ปัญญา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo
<p><strong>วารสาร ปัญญา</strong> มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ในมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 1) สาขาพุทธศาสนา 2) สาขาศาสนาและปรัชญา 3) ศึกษาศาสตร์ 4) สังคมศาสตร์ 5) มนุษยศาสตร์ 6) รัฐสาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ 7) สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p>
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
th-TH
ปัญญา
2697-4940
-
โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271187
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 2) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 3) ประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ</p> <p><strong>ผลวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจําเป็นของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจําเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตามลำดับ</li> </ol> <p>2. ผลโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ประกอบด้วย <br />1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา มี 4 Module ประกอบด้วย ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล และการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดผลและประเมินผล ผลตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้บริหารสถานศึกษา ผลการประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ทิติมาพร ปิดตามานัง
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
1
10
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271934
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย<br />2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการดำเนินงาน (CRPAO Model) มี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development : C) ด้านการจัดลำดับเนื้อหา (Ranking Content : R) ด้านการเรียนรู้แบบปรับได้ <em>(</em><em>Adaptive Learning : A) ด้าน</em>การสร้างนวัตกรรมแบบมืออาชีพ (Professional Innovation : P) และด้านการประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ (Objective Based Evaluation : O) และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางโรงเรียนสอนคิดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีความครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก</p>
อรพิน สุภาวงศ์
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
11
25
-
ความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/275704
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตรประมาณค่า 5 ระดับ 2 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNI <sub>Modified </sub>เท่ากับ 0.41 ค่า IOC เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.92 สภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.94</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการประเมินความสามารถพื้นฐาน และสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ ด้านการรวบรวมข้อมูล</li> </ol> <p>2. ความต้องการจำเป็นในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ด้านการรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) ด้านการคัดกรองผู้เรียนตามประเภทความพิการทางการศึกษา 3) ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและส่งต่อ 4) ด้านการจัดทำแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP) และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 5) ด้านการประเมินความก้าวหน้า 6) ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม 7) การและด้านประเมินความสามารถพื้นฐาน</p>
สุนิษา ชานนท์
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
26
39
-
คุณภาพการใช้งานระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E- PORTFOLIO) เพื่อการบริหารจัดการด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/274092
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E - PORTFOLIO) เพื่อการบริหารจัดการด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ประเมินและพัฒนาคุณภาพการใช้งาน ระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E - PORTFOLIO) เพื่อการบริหารจัดการด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี จากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำมาประกอบการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และอภิปรายผลการวิจัย</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>1) ระบบสามารถกำหนดองค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้/เกณฑ์คะแนน สามารถรายงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย/หน่วยงาน และระดับสถาบัน ระบบสามารถแนบเอกสารหลักฐานอ้างอิง คณะกรรมการสามารถประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและให้ข้อเสนอแนะ ระบบสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติ ประมวลผลเพื่อรายงานการประเมินตนเองเป็นรูปเล่ม ระบบสามารถรายงานเป็นสถิติเพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ และ ระบบสามารถเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ได้ จึงเกิดผลการดำเนินงานจากการสร้างองค์ประกอบของระบบ และผลที่ได้รับจากการสร้าง แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E - PORTFOLIO) ได้แก่ ด้านคุณภาพระบบโครงสร้าง ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านคุณภาพของการบริการ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้</p> <p>2) ผลการประเมินคุณภาพการการใช้งาน ระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E - PORTFOLIO) พบว่า คุณภาพการใช้งานระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E–PORTFOLIO) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.44) ได้แก่ 1. ด้านคุณภาพระบบโครงสร้าง (x̅= 4.46) 2. ด้านคุณภาพของข้อมูล (x̅= 4.44) 3. ด้านคุณภาพของการบริการ (x̅= 4.40) 4. ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ (x̅= 4.44) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก</p>
วันดี บุญล้อม
จุฑามาศ เทพเทียมทัศ
อัมพิกา กลิ่นฟุ้ง
ธนาวดี ทองเอม
เบญจวรรณ โพธิ์สุวรรณ์
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
40
52
-
โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา่ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต2
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/273964
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา 2) สถิติใช้ตามความมุ่งหมายของการวิจัย คือ ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) การเรียนรู้เป็นทีม 2) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 3) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.12) และด้านวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.09) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅= 4.90) และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม (PNI <sub>modified </sub>= 0.371) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (PNI <sub>modified </sub>= 0.367) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน (PNI <sub>modified </sub>= 0.365) ตามลำดับ และผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.54, S.D.= 0.50) และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.62, S.D.= 0.49)</p>
อภิญญา วิบูลย์สิน
สุภัทร พันธ์พัฒนกุล
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
53
63
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/275267
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองรูปแบบ และ 4) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ปฏิบัติการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบประเมินกระบวนการรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเขียนสรุปแบบบรรยายพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li>โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา ยังขาดปัจจัยการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ขาดมาตรการการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านวินัยให้มีความชัดเจน ปัจจัยการจัดการเรียนการสอน และการเตรียมความพร้อมของครู</li> <li>การสังเคราะห์รูปแบบมีขั้นตอนคือ 1) การควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย 2) การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน 3) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 4) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 5) การให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานและให้เพื่อน ครู ร่วมกันประเมินสะท้อนผลการเรียนรู้ 6) การให้ผู้เรียนและครูช่วยเชื่อมโยง สรุปผลการเรียนรู้ 7) การสรุปรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้</li> <li>การทดลองรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย มีการดำเนินการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมตามวงจรคุณภาพ PDCA และมีขั้นตอนดำเนินงาน 7 ขั้นตอนตามรูปแบบที่กำหนด</li> </ol> <p> 4. การประเมินกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย ผู้ประเมินร้อยละ 54.62 ให้ระดับคุณภาพ มาก ร้อยละ 24.37 ให้ระดับคุณภาพมากที่สุด และร้อยละ 14.29 ให้ระดับคุณภาพ พอใช้ ตามลำดับ สรุปผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 95 และได้ “ผ่าน” และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60</p>
กฤตยชญ์ ต่อมใจ
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
65
77
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศของครู โรงเรียขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/273942
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจําเป็นของสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์เอกสาร นำข้อมูลที่ได้ไปสร้างแบบสอบถาม</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความจำเป็นของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู มีลำดับดังนี้ 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (PNI <sub>modified </sub>= 0.154) 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถูกต้องตามกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรม (PNI <sub>modified </sub>= 0.153) 3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียน การสอน (PNI <sub>modified </sub>= 0.115) และ 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน (PNI <sub>modified </sub>= 0.115) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 3.81 ความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ย 4.79 ความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 4.88</p>
ภูวดล บุญเกาะ
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
78
86
-
การศึกษาอิทธิพลความเชื่อลัทธิเต๋าที่ปรากฏในประเพณีชาติพันธุ์ฮั่นของเมืองเป่าซาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/273721
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อลัทธิเต๋าที่ปรากฏในประเพณีชาติพันธุ์ฮั่นของเมืองเป่าซาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งรวมการใช้ <strong>qualitative research</strong> (การวิจัยเชิงคุณภาพ) และ <strong>quantitative research</strong> (การวิจัยเชิงปริมาณ) เข้าด้วยกัน ในกรณีนี้ การใช้ <strong>questionnaires</strong> (แบบสอบถาม) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาเอกสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่ามี 18 ประเพณีของชาวเป่าซาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต 4 ประเพณี มีการบูชาเทพเจ้า 14 ประเพณี มีการใช้นักบวชของลัทธิเต๋าเพื่อประกอบพิธีกรรม 5 ประเพณี ใช้ผู้อาวุโสในครอบครัวร่วมกับนักบวชเต๋า 1 ประเพณี สมาชิกในครอบครัวสามารถประกอบพิธีกรรมได้ด้วยตนเอง 12 ประเพณี ส่วนประเพณีที่ต้องประกอบพิธีกรรมในศาสนสถานของลัทธิเต๋า มี 2 ประเพณี ประกอบพิธีกรรมที่หลุมฝังศพ 1 ประเพณี ประกอบพิธีกรรมในที่โล่งกว้าง 1 ประเพณี และสามารถประกอบพิธีกรรมในบ้านของตน 14 ประเพณี นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลความเชื่อของลัทธิเต๋าและชาติพันธุ์เป่าซานมีความสัมพันธ์กันด้วย 4 ความสัมพันธ์ คือ 1 ด้านความเชื่อ ที่มีการปลูกฝังตลอดวิถีชีวิตในประเพณีต่างๆตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ด้านที่ 2 ด้านเทพเจ้า ที่มีการสื่อสารไปยังเทพเจ้าต่างๆของลัทธิเต๋าเพื่อให้ผู้ร่วมประเพณีได้รับผลทั้งด้านชีวิตและจิตใจ ด้านที่ 3 นักบวช มีการใช้นักบวชในลัทธิเต๋าเพื่อประกอบพิธีกรรม และด้านที่ 4 ศาสนสถานของลัทธิเต๋าที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม</p>
ชัยเนตร ชนกคุณ
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
87
99
-
ศึกษาการพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/276174
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน 2) ศึกษาหลักพรหมวิหารธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูป/คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ และหากผู้นำชุมชนได้นำหลักพรหมวิหารธรรม อันประกอบด้วยองค์ธรรมทั้ง 4 คือ เมตตา เป็นความรัก ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข, กรุณา เป็นความสงสารคิดอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์, มุทิตา เป็นความยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข, อุเบกขา เป็นการวางใจเป็นกลางอันดำรงอยู่ตามธรรมที่พิจารณาด้วยปัญญา ในพระพุทธศาสนาเถรวาทมาใช้เป็นหลักธรรมประจำใจด้วยแล้ว ย่อมทำให้ชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าและเกิดการพัฒนายิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จึงถือเป็นจุดชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้ผู้นำชุมชนจำเป็นต้องพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การให้การศึกษาชุมชน ด้านการจัดระเบียบชุมชน และด้านการดำเนินงานตามกระบวนการชุมชน ที่ผู้นำได้นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสงบสุข มีคุณภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากชุมชนจึงถือเป็นทุนทางสังคมที่เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ และหากผู้นำชุมชนมีการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมมาการพัฒนาชุมชนด้วยแล้ว สมาชิกในชุมชนย่อมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย</p>
วารุณี มงคลฤดี
พระครูบวรชัยวัฒน์ -
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
100
108
-
นโยบายผู้นำตามโครงการโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267080
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์นโยบายโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ <br />2) นโยบายของผู้นำตามโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย และ 3) ผลของการนำนโยบายโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากกลุ่มป้าหมาย จำนวน 23 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลโดยใช้หลักพรรณาวิธี</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>การรับนโยบายจากรัฐบาลสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร มีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนนโยบายให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่โครงการได้กำหนดไว้ ตามทฤษฎี SWOT Analysis</li> <li>มีการถ่ายทอดการน้อมนำเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่ผู้นำของชุมชนและกระจายไปสู่เกษตรกร มีการนำนโยบายลงสู่พื้นที่โดยกรมพัฒนาชุมชน และทำเอกสารมาถึงจังหวัดเลย จากนั้นสั่งการให้แต่ละอำเภอประชาสัมพันธ์ให้กับผู้นำชุมชนเพื่อกระจายข่าวสารให้กับเกษตรกร และการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับโครงการคือ การพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าให้มีความอุดมสมบูรณ์</li> </ol> <p>3. การเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรด้านกายภาพ คือพื้นที่ได้รับการปรับให้เข้ากับรูปแบบของโครงการโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ เกิดสภาพพื้นที่มีความสวยงาม เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้พื้นที่ ด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย และใจดีขึ้น ความสัมพันธ์ในครอบครัวอบอุ่น บริโภคอาหารปลอดสารพิษ และด้านเศรษฐกิจทำให้เกษตรกรลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จำหน่ายสินค้าเกษตรในชุมชน </p>
ชยพล คำสุวรรณ
วีรนุช พรมจักร์
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
109
119
-
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/273938
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหาร 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความเที่ยงของเนื้อหา (Validity), ค่าเฉลี่ย (Mean,x̅ ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าสภาพปัจจุบันการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล</li> </ol> <p>2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมมีระดับคุณภาพมากที่สุด</p>
ณัฐธิดา พิมพ์สาร
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
120
127
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/273675
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>1) นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มีระดับความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก (x̅=4.22, S.D. = 0.50) </p> <p>2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (X<sub>2</sub>), ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน (X<sub>4</sub>), ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมชั้นเรียน (X<sub>5</sub>), และปัจจัยด้านผู้สอน (X<sub>6</sub>) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนดิบ</p> <p>Ŷ=1.01+0.16X₂+0.18X₄+0.20X₅+0.24X₆ </p> <p> สมการพยากรณ์รูปคะแนนแบบมาตรฐาน Ẑ=0.17Z₂+0.18Z₄+0.27Z₅+0.27Z₆</p>
ฐิติชญาน์ คงชู
ภัทริณี คงชู
Copyright (c) 2024 ปัญญา
2024-08-30
2024-08-30
31 2
128
137