TY - JOUR AU - ประสิทธิ์, สุภาพร PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ศึกษาการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21 JF - ปัญญา JA - panya-thjo VL - 27 IS - 2 SE - Reserch Article DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/245498 SP - 100-111 AB - <p>บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวิชาการ 2. เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา จำนวน 226 รูป/คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารวิชาการ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)</p><p>ผลการวิจัยพบว่า</p><ol><li class="show">สภาพการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยขาดระบบในการวางแผนงานด้านการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม</li><li class="show">ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ โดยภาพรวม รายด้าน ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ</li><li class="show">แนวทางการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21 ควรดำเนินงาน คือ</li></ol><p>3.1 ด้านหลักสูตร มหาวิทยาลัยควรจัดเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี เจตคติที่ดีต่อการเรียนพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ ของนักเรียน</p><p>3.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรเป็นสากลสามารถจัดการเรียนการสอนระบบทางไกลได้ ไม่ซับซ้อน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรใช้เทคโนโลยี และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่บุคลากร ในมหาวิทยาลัยเรียนรู้กระบวนการสอน</p><p>3.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายรายวิชา สร้างความเข้าใจ มีความหลากหลาย น่าสนใจ เข้าถึงง่าย ประหยัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ต่อการเรียนการสอน</p><p>3.4 ด้านการวัดและประเมินผล ควรมีระบบการวัดและประเมินผลที่มีความสัมพันธ์กับสภาพจริง และพัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายการจัดการ ศึกษาของมหาวิทยาลัย</p> ER -