@article{Chamnanphuttiphon_2020, title={บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อทำนายความวิตกกังวลทางสังคม ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย}, volume={27}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/245764}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อนทำนายความวิตกกังวลทางสังคมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย 2. เพิ่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL</p> <p>ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อทำนายความวิตกกังวลทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย ตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติ x<sup>2</sup> = 91.42, p = .07, df = 73, x<sup>2</sup> /df = 1.25, RMSEA = .02, SRMR = .05, RMR = .01, CFI = 1.00, GFI = .97 และ AGFI = .94 ยืนยันว่าบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบร่วมกันสามารถ อธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวล ได้ด้วยค่าความถูกต้องร้อยละ 25.00 ซึ่งบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบมีอิทธิพลทางบวกต่อความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรคติสมบูรณ์แบบมีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลสูงสุด รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว</p>}, number={2}, journal={ปัญญา}, author={Chamnanphuttiphon, Supreecha}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={49–62} }