรียนรู้ <br />(E<sub>1</sub>) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 76.78 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน (E<sub>2</sub>)มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 77.15 จึงสรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.78 /77.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 ส่วนผลความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวมพบว่ามีผลในระดับมาก (µ =4.45 , SD = 0.69)</p>
อุกกฤษฏ์ คำเสนา Aukkrit Khamsena
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
228
243
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/obecresearch/article/view/271817
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.52/80.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 <br /> 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br /> 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์ Anuttarasak Wichairat
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2024-08-16
2024-08-16
4 1
244
264