ปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo <p><strong>วารสาร ปัญญา</strong> มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ในมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 1) สาขาพุทธศาสนา 2) สาขาศาสนาและปรัชญา 3) ศึกษาศาสตร์ 4) สังคมศาสตร์ 5) มนุษยศาสตร์ 6) รัฐสาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ 7) สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> th-TH dtk.chamnan@hotmail.com (ผศ.ดร. ตระกูล ชำนาญ) nuncharee.fon@gmail.com (นางสาวนุชรี วงค์ชมภู) Tue, 30 Apr 2024 15:39:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พลังโซเชียลมีเดียกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบัน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/269109 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งนำเสนอพลังโซเชียลมีเดียกับปรากฎการณ์เสียงสะท้อนความคาดหวังทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า 1) พลังโซเชียลมีเดียปรากฎการณ์เสียงสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ปัจจุบันทำให้ประชาชนเชื่อมต่อกันได้ตลอดเวลา กระแสในสื่อโซเชียลก่อให้เกิดพลังผลักดัน และมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยได้รับการสื่อสารทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองมากขึ้น 2) พลังโซเชียลมีเดียปรากฏการณ์เสียงสะท้อนความคาดหวังทางการเมืองจากนักการเมืองโดยนักการเมืองสามารถแสดงตัวตน เพื่อการหาเสียงทางการเมือง พลังโชเชียลมีเดียสะท้อนความคาดหวังของประชาชนให้หันมาใช้วินัยเชิงบวกและจิตปัญญาศึกษาในบ้าน เช่น การให้ความรู้รวมถึงกิจกรรมการเลือกตั้งกับคนในครอบครัว ตลอดจนซึมซับเอาวัฒนธรรมทางการเมือง และการส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น พลังโซเชียลมีเดียสะท้อนการทำงานของรัฐบาลจากประชาชน 3) พลังโซเชียลมีเดียปรากฎการณ์เสียงสะท้อนการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยการปลดล็อคขีดจำกัดของพลังประชาชนธรรมดาในการออกความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเยาวชนที่แสดงความเห็นต่าง และจุดยืนที่แตกแยกทางการเมือง</p> <p>โดยก่อนการเลือกตั้งมักมีสัญญาณต่าง ๆ ทางการเมืองเกิดขึ้นทั้งในโลกแห่งความจริง และโลกโซเชียลมีเดียที่มีการรวมพลังทั้งจากฝ่ายการเมือง และฝ่ายสนับสนุนของแต่ละพรรค นอกจากนี้ยังพบความเท็จที่ถูกเผยแพร่อยู่ในกลุ่มของแพลตฟอร์มต่าง ๆ บนโชเชียลมีเดียมักจะกลายเป็นความจริงที่เชื่อกันเฉพาะกลุ่ม เพราะสมาชิกแต่ละคนภายในกลุ่มต่างเชื่อข้อมูลซึ่งกันและกันมากกว่าการอ้างอิงสื่อกระแสหลัก อันเป็นผลมาจากอคติในกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการยืนยันของสมาชิกภายในกลุ่ม และหากความจริงลวงตาเหล่านี้เป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง และชักนำไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ผลลัพธ์ทางการเมืองบิดเบี้ยวไป</p> สุรศักดิ์ ศรีธรรมกุล, นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/269109 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271140 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา <br />1.1 ผลการศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสาร ได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาครู ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผล <br />1.2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง <br />1.3 ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br />1.4 ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา โดยภาพรวมเท่ากับ 0.347 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาครู ด้านการประเมินผล และด้านการบริหารหลักสูตร</li> <li>ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา ภาพรวมมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> กชพร สีกาเรียน Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271140 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271051 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน จากจำนวนทั้งหมด 140 รูป/คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตาราง Krejcie &amp; Morgan ได้ จำนวน 103 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้แบบสอบถามชนิดตรวจรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน โดยใช้แบบสอบถามชนิดเลือกตอบจำแนกเป็น 4 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test ในการเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกลุ่มบริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านกลุ่มบริหารงาน งบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านกลุ่มบริหารงานทั่วไป 2) การเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาโดยภาพรวมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน</p> เขียน วันทนียตระกูล, สมนึก นาห้วยทราย, ชุติมา มุสิกานนท์ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271051 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงาน (MIS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานวิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270828 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการระบบสารสนเทศการบริหารงานและ แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงาน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 78 รูป/คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยกำหนดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 10 รูป/คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <p>1) สภาพการจัดการระบบสารสนเทศการบริหารงาน (MIS) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการรวบรวมข้อมูล และด้านการประมวลผลข้อมูล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงาน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผน ควรมีการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มของระบบสารสนเทศที่องค์กรต้องการใช้ในการดำเนินงานในระดับต่าง ๆ (2) ด้านการวิเคราะห์ ควรดำเนินการตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร จัดทําเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียดและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (3) ด้านการออกแบบ ควรออกแบบระบบสารสนเทศที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โดยกําหนดรายละเอียดขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบ โดยให้ความสำคัญต่อการออกแบบฐานข้อมูล (4) ด้านการนำไปใช้ ควรพัฒนาระบบให้ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้มากำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และการวางแผนปฏิบัติการในการทำงาน สามารถนำสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน และ (5) ด้านการบำรุงรักษา ควรพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยจัดทำแผนการดูแลบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และการดูแลรักษาระบบสารสนเทศการบริหารงาน </p> อารีย์ พานทอง, กรวรรณ อินต๊ะชัย, เดือนเพ็ญ จันทร์สะอาด, วาสินี อินเป็ง Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270828 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/266321 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน 1 ห้องเรียนกลุ่มการเรียนซ่อมเสริม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดยใช้สถิติทดสอบที่ไม่อิสระจากกัน (T-test dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/78.50 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้</p> <p>2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เกมเป็นฐาน ด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>3) ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เกมเป็นฐาน ด้วยบูรณาการเทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> อุไร ซิรัมย์, อุบลรัตน์ บุญประเสริฐ, ภัควลัญชญ์ ชัยรัตน์ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/266321 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐ ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267042 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การปฏิบัติภารกิจการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย 2) ผลการปฏิบัติภารกิจในการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย และ 3) การสร้างเครือข่ายการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิธี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การวิเคราะห์การสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย ตามหลัก SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง พบว่ามีการตรวจสอบจากภาคประชาชน จุดอ่อนคือการขาดงบประมาณ โอกาสคือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนรวม มีการสร้างเครือข่ายแต่ยังมีอุปสรรคคือการให้รายละเอียดโครงการไม่ครบถ้วน</li> <li>ผลการในการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะปฏิบัติภารกิจหน่วยงานภาครัฐของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเลย พบว่าขาดงบประมาณการออกตรวจงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เพราะปริมาณโครงการในจังหวัดมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถสอดส่องโครงการต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมาย</li> <li>การสร้างเครือข่าย พบว่าการหาเครือข่ายที่มีจิตอาสาค่อนข้างยาก และยังขาดความรู้การเป็นเครือข่ายที่ดี และมีองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับคือ มีการตรวจสอบโดยภาคประชาชนเรื่องแนวทางปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันเป็นผลให้การทำงานของภาครัฐเกิดประโยชน์สูงสุด สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ เปรียบเสมือนเป็นแนวกันไฟ คอยป้องกันไฟที่อาจจะก่อความเสียหายได้ เป็นการป้องปรามการทุจริตภาคประชาชน ผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการ นำไปสู่การพัฒนาที่ควรเพิ่มประเด็นการศึกษาให้ชัดเจนขึ้น โดยการเพิ่มการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด บทบาทและอำนาจหน้าที่ที่ควรปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน</li> </ol> จิรวัฒน์ วัฒนถนอม, สุขพัฒน์ อนนท์จารย์ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/267042 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของครูและผู้ดูแลเด็กของสมาคมครูและผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270831 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสมาคมครูและผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์เชียงใหม่ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก 3) ทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ครูและผู้ดูแลเด็ก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p>1. สภาพการบริหารงานวิชาการ ของสมาคมจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ค่าการวิเคราะห์สูงสุดคือ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สภาพที่เป็นจริง I= 33 สภาพที่ต้องการ D=99 (I-D)/D= 0.667 แสดงว่าครูและผู้ดูแลเด็ก ต้องการที่จะพัฒนาด้านการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น</p> <p>2. สร้างรูปแบบและยืนยันรูปแบบ 1) โดยใช้การสอนแบบโครงการ และกิจกรรมการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบ 2) ยืนยันรูปแบบด้วย Delphi Technique ผลการวิเคราะห์ค่า IQR = 0 ทุกข้อแสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นที่เป็นฉันทามติ และยืนยันความถูกต้องโมเดลด้วย CFA</p> <p>3. นำรูปแบบไปทดลองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่เป็นสมาชิกของสมาคม โดยครูและผู้ดูแลเด็ก จำนวน 253 คน ปีการศึกษา 2565 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้รับการอบรมมีการทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของครูและผู้ดูแลเด็ก 14 ด้านด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ Jellen &amp; Urban</p> <p>4. ประเมินรูปแบบด้วยสถิติโค้งพัฒนาการ LGM พบว่าหลังการใช้รูปแบบครูและผู้ดูแลเด็ก มีอัตราพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01** ทั้ง 14 ข้อ</p> ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์, มนตรี วิชัยวงษ์ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270831 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสกัดหลักคำสอนเรื่องมหาสติปัฏฐานตามแนวทางปฏิบัติ ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270442 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดหลักคำสอนเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรตามแนวทางปฏิบัติของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะการพรรณนาโดยกลุ่มตัวอย่างคลิปข้อมูลผ่านช่องทาง YouTube จำนวน 16 คลิป และเอกสารที่เกี่ยวข้องธรรมบรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ฐานกาย อานาปานสติกรรมฐานเป็นภาคพื้นสำคัญทุกฐาน สติกำหนดลมหายใจ สัมปชัญญะกำหนดความรู้ตัว เข้าถึงฌาน 4 ใช้สมถกรรมฐานเป็นฌานไปสู่วิปัสสนา พิจารณาปฏิกูล ธาตุ 4 นวสี 9 ขันธ์ 5 ละนิวรณ์ 5 2) ฐานเวทนา ความทุกข์คือตัวอารมณ์ ให้รู้อารมณ์ วางอารมณ์ ควบคุมกำลังใจด้วยศีล อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 จรณะ 15 บารมี 10 เป็นกำลังพลังอารมณ์ไปเป็นวิปัสสนาด้วยฐานธรรม 3) ฐานจิต เป็นศูนย์กลางปฏิบัติ สติคุมจิตและพัฒนาจิต 16 อย่างให้จิตรู้อาการ สมาธิคือตัวรู้ ฌานคือจิตทรงสมาธิ จิตทรงฌาน ใช้เทคนิคมโนมยิทธิเป็นการฝึกให้มีฤทธิ์ทางจิตใจให้สัมผัสตามความเป็นจริง 4) ฐานธรรม ปัญญารู้ตามความเป็นจริงเป็นวิปัสสนาญาณ เห็นกฎความธรรมดาเห็นความไม่เที่ยง ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ใช้ปัญญาพิจารณาอริยสัจ 4 พัฒนาฐานกาย เวทนา จิต ธรรม ปฏิบัติย้อนกลับไปมาเพียรปฏิบัติตลอดเวลา มุ่งสู่พระนิพพาน</p> สรัญญา โชติรัตน์, พระครูโสภณกิตติบัณฑิต (บุญเสริม ศรีทา) Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270442 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270811 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพคุณลักษณะในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 45 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <ol> <li>สภาพคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาส ภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ผู้บริหารมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทีสุด ได้แก่ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้นำทีพึงประสงค์ และความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม</li> <li>ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาสะท้อนให้เห็นจากการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา เพราะผู้บริหารสถานศึกษาจัด บุคลากรให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด</li> <li>แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 2) วิสัยทัศน์ในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการกำหนดภาพที่คาดหวังและกระตุ้น โน้มน้าว จูงใจให้บุคลากรปฏิบัติตาม วิสัยทัศน์ขององค์กร 3) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารแบบมีส่วนร่วม 4) การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารในการบริหารนวัตกรรมและการบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม สร้างบรรยากาศในการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม การยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง</li> </ol> ยุพดี เพ็ชรสมัย Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270811 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271853 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของตัวแปรปัจจัยกับพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพ และ เพื่อศึกษาค่าน้ำหนักของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับพฤติกรรมการบริหารระดับพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 2 ประชากรที่ศึกษา จำนวน 160 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหพันธ์ และถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TQM) ของโรงเรียนคุณภาพ คือ การจูงใจ และบรรยากาศในการ 2) ปัจจัยระดับองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของโรงเรียนคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจูงใจ และด้านบรรยากาศในการทำงาน และ 3) ผลการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัย พบว่า ตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน 4) ตัวแปรที่มีอำนาจการพยากรณ์ได้ดีที่สุด คือ ด้านการดำเนินงานด้านการจัดการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านเทคโนโลยี ด้านบรรยากาศในการทำงาน และด้านการจูงใจ</p> ประพนธ์ หลีสิน, ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/271853 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาด โควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270810 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยาย 2) ศึกษาวิธีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส 3) เสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยเชิงสำรวจคือ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า </strong></p> <ol> <li>สภาพการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กระชับหลักสูตรโดยเน้นเนื้อหาจำเป็นตามมาตรฐานของแต่ละช่วงวัย การเลือกรูปแบบการเรียน การจัดกลุ่มตัวชี้วัดให้เป็นหน่วยการเรียนรู้</li> <li>วิธีการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพโรงเรียนทั่วไป การพัฒนาห้องเรียน การพัฒนาผู้เรียน และการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในแต่ละบทเรียน โดยเน้นความรู้และกระบวนการในการพัฒนาตนเองเพื่อความสมบูรณ์ของมนุษย์</li> <li>แนวทางการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาส ประกอบด้วย ครูควรสามารถกำหนดแผนการสอนและใช้เวลาที่เหมาะสม ครูควรสามารถเลือกรูปแบบการเรียนรู้สำหรับ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล และการจำแนกตัวบ่งชี้เป็นหน่วยการเรียนรู้ จะทำให้แผนการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)</li> </ol> สุนิสา พานทอง Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270810 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270809 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้แทนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พัฒนาทักษะใช้เทคโนโลยี มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ พัฒนานวัตกรรมการสอน พัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</li> <li>การพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น และวิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้นมีการปฏิบัติในระดับมาก ตามลำดับ</li> <li>แนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า 1) ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น โดยต้องรับผิดชอบงานตามนโยบาย เอาใจใส่ในหน้าที่รับผิดชอบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด 2) วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น มีการปรับทัศนคติต่อการทำหน้าที่และการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ทุ่มเทกับงานที่มีและจัดลำดับความสำคัญของงาน 3) จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ให้ความสำคัญกับองค์กร และ 4) วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น มีความรู้ในงานที่ทำและต้องเรียนรู้ในงานตลอดเวลา ถืองานเป็นเรื่องท้าทายอย่ามองเป็นอุปสรรค รู้จักทำงานเป็นทีม</li> </ol> ธนะชัย เกิดพรธรรม, พระครูวิรุฬห์สุตคุณ Copyright (c) 2024 ปัญญา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/270809 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700