ประวัติศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ: การเปรียบเทียบชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทย

ผู้แต่ง

  • นายอดินันท์ พรหมพันธ์ใจ

คำสำคัญ:

วาทกรรม, ประวัติศาสตร์ไทย, ชาตินิยม, ความปรองดอง, ความขัดแย้งทางการเมือง

บทคัดย่อ

ชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยถูกนำมาใช้ทางการเมืองและได้ส่งผลต่อความขัดแย้งในสังคมนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา การศึกษานี้ใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เป็นหลักเสริมด้วยแนวคิดโครงสร้างนิยม และพบว่าชุดความรู้ประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละช่วงเวลาเป็นวาทกรรมที่แบ่งออกเป็นห้าช่วง ได้แก่ ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประวัติศาสตร์ชาตินิยมเชื้อชาติไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามประวัติศาสตร์เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ประวัติศาสตร์หลัง 14 ตุลา และประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับกรมศิลปากร ค.ศ. 2015 โดยที่ชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีลักษณะของวาทกรรมที่ใช้สนองความมั่นคงเชิงอำนาจของชนชั้นนำ นำไปแก้ปัญหาที่รัฐเผชิญอยู่ในแต่ละช่วงเวลา และส่งผลต่อค่านิยมที่ฝังรากลึกในสังคมไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง หากสังคมไทยยังไม่เข้าใจว่าแต่ละชุดความรู้ประวัติศาสตร์ผลิตขึ้นมาด้วยเป้าประสงค์ใดก็จะทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยยังดำรงอยู่ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27