https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/issue/feed ปัญญา 2023-12-28T00:00:00+07:00 ผศ.ดร. ตระกูล ชำนาญ [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสาร ปัญญา</strong> มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ในมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 1) สาขาพุทธศาสนา 2) สาขาศาสนาและปรัชญา 3) ศึกษาศาสตร์ 4) สังคมศาสตร์ 5) มนุษยศาสตร์ 6) รัฐสาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ 7) สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/265316 ปลิโพธ: วิเคราะห์เหตุความกังวลใจภัยเงียบตามหลักพระพุทธศาสนา 2023-10-09T13:54:13+07:00 เจริญ กระพิลา [email protected] มนตรี วิชัยวงษ์ [email protected] ดวงดาว กระพิลา [email protected] พระครูสมุห์ทศพล ญาณสาโร [email protected] <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอมูลเหตุความวิตกกังวลใจ โดยใช้หลักปลิโพธเป็นกรอบของการวิเคราะห์ คำว่า “ปลิโพธ” เป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เรียกอาการความกังวลใจ ซึ่งข้อมูลที่ใช้นำมาวิเคราะห์เป็นหลักฐานชั้นต้นคือคัมภีร์พระไตรปิฎก และหลักฐานชั้นอรรถกถาคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นผลงานการรจนาของพระพุทธโฆษาจารย์ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจที่สามารถปรับใช้ต่อการดำเนินชีวิตของฆราวาส เนื่องจากการขยายความในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จะเป็นการวิเคราะห์และขยายความสำหรับพระภิกษุหรือผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ในบทความนี้ผู้เขียนต้องวิเคราะห์เพื่อให้ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของคนทั่วไป ซึ่งจะแสดงให้เห็นสภาพอาการความวิตกกังวลว่าเป็นปัญหารบกวนจิตใจและส่งผลต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการความตั้งมั่นหรือความแน่วแน่ทางจิตใจที่เรียกว่า สมาธิ จำเป็นต้องระงับอาการวิตกกังวลที่ก่อกวนจิตใจให้ได้มากที่สุด เนื่องจากอาการปลิโพธคือความวิตกกังวลจะสร้างความฟุ้งซ่าน ความหวั่นไหว ความไม่มั่นใจในอารมณ์ หรือหากความวิตกกังวลเกิดขึ้นมากและเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะเครียดขึ้นมาแทน นอกจากนี้ ความวิตกกังวลจะทำให้เราสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติได้ และจะทำให้ความคิดขาดการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้อวัยวะในร่างกายส่วนอื่น ๆ ไม่เป็นไปตามประสิทธิภาพ เมื่อจิตใจไม่มีมั่นคง ความคิดก็ไม่ความเฉียบแหลม ร่างกายก็ไม่สามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ สภาพเช่นนี้จึงกลายเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต อาการวิตกกังวลจึงควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/264540 การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสู่ความเข้มเข็งประชาธิปไตยของไทย 2023-10-26T14:15:55+07:00 สุธี โกสิทธิ์ [email protected] ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ [email protected] <p>บทความวิชาการนี้ผู้เขียนมุ่งนำเสนอการเปลี่ยนผ่านสู่ความเข้มเข็งประชาธิปไตยของไทย ดังนี้ 1) การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยที่เน้นให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญที่ส่งผลให้เกิดการปกครองที่มีการควบคุมการใช้อำนาจทางการเมือง ได้แก่ การคัดสรรผู้นำการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ ความมั่นคงภายในการป้องกันประเทศ การสร้างหน่วยงานพลเรือนที่เชี่ยวชาญความมั่นคง การวางแผนการป้องกันประเทศตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และสร้างพรรคการเมืองให้มีประชาธิปไตยทีเข้มแข็ง 2) การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในการสร้างคุณภาพและเสถียรภาพยั่งยืน เน้นความมีเสถียรภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยและหลักการความเป็นประชาธิปไตย 3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตย ควรพัฒนากระบวนการการปกครองระบอบเผด็จการมาสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตย และควรศึกษาโครงสร้างทางการเมืองหรือสังคมที่ชัดเจน 4) การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมสู่ความเข้มแข็งประชาธิปไตย เน้นบทบาทสำคัญในการยึดหลักในการนำการเปลี่ยนผ่าน 5) สถาบันการเมืองเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งของไทย เน้นการพัฒนาประชาธิปไตยให้ยั่งยืนภายใต้กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ อาทิ รัฐบาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง รัฐสภา และศาล</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/265769 อิทธิพลการสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลกับการเคลื่อนไหวทางสังคม 2023-11-13T12:01:05+07:00 กิตตินันท์ วงษ์สุวรรณ [email protected] สรวิศ พรมลี [email protected] กันยรัตน์ ไมยรัตน์ [email protected] ปิยรัช อยู่รักชาติ [email protected] <p>การสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลก่อเกิดอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ถือว่าเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ทางการสื่อสารการเมืองแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงทางบวกและทางลบขึ้นอยู่กับที่จังหวะเวลาและบทสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งผู้เขียนมองเห็นถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองที่ผ่านบริบทแห่งการเคลื่อนไหวที่มาในอดีตและปัจจุบันที่มองเห็นถึงความสำคัญและอิทธิของสื่อสารทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสังคมการเมืองไทยและสังคมการเมืองโลกเป็นอย่างมาก สังคมแห่งการสื่อสารทางการเมืองมีบทบาทอย่างมากในส่วนของการค้นพบว่า 3 รูปแบบ (1) สมาชิกของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร แสดงความคิดเห็น โต้ตอบ แลกเปลี่ยนการรับรู้ มีอิทธิพลต่อทัศนคติเชิงอดุมการณ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (2) มีอิทธิพลในเชิงการเผยแพร่หรือนำส่งวาทกรรมทางการเมือง ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งตามวาทกรรมนั้น และ (3) แนวโน้มพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมที่เปิดรับข้อความการสื่อสารทางการเมืองสามารถจูงใจให้เกิดการติดตาม การชวนเชื่อ และเร่งให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสถาบันทางการเมือง จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมการสื่อสารมาใช้รณรงค์ให้เกิดการรับรู้ข่าวสาร ข้อเท็จจริง เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งกล่อมเกลาเชิงทัศนคติให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมในทิศทางที่พึงประสงค์สำหรับอนาคต</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/264450 แนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู 2023-10-09T14:00:44+07:00 นริศรา เสือคล้าย [email protected] <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครู และนำเสนอแนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครูที่เลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 25 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครูคาดหวังให้นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครู ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ 1) การปฏิบัติหน้าที่ครู 2) การจัดการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน</li> <li>แนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3 สมรรถนะ ดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่ครู ควรประเมินเกี่ยวกับความมุ่งมั่นพัฒนา ความเอาใจใส่ และการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน 2) การจัดการเรียนรู้ ควรประเมินเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน การทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ควรประเมินเกี่ยวกับความร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน การเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267419 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 2023-10-18T09:41:46+07:00 เจนนิสตรา สิริศรีเสริมวงศ์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยเดินทางท่องเที่ยวประเภทการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และหาอิทธิพลของตัวแปร โดยใช้ ค่าสถิติ One-way ANOVA และค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย และความรู้และข้อมูลทั่วไป สมรรถนะด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะการนำเสนอ สื่อความหมาย และนักการขาย ทักษะนันทนาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะการใช้สื่อสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการสร้างประสบการณ์ สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ได้แก่ ความภาคภูมิใจในงาน การตรงต่อเวลา การมีมนุษยสัมพันธ์ดี และจริยธรรมและจรรยาบรรณ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสบการณ์การท่องเที่ยว</li> <li>ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) การเสริมสร้างสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ 2) การเสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267816 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 2023-10-26T14:17:46+07:00 ธวัช คำทองทิพย์ [email protected] สุธาทิพย์ รัฐปัตย์ [email protected] ปิยจิตร สังข์พานิช [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและหาแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาคม เพื่อระดมความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน 8 หมู่บ้าน ของตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท จำนวน 88 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ SWOT สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลวังหมัน อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท คือ ควรมีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตามแผนยุทธศาสตร์ของผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ซึ่งมีประเด็นการส่งเสริมผู้สูงอายุซึ่งประกอบด้วย 6 มาตรการหลัก ควรมีการพัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เชื่อมต่อกันระหว่างคณะกรรมการระดับจังหวัด หน่วยงานภายในจังหวัดกับพื้นที่ และผู้สูงอายุระดับพื้นที่ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ รวมถึงแนวทางส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุในพื้นที่</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/264780 การพัฒนาสื่อประสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา 2023-10-09T14:03:32+07:00 ขวัญหทัย ธรรมเสนา [email protected] อนงค์ศิริ วิชาลัย [email protected] วารุณี โพธาสินธุ์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม จำนวน 6 แผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.84/84.44 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80</li> <li>ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อประสม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.67 และผลการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 9.83</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/264652 แนวปฏิบัติการประกันคุณภาพที่เหมาะสมของโรงเรียนนานาชาติ: กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย 2023-10-09T14:02:25+07:00 ทรงสรรค์ อุดมศิลป์ [email protected] ธีรภัทร์ ประสมสุข [email protected] เพ็ญพรรณ แสงเนตร [email protected] สังวาร วังแจ่ม [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ขององค์กรตามท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ประเภทนานาชาติ 2) นำเสนอองค์กรที่เหมาะสมและแนวปฏิบัติขององค์กร เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิเคราะห์ สำหรับโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย 3) จัดทำขั้นตอนตามแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ เชียงราย ตามองค์กรที่นำเสนอ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยของการศึกษาคือองค์กรนานาชาติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง 4 องค์กร และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รวมเป็น 5 หน่วยการศึกษา และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพของแต่ละองค์กรที่ศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์จากเว็ปไซต์ขององค์กรที่เป็นหน่วยศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>แนวปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของทุกองค์กรที่ศึกษานั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันและต่างมีระบบย่อย ๆ ประกอบอยู่ภายในระบบการรับรองคุณภาพของทั้ง 4 องค์กรจากต่างประเทศ โดยที่โรงเรียนที่ขอรับรองการประเมินคุณภาพ ต้องสมัครสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ และมีค่าใช้จ่าย แต่การขอรับการประเมินคุณภาพจาก สมศ. ไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว</li> <li>องค์กรและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการประกันคุณภาพของโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน คือ สมศ.</li> <li>ขั้นตอนตามแนวปฏิบัติเพื่อรับการประเมินคุณภาพของ สมศ. สำหรับโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) โรงเรียนต้องทำความเข้าใจกรอบแนวทางการการประเมินของ สมศ. โดยภาพรวม 2) ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อแสดงความประสงค์รับการประเมินภายนอกจาก สมศ. 3) ประสานงานกับ สมศ. เพื่อจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมให้ผู้ประเมิน (ถ้ามีการร้องขอ) 4) เตรียมการดำเนินงานการประเมิน ออนไลน์ ด้านสารสนเทศและด้านผู้แทนโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สัมภาษณ์ระหว่างการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/265203 การพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา สำหรับนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ 2023-10-18T09:42:04+07:00 วิทวัส โกฎิฉกรรจ์ [email protected] สมชัย ศรีนอก [email protected] นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ 2) พัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 3) ศึกษาผลการนำระบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา 4) ศึกษาประสิทธิผลของระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 รูป/คน นิสิต จำนวน 30 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา อาจารย์และนิสิตมีความคิดเห็น ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</li> <li>สภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ทั้ง 5 ด้าน กระบวนการ ตามระบบการสอนสังคมศึกษา 5 ขั้นตอน ผลลัพธ์ ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา 6 ด้าน ผลกระทบต่อผู้เรียนและมหาวิทยาลัย</li> <li>ผลการนำระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้อาจารย์และนิสิตมีความคิดเห็นต่อการนำระบบไปใช้ที่สูงขึ้น</li> <li>ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความถูกต้อง ที่ค่าเฉลี่ย 4.16 ด้านความเหมาะสม ที่ 4.15 ด้านความเป็นไปได้ ที่ 4.14 ด้านความเป็นประโยชน์ ที่ 4.31</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/268019 การบูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนา เพื่อลดการเผาป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ 2023-10-26T14:18:36+07:00 ธีรศักดิ์ แสนวังทอง [email protected] พระพงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล (อุตฺตรภทฺโท) [email protected] พระมหาอดิสร อินฺทปญฺโญ [email protected] ทรงศักดิ์ พรมดี [email protected] โผน นามณี [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผาป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาภูมิปัญญาล้านนาสำหรับประยุกต์ใช้ในการลดการเผาป่าฯ 3) บูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาในการลดการเผาป่าฯ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ชุมชนป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 382 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ประธาน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำกลุ่มเกษตรชุมชนวัดป่าตาล จำนวน 17 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผาป่าฯ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ย 2.69 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68 คิดว่าการเผาสามารถเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น 2) ด้านผลกระทบพบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.85 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 เช่น ผลกระทบต่อภาวะอากาศของโลก 3) การป้องกัน พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0. 31 เช่น การลดการเผาจำเป็นต้องอาศัยกลไกกฎกติกาในระดับพื้นที่ร่วมในการจัดการ</li> <li>ผลการศึกษาภูมิปัญญาล้านนาสำหรับประยุกต์ใช้ในการลดการเผาป่าฯ พบว่า การใช้ภูมิปัญญาด้านกฎจารีตประเพณีซึ่งเป็นภูมิปัญญาเรื่องการปกครอง การอยู่ร่วมกันของชุมชนใช้กฎหมายกฎแห่งกรรมกฎธรรมชาติ และกฎจารีตประเพณี เช่น การบวชป่า บวชต้นไม้ และความเชื่อในการจัดการไฟป่า (ป่าเปียก)</li> <li>การบูรณาการ พบว่า การบูรณาการหลักธรรม อาทิ 1) หลักศีล 5 2) หลักไตรสิกขา 3) หลักเมตตาธรรม 4) หิริ 5) โอตตัปปะ สามารถบูรณาการในการป้องกันปัญหาไฟป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267418 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามแนวทางพุทธศาสนา ที่นำมาใช้ในการทำงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2023-10-09T13:49:30+07:00 เอื้อมเดือน แก้วสว่าง [email protected] นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความสัมพันธ์แนวพุทธของบุคลากรที่นำมาใช้ในองค์กรของมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ได้จากวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย 2) บุคลากรสายวิชาการ และ 3) บุคลากรสายสนับสนุน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับบุคลากร มีการแสดงออกใน 3 ลักษณะหลัก ๆ คือ 1) ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน 2) หลักธรรมนำการบริหาร และ 3) ความสัมพันธ์แบบแนบราบ ส่งผลให้การทำงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกกดดันหรือมีความตึงเครียดจนเกินไป ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรด้วยกันเอง มี 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ 1) ความสัมพันธ์แบบครอบครัว และ 2) ยึดถือการเป็นผู้ให้ เป็นหลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในองค์กร การเชื่อมความสัมพันธ์ของบุคลากรในการทำงานใช้หลักแนวพุทธศาสนา และตระหนักถึงความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัย ที่ให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ และการปฏิบัติตนเป็นประจำของบุคลากรภายในองค์กร อันเป็นจริยธรรมที่บุคลากรทุกคนปฏิบัติร่วมกัน</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/268602 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา 2023-10-26T11:29:48+07:00 ชุ่ม พิมพ์คีรี [email protected] พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี ปฏิภาณเมธี [email protected] กิตติคุณ ภูลายยาว [email protected] พระพงษ์ระวี อุตตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล) [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านของนักศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติเช้า และปกติบ่าย ที่เรียนวิชาหลักการอ่าน ปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านของนักศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนวิชาหลักการอ่านที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา โดยใช้แบบฝึกการอ่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านพัฒนาทักษะการอ่าน ด้านการบูรณาการการอ่าน ด้านผู้สร้างเสริมการอ่านและด้านวิธีสร้างเสริมการอ่าน ตามลำดับ</li> <li>ด้านพัฒนาทักษะในด้านการอ่านควรมีวิธีการอ่านเน้นคำยากให้มากขึ้น ด้านการบูรณาการการอ่านควรเพิ่มเทคนิคการอ่านทำนองเสนาะให้มากขึ้น ด้านผู้สร้างเสริมการอ่านควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฝึกอ่านบ่อย ๆ และด้านวิธีสร้างเสริมการอ่านควรเพิ่มผู้ชำนาญการ และควรเพิ่มเวลาในการฝึกอ่าน</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ปัญญา