@article{Pantiya_2020, title={ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา : วิถีชีวิตและการประยุกต์ใช้ของชุมชนชายขอบ ในจังหวัดเชียงใหม่}, volume={27}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/245416}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้พื้นที่ในการวิจัย 3 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชุมฟ้าเวียงอินทร์ (กุงจ่อ) อำเภอเวียงแหง 2) ชุมชนบ้านลาน อำเภอฝาง และ 3) ชุมชนบ้านพระธาตุปูแช่ อำเภอแม่อาย กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน ผู้นำชุมชมแต่ละพื้นที่ และมัคนายก ผู้วิจัยทำการศึกษาเอกสารและ สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ในด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทใหญ่นั้น ไทใหญ่ หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่บริเวณตะเข็บชายแดนห่างไกลจากสังคมเมือง ไม่ได้รับการดูแล การบริการหรือความคุ้มครองจากรัฐอย่างกลุ่มคนอื่น กลุ่มคนไทใหญ่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเป็นพื้นฐาน 2) ในด้านกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนานั้น กลุ่มไทใหญ่มีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา มีจิตสำนึกต่อตนเองและสังคม เคารพกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ระเบียบ ข้อบังคับ ประเพณีวัฒนธรรม ทำกิจกรรมสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ตามเทศกาล ตลอดปี 3) ด้านวิเคราะห์ผลการนำภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของชุมชนไทใหญ่ พบว่า ชุมชนไทใหญ่ได้อบรมตนเอง พัฒนาชีวิต ตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่งผลให้ชุมชนไทใหญ่ เป็นชุมชนที่อยู่กันอย่างสันติ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ปฏิบัติตามจารีตประเพณีที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษอย่างตั้งใจ</p>}, number={2}, journal={ปัญญา}, author={Pantiya, Poonchai}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={23–33} }