GOVERNANCE IN PUBLIC ADMINISTRATION: DOES IT RELY N PUBLIC TRUST

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา จิตตรุทธะ

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, ความไว้วางใจสาธารณะ, การจัดการภาครัฐ

บทคัดย่อ

ความไว้วางใจสาธารณะเป็นชุดขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งเกิดจากขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องวัฒนธรรมความไว้วางใจของสมาชิกในสังคมองค์การ ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญจากความพยายามของสมาชิกที่จะสะท้อนให้เห็นธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐ1 นักวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่าธรรมาภิบาลเป็นสิ่งที่ได้รับการคาดหมายล่วงหน้าและเป็นหัวใจสำคัญของ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารรัฐกิจ บทความนี้มุ่งศึกษาระดับของธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทยจากองค์ประกอบ 4 ด้าน ซึ่งส่งผลต่อระดับ ความไว้วางใจสาธารณะใน3 มิติ สำรวจอุปสรรคของธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทย และศึกษาตัวชี้วัดหรือมาตรการในการเสริมสร้างความไว้วางใจสาธารณะของประชาชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน อาศัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล ผลวิจัยสรุปว่าประชาชนไทยรับรู้ระดับความไว้วางใจสาธารณะและธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐที่ระดับปานกลาง ตัวแปรธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐของไทยมีความสัมพันธ์กับตัวแปรความไว้วางใจสาธารณะในทิศทางเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r.864) และเป็นความสัมพันธ์แบบสองทาง ธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐที่ประชาชนรับรู้อยู่ที่ระดับกลาง(ค่าเฉลี่ย 2.64) ต่างจากที่คาดหวังซึ่งอยู่ที่ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.21) ในทิศทางตรงกันข้าม(T -76.735) การวิจัยนี้ได้ข้อสรุปตัวชี้วัด 7 ประการ ซึ่งจะเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการภาครัฐอันนำไปสู่ความไว้วางใจสาธารณะ ได้แก่ (1) จริยธรรมความซื่อสัตย์ (2) ระบบราชการที่มีคุณธรรม (3) ผู้นำที่สร้างวัฒนธรรมความไว้วางใจ (4) การธำรงคุณค่าประชาธิปไตย(5) ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่ยุติธรรม (6) ข้าราชการมืออาชีพที่มีจรรยาบรรณ(7) อุดมการณ์ในการบริการสาธารณะของข้าราชการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27